Talk of The Town

เปิดสถิติดัชนีหุ้นไทยไตรมาส 2 5 ปีย้อนหลัง ส่วนใหญ่ลดลง 5-7% พบปี 63 ดัชนีพุ่งสวนทาง 18.93%


03 เมษายน 2568

จากการสำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า ภาพรวมดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส2 ของระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง ส่วนใหญ่ ดัชนีจะปรับตัวลดลงมากกว่า โดยในแต่ละปีจะมีปัจจัยที่มีอิทธิพลที่แตกต่างกัน และการเคลื่อนไหวของดัชนีมีดังนี้

เปิดสถิติดัชนีหุ้นไทยไตรมาส 2_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

ไตรมาส2 ปี 67 ดัชนีหุ้นไทย ลดลง 5.59%

ไตรมาส2 ปี 66 ลดลง 6.59%

ไตรมาส2 ปี 65 ลดลง 7.49%

ไตรมาส2 ปี 64 เพิ่มขึ้น 0.04%

ไตรมาส2 ปี 63 เพิ่มขึ้น 18.93%

บล.ทรีนีตี้ มองการเก็บภาษี Reciprocal tariff ที่สูงกว่าคาดนี้จะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเร่งตัวขึ้นในระยะสั้น ซึ่งจะมาพร้อมๆกับความเสี่ยง Downside ของเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้างมากขึ้น นั้นหมายความว่าความเสี่ยงของปัจจัย Stagflation ที่สูงขึ้นตามไปด้วย มองบริบทดังกล่าวจะทําให้ผู้กําหนดนโยบายการเงินของประเทศต่างๆทํางานได้ยาก ซึ่งก็จะทําให้ตัวช่วยของตลาดทุนลดน้อยลงไปอีก

ทั้งนี้ หากอ้างอิงจากบทวิเคราะห์การลงทุนประจําไตรมาสที่ 2 ของเรา ยังคงแนะนํา Overweight สินทรัพย์ปลอดภัยต่อไป โดยเฉพาะพันธบัตรสหรัฐฯ แม้ Yield จะทําจุดตํ่าสุดใหม่ต่อเนื่อง แต่ประเมินว่ามีโอกาสจะขยับลงได้อีก โดยเฉพาะรุ่นระยะกลางขึ้นไป หากนักลงทุนในตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเดินหน้าไปสู่ ภาวะถดถอยมากขึ้น ส่วนมุมมองของเราต่อตราสารทุนนั้น เรายังคงแนะนํา Underweight ตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นสําคัญ เนื่องจากยังคงมองเช่นเดิมว่าจะเป็นประเทศที่เสียประโยชน์โดยตรงในระยะสั้น จากทั้งต้นทุนสินค้าที่แพงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกส่งผ่านไปยังระดับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายให้แพงขึ้นด้วยเช่นกัน

Implication to Thailand : มองผลกระทบของการขึ้นภาษีนําเข้าของสหรัฐฯที่มีต่อไทยดังกล่าว หากดําเนินการทันทีในอัตรา 36% จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน ผ่านการส่งออกสินค้าซึ่งมีสัดส่วนอยู่ราว 60% ของ GDP แต่มองผลกระทบที่จะส่งต่อมายังตลาดหุ้นไทยจะอยู่ในระดับตํ่ากว่า เนื่องจาก 1) สัดส่วนหุ้นส่งออกในตลาดมีนํ้าหนักไม่มาก และ 2) Valuation ของหุ้นไทยที่อยู่ในระดับตํ่ามาก 3) ความสัมพันธ์ของหุ้นไทยกับหุ้นโลกที่อยู่ตํ่ามากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

มองผลกระทบต่อ Sector ต่างๆในตลาดหุ้นไทยอยู่ 3 ด้าน ด้านแรกคือผลกระทบไปยังกลุ่มผู้เล่นส่งออกโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม อาหาร สินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบผ่านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงในตลาดโลก จากความกังวลทางด้าน Demand ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น เช่น กลุ่ม พลังงาน ปิโตรเคมี เป็นต้น และอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องระวังหากเศรษฐกิจโลกชะลอมากขึ้นคือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จากกําลังซื้อของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจลดลงในช่วงถัดไป

ทั้งนี้ ยังคงกําหนดกรอบแนวรับของ SET Index ประจําไตรมาส 2 ไว้ที่เดิมก่อน ซึ่งมีอยู่ 2 แนวด้วยกัน ได้แก่บริเวณ 1150 จุด และ 1100 จุด สาเหตุหลักเนื่องจาก มองว่าระดับ Valuation ของ SET อยู่ตํ่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และที่ระดับ 1100 จุดก็เป็นระดับที่ซื้อขายด้วย Forward PBV 1.07x หรือเทียบเท่าจุดตํ่าสุดที่เคยเกิดขึ้นระหว่างวันในช่วงวิกฤติ Covid-19 แล้ว