"วิริยะประกันภัย" ตั้งเป้ายอดขาย ปี66 แตะ 4.3หมื่นล้านบาท เติบโต 6% จากปีก่อน ผ่าน 3 กลยุทธ์สำคัญช่องทางการขาย บริการสินไหมทดแทน และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมบุกตลาดประกันรถ EV ประกันภัย Non-Motor
นายอมร ทองทิว กรรมการผู้จัดการ บมจ.วิริยะประกันภัย เปิดเผยแผนการทำธุรกิจในปี 2566 ว่า บริษัทตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องจากปี2565 โดยเป้ายอดขายไว้ประมาณ 43,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 6% ซึ่งสูงกว่าของอุตสาหกรรมที่คาดจะโต 5.5% เป็นการเติบโตในส่วนของเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประมาณ 37,600 ล้านบาท หรือเติบโต 5 %และเบี้ยประกันนอนมอเตอร์ 5,700 ล้านบาทหรือเติบโต 11%
ส่วนความมั่นคงทางด้านการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยมีสินทรัพย์รวมเกือบ 70,000 ล้านบาท มีอัตราส่วนเงินกองทุนเกินมาตรฐาน 154.97%
สำหรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจปี 2566 ที่กำหนดให้เป็น"ปีแห่งนวัตกรรมการบริการ : ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ " เน้น 3 เป้าหมายหลักๆคือ
1.เป้าหมายด้านช่องทางขาย ด้วยการยกระดับให้สำนักงานมาตรฐานตัวแทนเป็นสำนักงานดิจิทัล สามารถออกกรมธรรม์ให้ลูกค้าได้ด้วยตัวเองที่สำนักงาน ทั้งกรมธรรม์ตัวจริงและอิเล็กทรอนิกส์ ถึงมือลูกค้าทันทีที่ทำสัญญา ประกันภัย และลูกค้ามั่นใจได้รับความคุ้มครองแน่นอนทันที
เป้าหมายที่2 ด้านการบริการสินไหมทดแทน นอกจากระบบเคลมออนไลน์ VClaim on Vcall "ที่ให้บริการทั่วประเทศแล้ว และยังได้ขยายพื้นที่ให้บริการ คือ "จุดรอตรวจสอบอุบัติเหตุ" ด้วยการนำAI มาทำหน้าที่ในการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นควบคู่กับพนักงานสินไหมทดแทน ที่มากประสบการณ์และมีมากกว่า 1,600 คน
เป้าหมายที่3 คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ปัจจุบันมีกว่า 60ผลิตภัณฑ์ และตรงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ด้วยการใช้กลยุทธ์ "Data -Driven Innovation " และนำฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่กว่า 8 ล้านกรมธรรม์ มาวิเคราะห์ เชิงลึกในการออกผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการลูกค้า และในปีนี้ จะออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพิ่ม เช่นประกันภัยด้านสุขภาพ ที่ลงลึก ถึงการตลาดแบบ Personalization ผลิตภัณฑ์คุ้มครองเฉพาะตัวและตรงข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล
ประกันภัยด้านรถยนต์ EV ที่บริษัทถือว่ายังเป็นผู้นำและทำมากว่า 4 ปี โดยปัจจุบันให้ความคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว กว่า 5,286 คัน มีเบี้ยรับกว่า 10 ล้านบาท และยังคงเป็นที่หนึ่งของบริษัทรับประกันภัยรถไฟฟ้า และยอมรับว่าเบี้ยประกันภัยรถ EVจะแพงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ทั่วๆไปประมาณ 10% เนื่องจากราคาแบตเตอรี่ ที่มีสัดส่วนประมาณ80% ของรถยนต์ EV
" เราเป็นผู้นำอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมมากว่า 30 ปีและยังคงมุ่งมั่นให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องและปีนี้ จะเป็นปีแห่ง นวัตกรรมบริการ ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ ด้านผลดำเนินบริษัทปี 2565 เติบโต 5.78% มากกว่าอุตสาหกรรมที่โตเฉลี่ย 3.4-4.5% โดยมีเบี้ยประกันภัยรวมทั้งสิ้น 40,991 ล้านบาท ปีที่แล้วบริษัทยังได้รับผลกระทบจากกรมธรรม์โควิดทำให้บริษัทขาดทุนประมาณ 9 พันล้านบาท แต่หากไม่รวมการขาดทุนจากโควิด บริษัทมีกำไรประมาณ 10,000 ล้านบาท" นายอมร กล่าว
ทางด้าน นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า งานบริการหลังการขาย โดยเฉพาะการบริการด้านสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานของวิริยะประกันภัย จนได้รับการยอมรับและยังคงเป็นบริษัทประกันวินาศภัยอันดับ 1 มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นวิริยะประกันภัยจึงเดินหน้าสานต่อนโยบายบริหารสินไหมแบบองค์รวม กล่าวคือ ดูแลทุกองค์ประกอบสำคัญของงานสินไหมซึ่งความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและสอดประสานกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้แก่ เครือข่ายศูนย์บริการสินไหม (Network), บุคลากร (People) , ข้อมูล (Data) และนวัตกรรม (Innovation) หรือ NPDI
ส่วนแผนงานด้านการประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือ Non-Motor นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายปี 2566 วิริยะประกันภัยมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน ด้วยการวางแผนขยายอัตราส่วนประกันภัย Non-Motor เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 10.65% ประมาณการเบี้ยประกันภัยรับอยู่ที่ 5,694 ล้านบาท โดยยังคงมุ่งเน้นที่จะขยายงานผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคล หรือ Personal Line เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยอะไหล่รถยนต์ รวมถึงประกันภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย
นายอมร ทองทิว กรรมการผู้จัดการ บมจ.วิริยะประกันภัย เปิดเผยแผนการทำธุรกิจในปี 2566 ว่า บริษัทตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องจากปี2565 โดยเป้ายอดขายไว้ประมาณ 43,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 6% ซึ่งสูงกว่าของอุตสาหกรรมที่คาดจะโต 5.5% เป็นการเติบโตในส่วนของเบี้ยประกันภัยรถยนต์ประมาณ 37,600 ล้านบาท หรือเติบโต 5 %และเบี้ยประกันนอนมอเตอร์ 5,700 ล้านบาทหรือเติบโต 11%
ส่วนความมั่นคงทางด้านการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยมีสินทรัพย์รวมเกือบ 70,000 ล้านบาท มีอัตราส่วนเงินกองทุนเกินมาตรฐาน 154.97%
สำหรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจปี 2566 ที่กำหนดให้เป็น"ปีแห่งนวัตกรรมการบริการ : ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ " เน้น 3 เป้าหมายหลักๆคือ
1.เป้าหมายด้านช่องทางขาย ด้วยการยกระดับให้สำนักงานมาตรฐานตัวแทนเป็นสำนักงานดิจิทัล สามารถออกกรมธรรม์ให้ลูกค้าได้ด้วยตัวเองที่สำนักงาน ทั้งกรมธรรม์ตัวจริงและอิเล็กทรอนิกส์ ถึงมือลูกค้าทันทีที่ทำสัญญา ประกันภัย และลูกค้ามั่นใจได้รับความคุ้มครองแน่นอนทันที
เป้าหมายที่2 ด้านการบริการสินไหมทดแทน นอกจากระบบเคลมออนไลน์ VClaim on Vcall "ที่ให้บริการทั่วประเทศแล้ว และยังได้ขยายพื้นที่ให้บริการ คือ "จุดรอตรวจสอบอุบัติเหตุ" ด้วยการนำAI มาทำหน้าที่ในการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นควบคู่กับพนักงานสินไหมทดแทน ที่มากประสบการณ์และมีมากกว่า 1,600 คน
เป้าหมายที่3 คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ปัจจุบันมีกว่า 60ผลิตภัณฑ์ และตรงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ด้วยการใช้กลยุทธ์ "Data -Driven Innovation " และนำฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่กว่า 8 ล้านกรมธรรม์ มาวิเคราะห์ เชิงลึกในการออกผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการลูกค้า และในปีนี้ จะออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพิ่ม เช่นประกันภัยด้านสุขภาพ ที่ลงลึก ถึงการตลาดแบบ Personalization ผลิตภัณฑ์คุ้มครองเฉพาะตัวและตรงข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล
ประกันภัยด้านรถยนต์ EV ที่บริษัทถือว่ายังเป็นผู้นำและทำมากว่า 4 ปี โดยปัจจุบันให้ความคุ้มครองรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว กว่า 5,286 คัน มีเบี้ยรับกว่า 10 ล้านบาท และยังคงเป็นที่หนึ่งของบริษัทรับประกันภัยรถไฟฟ้า และยอมรับว่าเบี้ยประกันภัยรถ EVจะแพงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ทั่วๆไปประมาณ 10% เนื่องจากราคาแบตเตอรี่ ที่มีสัดส่วนประมาณ80% ของรถยนต์ EV
" เราเป็นผู้นำอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมมากว่า 30 ปีและยังคงมุ่งมั่นให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องและปีนี้ จะเป็นปีแห่ง นวัตกรรมบริการ ทุกความเสี่ยงภัย เราพร้อมเคียงข้างคุณ ด้านผลดำเนินบริษัทปี 2565 เติบโต 5.78% มากกว่าอุตสาหกรรมที่โตเฉลี่ย 3.4-4.5% โดยมีเบี้ยประกันภัยรวมทั้งสิ้น 40,991 ล้านบาท ปีที่แล้วบริษัทยังได้รับผลกระทบจากกรมธรรม์โควิดทำให้บริษัทขาดทุนประมาณ 9 พันล้านบาท แต่หากไม่รวมการขาดทุนจากโควิด บริษัทมีกำไรประมาณ 10,000 ล้านบาท" นายอมร กล่าว
ทางด้าน นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า งานบริการหลังการขาย โดยเฉพาะการบริการด้านสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานของวิริยะประกันภัย จนได้รับการยอมรับและยังคงเป็นบริษัทประกันวินาศภัยอันดับ 1 มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นวิริยะประกันภัยจึงเดินหน้าสานต่อนโยบายบริหารสินไหมแบบองค์รวม กล่าวคือ ดูแลทุกองค์ประกอบสำคัญของงานสินไหมซึ่งความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและสอดประสานกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ได้แก่ เครือข่ายศูนย์บริการสินไหม (Network), บุคลากร (People) , ข้อมูล (Data) และนวัตกรรม (Innovation) หรือ NPDI
ส่วนแผนงานด้านการประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือ Non-Motor นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายปี 2566 วิริยะประกันภัยมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน ด้วยการวางแผนขยายอัตราส่วนประกันภัย Non-Motor เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 10.65% ประมาณการเบี้ยประกันภัยรับอยู่ที่ 5,694 ล้านบาท โดยยังคงมุ่งเน้นที่จะขยายงานผลิตภัณฑ์ประกันภัยส่วนบุคคล หรือ Personal Line เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยอะไหล่รถยนต์ รวมถึงประกันภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย