“ธรณีพิโรธ” แผ่นดินไหวในเมียนมา สะเทือนมายังประเทศไทย จนทำให้ที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างพังถล่มลงมาทันที
อาคารที่ทำการ สตง. แห่งใหม่ อยู่ระหว่างก่อสร้างด้วยงบประมาณ 2,136 ล้านบาท บนถนนกำแพงเพชร 2 ใกล้ตลาดนัดส่วนจตุจักร ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิต และสูญหายอีกจำนวนมาก
โดยกิจการร่วมค้าไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้รับเหมาโครงการดังกล่าว
ITD ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ได้ทำประกันภัยเต็มมูลค่างานตามสัญญา จำนวน 2,136 ล้านบาท และครอบคลุมอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการคุ้มครองความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกอีกจำนวน 100 ล้านบาท
ล่าสุดความเห็นนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า การพังถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจำนวนมาก (วงเงินประกันมูลค่าโครงการอยู่ที่ 2,136 ล้านบาท)
ตามรายงานของในประเทศ มีบริษัทประกัน 4 รายที่ต้องรับผิดชอบ คือ 1. TIPH (บมจ.ทิพยประกันภัย) 40% โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ PTT 13.46%, KTB 10%, 2. BKIH (บมจ.กรุงเทพประกันภัย) 25% โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ BBL 9.99%, BLA 2.01% และตระกูลโสภณพนิช,
-
INSURE (บมจ.อินทรประกันภัย) 25% โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ผ่าน Thai Group Holding 62.55%, 4. บริษัทวิริยะประกันภัย 10% ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง เช่น THRE (3.17%), BDMS (4.27%), SIRI (6.86%), TQM (3.10%), XPG (9.02%), PF (7.5%), BAREIT (1.94%), IIG (4.6%)
ส่วนกรณีกระแสข่าวที่ว่า หากโครงการสำนักงานสตง.ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อการรับประกันนั้น ในทางทฤษฎี ทางนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า หากโครงการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน บริษัทประกันภัยจะไม่คุ้มครอง แต่การจะบอกว่าไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งข้อยกเว้นต่างๆ บริษัทประกันภัยไม่สามารถวินิจฉัยได้เอง ต้องใช้การประเมินจากสภาวิชาชีพต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ
ด้าน ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดว่ามูลค่าการชดเชยความเสียหายของบริษัทประกันภัยต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้น่าจะต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าโควิดที่ราว 150,000 ล้านบาท
ขณะที่ INSURE รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทรับประกันภัยการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ร่วมกับบริษัทประกันภัยอื่น ๆ โดยบริษัทมีสัดส่วนการรับประกันภัยอยู่ที่ 25% ของมูลค่าความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย
โดย บริษัทขอเรียนว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสถานะทางการเงินหรือการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทมีการดำรงเงินกองทุนที่เพียงพอและแข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยจัดทำประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตามนโยบายการประกันภัยต่อของบริษัท
เช่นเดียวกันกับ BKIH ที่ระบุว่า บริษัท ได้รับประกันภัยโครงการก่อสร้างดังกล่าวในสัดส่วนเพียง 25% นอกจากนี้ บริษัท ยังได้จัดทำสัญญาประกันภัยต่อเพื่อความเสียหายส่วนเกิน สำหรับความเสียหายจากภัยพิบัติหรือมหันภัย Excess of Loss (XOL) ไว้อีกด้วย
ดังนั้น บริษัทฯ ขอยืนยันว่าแม้จะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ บริษัทยังคงมีความมั่นคงทางการเงิน และไม่ได้รับผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทแต่อย่างใด
ขณะที่ TIPH ระบุว่า โครงการก่อสร้างนี้ได้มีการทำประกันภัยไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยร่วมจำนวน 4 บริษัท
ได้แก่ ทิพยประกันภัย 40% บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 25% บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 25% และบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 10%
โดยการร่วมรับประกันภัยในโครงการก่อสร้างอาคาร สตง. ดังกล่าว มีทุนประกันภัยแบ่งเป็น 3 หมวด ประกอบด้วย 1. มูลค่างานก่อสร้างตามสัญญา 2,136 ล้านบาท 2. ทรัพย์สินเดิมของผู้ว่าจ้าง 5 ล้านบาท และ 3. ความรับผิดต่อบุคคคลภายนอก 30 ล้านบาทต่อครั้ง และ 100 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย โดยมีเงื่อนไขความรับผิดส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง 20% ของความเสียหายสำหรับแต่ละเหตุการณ์
ร่วมรับประกันภัยในสัดส่วน 40% ของทิพยประกันภัยตามที่กล่าวถึง ทิพยประกันภัยได้มีการจัดทำประกันภัยภัยต่อในสัดส่วน 95% ของทุนเอาประกันภัย กับบริษัทประกันภัยต่อชั้นนำของโลกที่มีระดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Credit Rating) ไม่ต่ำกว่า A
นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยยังได้จัดทำสัญญาประกันภัยต่อเพื่อความเสียหายส่วนเกิน สำหรับความเสียหายจากภัยพิบัติหรือมหันตภัย Excess of Loss (XOL) ไว้อีกด้วย
ดังนั้น บริษัทฯ ยืนยันว่า แม้จะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ทิพยประกันภัยยังคงมีความมันคงทางการเงิน และไม่มีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของทิพยประกันภัยอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีอาคาร สตง. นั้น จะต้องพิจารณาถึงมูลค่าของ
อาคาร ณ เวลาที่เกิดเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการพิจารณาว่าอาคารดังกล่าว ได้มีการดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเป็นร้อยละเท่าไรของมูลค่าโครงการทั้งหมด
เช่น หากการก่อสร้างแล้วเสร็จ 50% ความเสียหายที่จะได้รับ ความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยก็จะเป็นเพียง 50% ของทุนเอาประกันภัยเท่านั้น ทั้งนี้ มูลค่าของ โครงการนี้ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุจะถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญต่อไป
ยอดนิยม
%20copy_0.jpg)
VGI ผงาดเข้า SET50 โบรกฯ เคาะถึงเวลา “เก็งกำไร” ชี้ปัจจัยบวกรอเพียบหนุนอัพไซด์
%20copy_0.jpg)
อื้อฮือ! ผลตอบแทนทอง ไตรมาส 1 พุ่ง 19.3% แรงสุดรอบ40ปี “โกลด์แมน แซคส์” อัพเป้าเป็น 4,500 เหรียญฯ
%20copy_0.jpg)
คืนนี้ “ทรัมป์” ตอบโต้ภาษี โบรกฯชี้ไทยเสี่ยงโดนเอี่ยวด้วย ฉุดตลาดหุ้นผันผวน วอลุ่มซื้อขายน้อย
%20copy.jpg)
“โรงพยาบาลนครธน” หรือ NKT ขยายธุรกิจเต็มสูบ หนุนเติบโตระยะยาว
%20copy_0.jpg)