ส่องพอร์ต CEO "ธีรพงศ์ จันศิริ" ถือหุ้นใหญ่ TOP 3 TU 5.94 % พบต้นปี 68 สัดส่วนถือต่ำสุดรอบ 3 ปี
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2/2568 ประเดิมด้วยการเคลื่อนไหวของดัชนีนิวโลว์อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีปัจจัยเชิงบวกที่ผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวได้ในเร็ววันนี้
จากการสำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนของพอร์ตลงทุนหุ้นของ "ธีรพงศ์ จันศิริ"ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU โดยล่าสุด ณ เดือนมี.ค. 2568ได้มีการลงทุนในหุ้น 3 บริษัท ประกอบด้วย
SFLEX ล่าสุดถือครอง 10,607,300 หุ้น คิดเป็น 1.29% TFM 3,250,025 หุ้น คิดเป็น 0.65% TU 264,533,964 หุ้น คิดเป็น 5.94 %
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสัดส่วนการถือครองหุ้น TU มีจำนวนมากสุด และหากพิจารณาจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นก็จะเห็นว่า "ธีรพงศ์ จันศิริ"จะถือครองหุ้นใหญ่อันดับ 3
สำหรับรายชื่อผู้ถือหุ้น TU สูงสุด 10 อันดับแรก ณ 3 มี.ค. 68 ดังนี้
-
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 408,226,055 หุ้น คิดเป็น 9.16%
-
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 323,651,900 หุ้น คิดเป็น 7.26%
-
นาย ธีรพงศ์ จันศิริ 264,533,964 หุ้น คิดเป็น 5.94%
-
MITSUBISHI UFJ MORGAN STANLEY SECURITIES CO.,LTD. 238,745,120 หุ้น คิดเป็น 5.36%
-
นาย เชง นิรุตตินานนท์ 200,442,084หุ้น คิดเป็น 4.50%
-
BNP PARIBAS SINGAPORE BRANCH 194,367,700หุ้น คิดเป็น 4.36%
-
SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 130,747,031หุ้น คิดเป็น 2.93%
-
สำนักงานประกันสังคม 124,917,608 หุ้น คิดเป็น 2.80%
-
นาย ไกรสร จันศิริ 124,804,288หุ้น คิดเป็น 2.80%
-
STATE STREET EUROPE LIMITED 107,421,212หุ้น คิดเป็น 2.41%
นอกจากนี้ หากพิจารณาย้อนหลังการถือครองหุ้นTU ของ "ธีรพงศ์ จันศิริ" พบว่า ล่าสุดถือครองหุ้นในสัดส่วน 5.94% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี โดยแต่ละปีมีการถือครองดังนี้
-
ปี 2567 ถือครองจำนวน 319,568,824 หุ้น คิดเป็น 6.86%
-
ปี 2566 ถือครองจำนวน 307,768,824 หุ้นคิดเป็น 6.45%
-
ปี 2665 ถือครองจำนวน 303,668,824 หุ้นคิดเป็น 6.36%
สอดคล้องกับ การที่บล.ดาโอ (ประเทศไทย) : TU แนะนำ“ถือ” ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 12 บาท โดย 1Q25E ชะลอจากยอดขายลดลงในทุกธุรกิจและ SG&A ทรงตัวสูง
เราคงคำแนะนำ “ถือ” แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 12.00 บาท (เดิม 13.50 บาท) อิง SOTP ตามการปรับประมาณการลง เราประเมินกำไรปกติ 1Q25E ที่ 654 ล้านบาท (-27% YoY, -45% QoQ) ต่ำกว่ากรอบเราประเมินเบื้องต้นที่ 1-1.1 พันล้านบาท เนื่องจาก
1) รายได้ชะลอ -8% จากปีก่อน, -12% จากไตรมาสก่อน จากผลกระทบบาทแข็ง ลูกค้า Ambient seafood มีการ wait & see หลังราคาทูน่าสูงขึ้น และลูกค้าธุรกิจ PetCare ยังมีปัญหาจองพื้นที่เรือ, 2) SG&A/Sale ยังอยู่ในระดับสูงจากค่าใช้จ่ายตามการลงทุน transformation และค่าใช้จ่ายการตลาด, และ 3) Effective tax rate ปรับตัวขึ้นจากการเริ่มใช้เกณฑ์ Global minimum tax (GMT) เราปรับกำไรปกติปี 2025E ลง -14% เป็น 4.2 พันล้านบาท (-16% YoY)
สำหรับไตรมาส 2/68 เบื้องต้นคาดการณ์กำไรปกติจะลดลง จากปีก่อน จาก SG&A สูงขึ้นจากการลงทุน transformation และฐานภาษีสูงขึ้นจากเกณฑ์ GMT ขณะที่กำไรปกติมีโอกาสดีขึ้น จากไตรมาสก่อน อานิสงส์ปัจจัยฤดูกาลของธุรกิจ Ambient seafood แต่อาจถูก offset บางส่วนจากลูกค้าที่อาจมีการ wait & see นโยบาย tariffs
ราคาหุ้นปรับตัวลง แต่ in line กับ SET ใน 1-3 เดือน แม้จะมีปัจจัยหนุนจากแผนซื้อหุ้นคืน แต่เรามองว่าผลการดำเนินงานปี 68 ยังมีปัจจัยท้าทายจาก 1) นโยบาย tariffs ของสหรัฐฯ ซึ่งยังอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบ, 2) แนวโน้ม SG&A ทรงตัวสูงจากการลงทุน transformation, และ 3) การเริ่มใช้เกณฑ์ GMT