จับตา! ไทยดีลกำแพงภาษีสหรัฐฯ โบรกฯชี้มีโอกาสบรรลุข้อตกลง นำไปสู่จุดเปลี่ยนยุทธศาสตร์การค้าโลก
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่าไทยกับจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์ในเกมการค้าโลก : Thailand’s Strategic Trade & Investment Repositioning - การหารือระหว่างกระทรวงการคลังกับผู้เชี่ยวชาญตลาดทุนล่าสุด สะท้อนถึงการวางจุดยืนของไทยอย่างรอบคอบ ในภาวะความตึงเครียดทางการค้าโลก
โดยไทยกับยุทธศาสตร์ต่อรองเป็น “หุ้นส่วนที่ยืดหยุ่น” ในสายตาสหรัฐฯ ได้สะท้อนความเข้าใจของรัฐบาล ต่อ เป้าหมายเชิงโครงสร้างของสหรัฐฯ ภายใต้แนวทาง Trump 2.0 ซึ่งมุ่งลดดุลการค้ากับประเทศเป้าหมาย และปิดช่องโหว่การ “สวมสิทธิ์” ส่งออกจากจีนผ่านประเทศที่ 3
ขณะเดียวกันมีแนวทางการเจรจาของไทยที่ชัดเจนและสอดรับ ได้แก่เพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ อย่างมีเป้าหมาย เช่น LNG และสินค้าเกษตรที่ไทยยังขาดแคลน เช่น ข้าวโพด, สร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value Chain Loop) นำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ แล้วแปรรูปเพื่อส่งออกกลับ, ตั้งเกณฑ์ลงทุนใหม่ FDI ที่เข้ามาต้องสร้างมูลค่าในประเทศ ไม่ใช่เป็นแค่การ “เปลี่ยนป้าย Made in ...” / เป็น New S Curve ใหม่ๆ และเตรียมมาตรการบรรเทาแรงกระแทกล่วงหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มที่อ่อนไหวต่อภาษี เช่น ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
นอกจากนี้ ยังได้เร่งเสริมฐานความแข็งแกร่งจากภายใน แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งแนวทางที่กำลังขับเคลื่อน ได้แก่เร่งฟื้นโครงการโครงสร้างพื้นฐานเดิม เช่น EEC, ท่าเรือ, รถไฟความเร็วสูง, เศรษฐกิจภูมิภาคใหม่ เช่น Southern Economic Corridor เชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้กับ supply chain ระดับประเทศ และเปิดช่องการก่อหนี้เพื่อการลงทุนแบบมีเป้าหมาย หากจำเป็นต้องลงทุนใหม่เพิ่มเติม
โดยในเชิงกลยุทธ์ มองเป็นบวกอ่อนๆต่อข้อมูลข้างต้น หากอิงแนวทางการเจรจาที่สหรัฐฯต้องการกับหลายประเทศที่เจรจาไปแล้ว ประเมินแนวทางดังกล่าวไทยมีโอกาสบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ ด้วยแนวทางดังกล่าวคาดอย่างน้อยน่าจะช่วยระดับ Tariff ที่สหรัฐฯจะเก็บจากไทยไม่น่าจะเสียเปรียบประเทศอื่นๆ อย่างมีนัยฯ ทิศทางดังกล่าวไม่น่าจะทำให้ไทยเปรียบเทียบศักยภาพแข่งขันในเชิงเปรียบเทียบ
โดยรวมประเมินผลกระทบ Trade Tariff อาจจะมีบ้างระยะสั้น จากความไม่ชัดเจนนโยบาย รวมถึงผลกระทบทางอ้อมที่ยังประเมินยาก แต่ระยะกลาง-ยาว ประเมินส่งออกเป็นลบอ่อนๆ ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศ ระยะสั้นคาดว่าจะมีผลกระทบชะลอพิจารณาลงทุน ส่วนระยะกลาง-ยาว จะอยู่ที่การคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อปิดความเสี่ยงประเด็นการสวมสิทธิ์ ทำให้ยอดไม่เร่งเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลกระทบอ่อนๆ ในระยะกลาง-ยาว น่าจะชดเชยจากการแผนลงทุนภายในรัฐฯ
สำหรับหุ้นที่น่าสนใจกลุ่มที่น่าจะ Rebound จากการรับมือเชิงรุกของรัฐฯ ต่อ Trade Tariff ประกอบไปด้วย GULF, GPSC, PTTGC จากแนวนำเข้า LNG และวัตถุดิบจากสหรัฐฯ, CPF รับบวกจากการนำเข้าสินค้าเกษตร-อาหาร และ DELTA, WHA, AMATA, PTTEP เป็นกลุ่มที่ราคาสะท้อนความเสี่ยงไปมากแล้ว และจะได้แรงหนุนหากความกังวลคลี่คลาย
และกลุ่มที่สะท้อนการลงทุนภายในประเทศระยะกลาง – ยาว ประกอบไปด้วย KTB, KBANK, SCB จะได้ประโยชน์จากการปล่อยสินเชื่อในโครงการรัฐ, STECON ผู้รับเหมาหลักที่มีจังหวะกลับมาฟื้นตัว และ CPALL, BJC, CPAXT กลุ่มค้าปลีกที่สะท้อนเศรษฐกิจฐานรากและกำลังซื้อในประเทศ