by.พูเมซ่า
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนมีนาคม 2566 ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และหลุดระดับ 1,600 จุด ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลมาจากเรื่องความไม่เชื่อมั่นสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา และทำให้เกิดความกังวลว่าจะลุกลามบานปลายแค่ไหน
ขณะที่บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยลงลึกเกิน...น่าทยอยสะสมหุ้นเพิ่ม โดย SET Index ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก อย่าง การล้มละลายของ SVB Bank กระจายวงกว้าง, ความกังวลเงินเฟ้อที่ยังยืนในระดับสูงนาน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับประมาณการลง หลังเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวด 4Q65 ออกมาต่ำกว่าคาด โดยวานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงอีก -49.18 จุด หรือ -3.13% เหลือ 1523 จุด ซึ่งเป็นการปรับลงภายในวันเดียวสูงสุดในรอบ 2 ปี 3 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.03 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มีมุมมองว่า SET Index ลงลึกและเร็วเกินไป น่าจะดีดกลับได้ได้บ้าง อีกทั้งยังเป็นโซนที่น่าสะสมในเชิงพื้นฐาน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
หุ้นไทยในสัปดาห์นี้ (13 – 14 มี.ค. 66) ปรับฐานลงมาแรงกว่า 76 จุด หรือ -4.7% รอบสัปดาห์ ซึ่งถือว่าลงมาลึกกว่าตลาดหุ้นโลกในหลายๆ ประเทศ มากเกินไป ขณะที่ตลาดหุ้นบางประเทศยังฟื้นมาจนให้ผลตอบแทนเป็นบวก เช่น NASDAQ +2.6%, S&P500 +1.5%
ปกติวันไหน SET ลงหนักเกิน 35 จุด วันถัดมามักจะฟื้นขึ้นมากกว่า 3 ใน 10ส่วนของที่ลง หรือเฉลี่ยฟื้นมาครึ่งหนึ่งของที่ลง สะท้อนได้จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี (ไม่นับช่วงเผชิญ COVID-19 หนักๆ หรือช่วง ม.ค. - มี.ค. 2563) วันที่ SET ปรับฐานลงมากกว่า 35 จุด วันถัดมามักจะมีการรีบาวน์เสมอ
ณ ดัชนีที่ 1523 จุด ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย อยู่ในโซนน่าสะสมหุ้นมากขึ้น สะท้อนได้จาก SET Index ปรับตัวลงแรงในช่วง 2 วันที่ผ่านมากว่า 80 จุด กดดันให้ Tailing PE ลดระดับลงจาก 19.6 เท่าเหลือ 18.7 เท่า ถือว่าถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 20.4 เท่า ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ที่ดัชนีปัจจุบันมี MEYG สูงถึง 4.52% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 4.2% อีกทั้งดัชนีปัจุบัน Upside ยังเปิดกว้างมากขึ้น เมื่อคำนวณจาก EPS66F 91.8 บาท/หุ้น คูณกับ PE66F ที่เหมาะสม 17.54 เท่า ที่ปรับลดลงมาค่อนข้างแรงในช่วงก่อนหน้า 99.2 บาท/หุ้น ได้ดัชนีเป้าหมายทีเหมาะสม 1610 จุด
สรุปคือ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสดีดตัวกลับได้ หลังจากที่ปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมาขณะที่ค่าเงินสหรัฐกลับมาอ่อนค่า และค่าเงินในเอเชีย รวมถึงบาทที่พลิกกลับมาแข็งค่าต่ำกว่า 35 บาท/เหรียญ อีกครั้ง หนุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และตัดสินใจย้ายเม็ดเงินจากสหรัฐบางส่วนกลับมาสะสมตลาดหุ้นไทย
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสดบางส่วนราว 10 – 15% และเลือกหุ้นที่พื้นฐานแข็งแกร่ง กำไรเติบโตในอนาคตอย่าง JMT ORI GPSC รวมถึง AMATA ที่ฝ่ายวิจัยฯเพิ่งจะ Initial Coverage เป็นหุ้น Top picks
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในส่วนการลงทุนของพอร์ตลงทุนของสำนักงานประกันสังคม(สปส.) โดยพบว่าในเดือนมีนาคม 2566 หุ้นที่อยู่ในพอร์ตลงทุนสปส.ได้มีการปิดสุมดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้ว 8 บริษัทดังนี้
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า พอร์ตสปส.ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นมีเพียง 2 แห่ง ประกอบด้วย หุ้น PTT ล่าสุดถือครอง 503,269,619 หุ้น จากเดิมที่ถือ 440,198,900 หุ้น และหุ้น OR ถือครอง 87,975,134 หุ้น จากเดิมที่เคย 68,257,211หุ้น
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTTและOR ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าราคาหุ้นปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้น OR ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงระดับต่ำสุดตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 โดยระดับราคาต่ำสุดอยูที่ 19.80 บาท ณ วันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยการเข้ามาลงทุนเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นของพอร์ตลงทุนของสปส.เข้ามาก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลง ดังนั้นเมื่อราคาหุ้นปรับลดลงมูลค่าการถือครองในพอร์ตลงทุนก็ย่อมลดลงด้วยเช่นกัน
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนมีนาคม 2566 ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และหลุดระดับ 1,600 จุด ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลมาจากเรื่องความไม่เชื่อมั่นสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา และทำให้เกิดความกังวลว่าจะลุกลามบานปลายแค่ไหน
ขณะที่บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยลงลึกเกิน...น่าทยอยสะสมหุ้นเพิ่ม โดย SET Index ถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก อย่าง การล้มละลายของ SVB Bank กระจายวงกว้าง, ความกังวลเงินเฟ้อที่ยังยืนในระดับสูงนาน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับประมาณการลง หลังเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวด 4Q65 ออกมาต่ำกว่าคาด โดยวานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับฐานลงแรงอีก -49.18 จุด หรือ -3.13% เหลือ 1523 จุด ซึ่งเป็นการปรับลงภายในวันเดียวสูงสุดในรอบ 2 ปี 3 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.03 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยฯ มีมุมมองว่า SET Index ลงลึกและเร็วเกินไป น่าจะดีดกลับได้ได้บ้าง อีกทั้งยังเป็นโซนที่น่าสะสมในเชิงพื้นฐาน ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
หุ้นไทยในสัปดาห์นี้ (13 – 14 มี.ค. 66) ปรับฐานลงมาแรงกว่า 76 จุด หรือ -4.7% รอบสัปดาห์ ซึ่งถือว่าลงมาลึกกว่าตลาดหุ้นโลกในหลายๆ ประเทศ มากเกินไป ขณะที่ตลาดหุ้นบางประเทศยังฟื้นมาจนให้ผลตอบแทนเป็นบวก เช่น NASDAQ +2.6%, S&P500 +1.5%
ปกติวันไหน SET ลงหนักเกิน 35 จุด วันถัดมามักจะฟื้นขึ้นมากกว่า 3 ใน 10ส่วนของที่ลง หรือเฉลี่ยฟื้นมาครึ่งหนึ่งของที่ลง สะท้อนได้จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี (ไม่นับช่วงเผชิญ COVID-19 หนักๆ หรือช่วง ม.ค. - มี.ค. 2563) วันที่ SET ปรับฐานลงมากกว่า 35 จุด วันถัดมามักจะมีการรีบาวน์เสมอ
ณ ดัชนีที่ 1523 จุด ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทย อยู่ในโซนน่าสะสมหุ้นมากขึ้น สะท้อนได้จาก SET Index ปรับตัวลงแรงในช่วง 2 วันที่ผ่านมากว่า 80 จุด กดดันให้ Tailing PE ลดระดับลงจาก 19.6 เท่าเหลือ 18.7 เท่า ถือว่าถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 20.4 เท่า ในมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ ที่ดัชนีปัจจุบันมี MEYG สูงถึง 4.52% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 4.2% อีกทั้งดัชนีปัจุบัน Upside ยังเปิดกว้างมากขึ้น เมื่อคำนวณจาก EPS66F 91.8 บาท/หุ้น คูณกับ PE66F ที่เหมาะสม 17.54 เท่า ที่ปรับลดลงมาค่อนข้างแรงในช่วงก่อนหน้า 99.2 บาท/หุ้น ได้ดัชนีเป้าหมายทีเหมาะสม 1610 จุด
สรุปคือ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสดีดตัวกลับได้ หลังจากที่ปรับฐานแรงในช่วงที่ผ่านมาขณะที่ค่าเงินสหรัฐกลับมาอ่อนค่า และค่าเงินในเอเชีย รวมถึงบาทที่พลิกกลับมาแข็งค่าต่ำกว่า 35 บาท/เหรียญ อีกครั้ง หนุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และตัดสินใจย้ายเม็ดเงินจากสหรัฐบางส่วนกลับมาสะสมตลาดหุ้นไทย
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำถือเงินสดบางส่วนราว 10 – 15% และเลือกหุ้นที่พื้นฐานแข็งแกร่ง กำไรเติบโตในอนาคตอย่าง JMT ORI GPSC รวมถึง AMATA ที่ฝ่ายวิจัยฯเพิ่งจะ Initial Coverage เป็นหุ้น Top picks
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในส่วนการลงทุนของพอร์ตลงทุนของสำนักงานประกันสังคม(สปส.) โดยพบว่าในเดือนมีนาคม 2566 หุ้นที่อยู่ในพอร์ตลงทุนสปส.ได้มีการปิดสุมดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้ว 8 บริษัทดังนี้
รายชื่อ | จำนวนถือครอง มี.ค.66 (หุ้น) | จำนวนถือครองปี65 |
TU | 137,780,008 | 127,743,408 |
TISCO | 9,174,730 | 13,862,530 |
SCB | 90,074,440 | 90,074,440 |
PTT | 503,269,619 | 440,198,900 |
OR | 87,975,134 | 68,257,211 |
LPN | 66,616,600 | 6,616,600 |
BCP | 198,441,397 | 198,307,697 |
BCPG | 19,733,134 | 19,733,134 |
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า พอร์ตสปส.ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นมีเพียง 2 แห่ง ประกอบด้วย หุ้น PTT ล่าสุดถือครอง 503,269,619 หุ้น จากเดิมที่ถือ 440,198,900 หุ้น และหุ้น OR ถือครอง 87,975,134 หุ้น จากเดิมที่เคย 68,257,211หุ้น
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTTและOR ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าราคาหุ้นปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้น OR ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงระดับต่ำสุดตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 โดยระดับราคาต่ำสุดอยูที่ 19.80 บาท ณ วันที่ 14 มีนาคม 2566 โดยการเข้ามาลงทุนเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นของพอร์ตลงทุนของสปส.เข้ามาก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลง ดังนั้นเมื่อราคาหุ้นปรับลดลงมูลค่าการถือครองในพอร์ตลงทุนก็ย่อมลดลงด้วยเช่นกัน