Wealth Sharing

7 แบงก์ใหญ่ไตรมาสแรก ลุ้นฟันกำไรกว่า 5.3 หมื่นลบ.


04 เมษายน 2568

ในเดือนเมษายนก็ถือเป็นช่วงที่เข้าสู่ไตรมาส 2 ของปี สำหรับบริษัทจดทะเบียนก็จะเป็นช่วงที่จะสรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 แต่กลุ่มที่จะประกาศตัวเลขให้นักลงทุนได้ทราบกันก่อนก็คือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในวันนี้ทางสำนักข่าว Share2Trade จึงอยากนำทิศทางกำไรของกลุ่มดังกล่าวมาฝากแก่ผู้อ่านกัน

7 แบงก์ใหญ่ไตรมาสแรก_WS (เว็บ) copy.jpg

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) คาดการร์กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารในไตรมาส 1/68 อยู่ที่5.38 หมื่นล้านบาท ลดลง 2% จากช่วงเดียวกัน เนื่องจากสินเชื่อที่ลดลง, NIM ที่ลดลงจากช่วงเดียวและกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่ลดลง จะกลบการตั้งสำรองที่ลดลงจากช่วงเดียวกันไปได้ แต่เพิ่มขึ้น 5% จากไตรมาสก่อน จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลงจะกลบ NIM ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า

หากไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงินในไตรมาส 1/68 จะอยู่ที่ 4.87 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันจากการตั้งสำรองที่ลดลง และ 12% จากไตรมาสก่อนหน้า ตามค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและการตั้งสำรองที่ลดลง นำโดย SCB เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกัน ตามค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง , KTB เพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเดียวกัน ตามค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและการตั้งสำรองที่ลดลง และ TTB เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกัน ตามการตั้งสำรองที่ลดลง

ในทางตรงกันข้าม ธนาคารดังต่อไปนี้มีแนวโน้มรายงานกำไรที่ไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงินลดลงจากช่วงเดียวกันในไตรมาสนี้  KKP ลดลง 12% จากสินเชื่อที่ลดลง, NIM ที่ลดลง, และการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น , KBANK ลดลง 8% จากNIM ที่ลดลงและอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่สูงขึ้น, และ TISCO ลดลง 6% จากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น กำไรที่ไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงินของ BBL คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากการตั้งสำรองที่ลดลงน่าจะถูกชดเชยด้วย NIM ที่ลดลง

สำหรับอัตราส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเฉลี่ยของธนาคารเพิ่มขึ้นจาก 2.91% ณ สิ้นปี 2567 มาอยู่ที่ 3.04% ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2568 นำโดย BBL ลูกค้าหลายรายในโปรแกรมการปรับโครงสร้างหนี้ที่ประสบปัญหาน่าจะกลับจากสถานะสินเชื่อที่ต้องจับตาเป็นพิเศษเป็นหนี้เสียซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของธนาคาร

TTB, KTB และ TISCO เนื่องจากลักษณะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ไม่ทั่วถึง และประเมินว่าอัตราการต้องสำรองเฉลี่ยของธนาคารจะลดลงจาก 192.0% ณ สิ้นปี 2567 มาอยู่ที่ 185.9% ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2568

ทั้งนี้ กำไรจากกลุ่มธนาคารในไตรมาส 2/68 ที่ไม่รวมกำไรจากเครื่องมือทางการเงินจะอยู่ที่ 4.63 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากช่วงเดียวกัน จากการตั้งสำรองที่ลดลงจะกลบ NIM ที่ลดลง แต่ลดลง 5% จากไตรมาสก่อนหน้า ตาม NIM ที่ลดลง การเติบโตของกำไรที่ไม่รวมเครื่องมือทางการเงินในไตรมาสนี้จะนำโดย KKP เพิ่มขึ้น 105% จากช่วงเดียวกัน SCB เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกัน และ TISCO เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกัน

ในทางตรงกันข้าม คาดกำไรที่ไม่รวมเครื่องมือทางการเงินของ KBANK ลดลง 5% จากช่วงเดียวกัน, KTB ลดลง 5% จากช่วงเดียวกัน และ BBL ลดลง 4% จากช่วงเดียว และกำไรที่ไม่รวมเครื่องมือทางการเงินของ TTB คาดว่าจะทรงตัวจากช่วงเดียวกัน พร้อมกับคาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2568

7 แบงก์ใหญ่ไตรมาสแรก_WS (เพจ) copy.jpg