จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SSP วางเป้าปี 2566 เป็น “โรงไฟฟ้า Renewable เต็มรูปแบบ”
14 มีนาคม 2566
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)เต็มรูปแบบ เป็นเป้าหมายของ SSP ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และยังสอดคล้องกับทิศทางพลังงานของประเทศ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ให้ความสำคัญกับเทรนด์พลังงานโลกที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด จึงได้แสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไฮโดรเจน และแอมโมเนีย เป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเผาไหม้
ขณะเดียวกัน กฟผ. ตั้งเป้าหมายสนองตอบนโยบายภาครัฐในการร่วมนำประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 โดยขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์ Triple S ได้แก่
1) Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนำ BESS มาใช้งาน
2) Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน เดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่ รวมถึงศึกษาการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการกักเก็บคาร์บอน
3) Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในภาคประชาชน ผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร เป็นต้น
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, โรงไฟฟ้าพลังงานลม, โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ, โรงไฟฟ้าชีวมวล, โรงไฟฟ้าขยะ, โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดเรื่องความเสถียรที่ต่ำกว่าพลังงานจากฟอสซิล และมีขนาดกำลังการผลิตที่น้อย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงเป็นพลังงานทางเลือก แต่จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต จากการที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง Net zero emissions หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
การพัฒนาบริษัทให้เป็นโรงไฟฟ้า Renewable เป็นเป้าหมายในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของบมจ. เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ซึ่ง “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา SSP ประสบความสำเร็จในการเป็นโรงไฟฟ้า Renewable เต็มรูปแบบ มีทั้งการเริ่มพัฒนาโครงการตั้งแต่ต้น และการใช้กลยุทธ์ทำ M&A โดยเชื่อว่า หลังจากนี้จะได้เห็นพัฒนาการในการเติบโตอย่างชัดเจน ทำให้มั่นใจว่าภาพรวมทั้งปี 66 บริษัทจะมีแนวโน้มรายได้และกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้บริษัทยังได้เข้าร่วมการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ในประเทศไทย ซึ่งจะมีความชัดเจนในเดือน มี.ค.66 การลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LEO 2 ในประเทศญี่ปุ่น สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 17 เมกะวัตต์ คาดว่ามีความพร้อมที่จะจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไตรมาส 4/67 การลงทุนเพิ่มเติมในโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม ซึ่งจะสนับสนุนให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่าตัวทะลุ 500 เมกะวัตต์ในปี 68 จากปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ 236 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้จัดตั้งบริษัทลงทุน Sermsang Next Ventures เพื่อลุยธุรกิจใหม่ โดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสในการเติบโต และสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สร้าง New S-curve สนับสนุนผลงานในอนาคตให้เติบโตก้าวแบบกระโดด
ส่วนผลการดำเนินงานในปี 65 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 443 ล้านบาท หรือ 51.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน สาเหตุหลักจากการรับรู้กำไรพิเศษในไตรมาส 2/65 จากขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ฮิดากะ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีกำไร 348 ล้านบาท
แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว SSP มีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่ 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.4 % ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้กำไรเต็มปีของโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ , โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LEO 1 ในประเทศญี่ปุ่น สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 20 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในประเทศเวียดนาม สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 48 เมกะวัตต์ และนอกจากนี้ยังมีการรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าวินด์ชัยฟาร์ม สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วน 25% ในเดือน มี.ค.65
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ให้ความสำคัญกับเทรนด์พลังงานโลกที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด จึงได้แสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไฮโดรเจน และแอมโมเนีย เป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเผาไหม้
ขณะเดียวกัน กฟผ. ตั้งเป้าหมายสนองตอบนโยบายภาครัฐในการร่วมนำประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 โดยขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์ Triple S ได้แก่
1) Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้า และระบบไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และนำ BESS มาใช้งาน
2) Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน เดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่ รวมถึงศึกษาการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการกักเก็บคาร์บอน
3) Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในภาคประชาชน ผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร เป็นต้น
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, โรงไฟฟ้าพลังงานลม, โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ, โรงไฟฟ้าชีวมวล, โรงไฟฟ้าขยะ, โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดเรื่องความเสถียรที่ต่ำกว่าพลังงานจากฟอสซิล และมีขนาดกำลังการผลิตที่น้อย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงเป็นพลังงานทางเลือก แต่จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต จากการที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง Net zero emissions หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
การพัฒนาบริษัทให้เป็นโรงไฟฟ้า Renewable เป็นเป้าหมายในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของบมจ. เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ซึ่ง “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา SSP ประสบความสำเร็จในการเป็นโรงไฟฟ้า Renewable เต็มรูปแบบ มีทั้งการเริ่มพัฒนาโครงการตั้งแต่ต้น และการใช้กลยุทธ์ทำ M&A โดยเชื่อว่า หลังจากนี้จะได้เห็นพัฒนาการในการเติบโตอย่างชัดเจน ทำให้มั่นใจว่าภาพรวมทั้งปี 66 บริษัทจะมีแนวโน้มรายได้และกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้บริษัทยังได้เข้าร่วมการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ในประเทศไทย ซึ่งจะมีความชัดเจนในเดือน มี.ค.66 การลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LEO 2 ในประเทศญี่ปุ่น สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 17 เมกะวัตต์ คาดว่ามีความพร้อมที่จะจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไตรมาส 4/67 การลงทุนเพิ่มเติมในโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม ซึ่งจะสนับสนุนให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่าตัวทะลุ 500 เมกะวัตต์ในปี 68 จากปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ 236 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้จัดตั้งบริษัทลงทุน Sermsang Next Ventures เพื่อลุยธุรกิจใหม่ โดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสในการเติบโต และสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สร้าง New S-curve สนับสนุนผลงานในอนาคตให้เติบโตก้าวแบบกระโดด
ส่วนผลการดำเนินงานในปี 65 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 443 ล้านบาท หรือ 51.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน สาเหตุหลักจากการรับรู้กำไรพิเศษในไตรมาส 2/65 จากขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ฮิดากะ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีกำไร 348 ล้านบาท
แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว SSP มีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่ 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.4 % ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้กำไรเต็มปีของโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ , โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ LEO 1 ในประเทศญี่ปุ่น สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 20 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในประเทศเวียดนาม สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 48 เมกะวัตต์ และนอกจากนี้ยังมีการรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าวินด์ชัยฟาร์ม สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วน 25% ในเดือน มี.ค.65