Talk of The Town

“มูดี้ส์” หั่นแนวโน้มเครดิตไทย โบรกฯ ชี้ไม่กระเทือนตลาดหุ้น คาดอาจกระทบจิตวิทยาช่วงสั้น


30 เมษายน 2568

“มูดี้ส์” หั่นแนวโน้มเครดิตไทย_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากกรณีที่สถาบันจัดอันดับ Rating Moody’s
1.) ปรับลดแนวโน้ม Outlook Credit Rating ประเทศไทยเป็น “Negative” จากเดิม (“Stable”) เนื่องจากความเสี่ยงที่ทางเศรษฐกิจและการคลังของไทยจะอ่อนแอลงต่อเนื่องและมาตรการภาษีสหรัฐฯที่ประกาศแล้วจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการค้าโลกและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะกระทบต่อไทย ฯลฯ 

2.)แต่ยังคงอันดับ Credit rating ที่ Baa1 เนื่องจากโครงสร้างสถาบันของไทยยังคงแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง และมีนโยบายการเงินการคลังที่พอใช้

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินโดยรวมมองเป็นเพียงจิตวิทยาลบสั้นๆต่อ SET Index เท่านั้น จากสถิติในอดีต ช่วงที่ไทยถูกปรับ Outlook ลง พบว่าค่าเงินบาทไม่ได้ตอบสนองอย่างมีนัยยะ ส่วนตลาดหุ้นไทยปรับลงเพียงช่วงสั้น และกลับมาที่ระดับเดิม/บางรอบปรับขึ้น คือ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2008 สถาบัน S&P (ปรับ Outlook จาก Stable - > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index -3.6%d-d (Sector ปรับลงเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่มชิ้นส่วน +0.4% (KCE +4%, HANA +1.7% SVI +1.3%) 

ส่วนกลุ่มที่ลบน้อยกว่า SET คือ ค้าปลีก -0.5%(CPALL+1.89% ) Agri -0.53%(UVAN +1.6% CPI -0.6%) Conmat -0.6% etc กลุ่มที่ลบมากกว่า SET คือ ธนาคาร -7.9%(SCB -12% KBANK -8% BBL -7%) etc หลังจากนั้นวันที่ 2 SET index กลับมาบวก +0.5% ( Sector ส่วนใหญ่ฟื้นตัว ยกเว้นเพียง กลุ่มธนาคาร กลุ่มยานยนต์ กลุ่มปิโตรเคมีที่ยังปรับลงต่อ) โดยรวมใช้เวลาราว 4 วันกลับมาที่ระดับเดิม

ขณะที่กรณีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2008 สถาบัน Moody (ปรับจาก Stable > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้นแรง +4.49%d-d หลักเดือนธันวาคม 2008 กำลังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด หลังจากเจอแรงกดดันจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (หากดูเป็นราย Sector ส่วนใหญ่ปรับขึ้นยกเว้น กลุ่มประกันชีวิต โดยกลุ่มที่ปรับหลักๆนำโดย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ชิ้นส่วน ธนาคาร ฯลฯ

สำหรับวันที่ 13 เม.ย. 2020 สถาบัน S&P (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้น +2.3% โดย Sector ปรับขึ้นเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่ม ICT -0.13% โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นมากกว่าตลาดคือ กลุ่ม ท่องเที่ยว กลุ่มสื่อ เกษตร กลุ่มธนาคาร ฯลฯ

และวันที่ 21 เม.ย. 2020 สถาบัน Moody (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับลง -0.34% (หากดูเป็นราย Sector ราว 50 – 50 ปรับขึ้น / ลง โดยกลุ่มที่ปรับลงหลักๆคือ กลุ่มธนาคาร -5.9% (KBANK -12.8% BBL -12%) กลุ่มอสังหา -2.3% กลุ่มสื่อ -2.2% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นหลักๆคือ เกษตร +5%(NER+8.8%, STA+6.6%) กลุ่มสื่อสาร +3.3% (DTAC+7.4% ADVANC +3.8% )

ดังนั้นโดยรวมหากอิงจากสถิติในอดีตดังกล่าว และประเมินผลกระทบต่อ SET Index ในวันนี้มีคาดเป็นจิตวิทยาลบระยะสั้น ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยจำกัด เพราะเป็นการปรับเพียง Outlook ลง และยังไม่ได้มีการปรับลด Credit rating หากพิจารณาในอดีตประเทศไทยไม่เคยถูกปรับลด Credit rating ลงตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า จากกรณีที่สถาบันจัดอันดับ Rating Moody’s 1.) ปรับลดแนวโน้ม Outlook Credit Rating ประเทศไทยเป็น “Negative” จากเดิม (“Stable”) เนื่องจากความเสี่ยงที่ทางเศรษฐกิจและการคลังของไทยจะอ่อนแอลงต่อเนื่องและมาตรการภาษีสหรัฐฯที่ประกาศแล้วจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการค้าโลกและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะกระทบต่อไทย ฯลฯ 

2.)แต่ยังคงอันดับ Credit rating ที่ Baa1 เนื่องจากโครงสร้างสถาบันของไทยยังคงแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง และมีนโยบายการเงินการคลังที่พอใช้

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินโดยรวมมองเป็นเพียงจิตวิทยาลบสั้นๆต่อ SET Index เท่านั้น จากสถิติในอดีต ช่วงที่ไทยถูกปรับ Outlook ลง พบว่าค่าเงินบาทไม่ได้ตอบสนองอย่างมีนัยยะ ส่วนตลาดหุ้นไทยปรับลงเพียงช่วงสั้น และกลับมาที่ระดับเดิม/บางรอบปรับขึ้น คือ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2008 สถาบัน S&P (ปรับ Outlook จาก Stable - > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index -3.6%d-d (Sector ปรับลงเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่มชิ้นส่วน +0.4% (KCE +4%, HANA +1.7% SVI +1.3%) 

ส่วนกลุ่มที่ลบน้อยกว่า SET คือ ค้าปลีก -0.5%(CPALL+1.89% ) Agri -0.53%(UVAN +1.6% CPI -0.6%) Conmat -0.6% etc กลุ่มที่ลบมากกว่า SET คือ ธนาคาร -7.9%(SCB -12% KBANK -8% BBL -7%) etc หลังจากนั้นวันที่ 2 SET index กลับมาบวก +0.5% ( Sector ส่วนใหญ่ฟื้นตัว ยกเว้นเพียง กลุ่มธนาคาร กลุ่มยานยนต์ กลุ่มปิโตรเคมีที่ยังปรับลงต่อ) โดยรวมใช้เวลาราว 4 วันกลับมาที่ระดับเดิม

ขณะที่กรณีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2008 สถาบัน Moody (ปรับจาก Stable > Negative) : 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้นแรง +4.49%d-d หลักเดือนธันวาคม 2008 กำลังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด หลังจากเจอแรงกดดันจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (หากดูเป็นราย Sector ส่วนใหญ่ปรับขึ้นยกเว้น กลุ่มประกันชีวิต โดยกลุ่มที่ปรับหลักๆนำโดย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ชิ้นส่วน ธนาคาร ฯลฯ

สำหรับวันที่ 13 เม.ย. 2020 สถาบัน S&P (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับขึ้น +2.3% โดย Sector ปรับขึ้นเกือบทุก Sector ยกเว้น เพียงกลุ่ม ICT -0.13% โดยกลุ่มที่ปรับขึ้นมากกว่าตลาดคือ กลุ่ม ท่องเที่ยว กลุ่มสื่อ เกษตร กลุ่มธนาคาร ฯลฯ

และวันที่ 21 เม.ย. 2020 สถาบัน Moody (ปรับจาก Positive > Stable ) 1 วัน หลังปรับลด Outlook ลง SET index ปรับลง -0.34% (หากดูเป็นราย Sector ราว 50 – 50 ปรับขึ้น / ลง โดยกลุ่มที่ปรับลงหลักๆคือ กลุ่มธนาคาร -5.9% (KBANK -12.8% BBL -12%) กลุ่มอสังหา -2.3% กลุ่มสื่อ -2.2% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นหลักๆคือ เกษตร +5%(NER+8.8%, STA+6.6%) กลุ่มสื่อสาร +3.3% (DTAC+7.4% ADVANC +3.8% )

ดังนั้นโดยรวมหากอิงจากสถิติในอดีตดังกล่าว และประเมินผลกระทบต่อ SET Index ในวันนี้มีคาดเป็นจิตวิทยาลบระยะสั้น ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยจำกัด เพราะเป็นการปรับเพียง Outlook ลง และยังไม่ได้มีการปรับลด Credit rating หากพิจารณาในอดีตประเทศไทยไม่เคยถูกปรับลด Credit rating ลงตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997