จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EP มั่นใจผ่านคุณสมบัติผ่านเกณฑ์กพช. “ประสบการณ์แกร่ง- ฐานทุนแข็ง”
20 มีนาคม 2566
บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) เดินหน้ายื่นผลิตและขายไฟฟ้าให้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) หลังเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 3,668.5 เมกะวัตต์ มั่นใจผ่านการคัดเลือก จากความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และฐานทุนที่แข็งแกร่ง
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 65-73 สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าประเภทไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มเติม อีก 3,668.5 เมกะวัตต์ หลังจาก กกพ. ได้เปิดรอบแรกไปแล้ว 5,203 เมกะวัตต์
โดยจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม) จากเดิมเปิดไปแล้ว 2,368 เมกะวัตต์ จะเปิดรับซื้อเพิ่มอีก 2,632 เมกะวัตต์ รวมเป็น 5,000 เมกะวัตต์ ,พลังงานลม เปิดไปแล้ว 1,500 เมกะวัตต์ จะเปิดเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ รวมเป็น 2,500 เมกะวัตต์ และขยะอุตสาหกรรม เปิดรอบแรกไปแล้ว 100 เมกะวัตต์ และจะเปิดรับซื้อเพิ่มเติมอีก 30 เมกะวัตต์ รวมเป็น 130 เมกะวัตต์
ส่วนก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) เปิดรอบแรก 335 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก จึงเปิดรับซื้อไฟฟ้ารอบใหม่ในอัตราเดิม
การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นของกพช. ส่งผลดีต่อผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน โดยเฉพาะ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ซึ่งประธานกรรมการ “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุบริษัทตั้งเป้าหมายจะยื่นขอเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 ทั้งในส่วนที่ประกาศรับซื้ออยู่ และส่วนที่จะรับซื้อเพิ่มเติม ขนาดกำลังผลิตที่จะยื่นขอรวมทั้งสิ้น 100 เมกะวัตต์
เพิ่มเติมจากรอบแรกที่บริษัทผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติทางเทคนิคขั้นต่ำไปแล้วครบทั้ง 8 โครงการ มีขนาดกำลังผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีการประกาศผลคัดเลือกอย่างเป็นทางการภายในเดือนเมษายน 2566 ขณะที่ในส่วนการรับซื้อปริมาณเพิ่มเติม บริษัทฯ อยู่ระหว่างรอประกาศจากทางกกพ.เพื่อเปิดให้ยื่นขออีกครั้ง
บริษัทย่อยที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติทางด้านเทคนิคขึ้นต่ำ ในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และ บมจ.อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ 4 โครงการ
"บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ เนื่องจาก EP มีความเชี่ยวชาญ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญกลุ่มบริษัทมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง โดยได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอได้ทุกโครงการ" นายยุทธกล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนที่มีการเตรียมพร้อมรองรับการลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขายหุ้นกู้มูลค่าไม่เกิน 1,150 ล้านบาท อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.75% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2566 ผ่าน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บล. เอเซีย พลัส และ บล.ดาโอ (ประเทศไทย)
ด้านบล.ทรีนีตี้ วิเคราะห์หุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค โดยระบุว่า มีมุมมองด้านบวก ( + ) หลังกพช. มีมติเห็นชอบรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 3,668.5 เมกะวัตต์ ภายใต้แผน PDP 2018 Rev.1 เพื่อลดผลกระทบเรื่องค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) และเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปี 2593 และ Net Zero ภายในปี 2608
โดยการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพิ่มเติมแบ่งเป็น
1. พลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์
2. พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์
3. ก๊าซชีวภาพ 6.5 เมกะวัตต์
4. ขยะอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์
โดยการเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็น sentiment เชิงบวกกลับกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP และ VSPP โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่เน้นการลงทุนพลังงานสะอาดในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากมีหลายบริษัทลงทุนใน Solar Farm อาจส่งผลให้หลายบริษัทตัดราคาค่าไฟเพื่อเข้ารอบ ในขณะที่ Wind farm ที่มีผู้เล่นน้อยจะได้รับผลประโยชน์มากกว่า โดย Top pick โรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้แก่ DEMCO, EP, ETC โรงไฟฟ้าขนาดกลางได้แก่ BCPG, SPCG, SSP โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้แก่ EA, EGCO, GUNKUL
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 65-73 สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าประเภทไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มเติม อีก 3,668.5 เมกะวัตต์ หลังจาก กกพ. ได้เปิดรอบแรกไปแล้ว 5,203 เมกะวัตต์
โดยจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม) จากเดิมเปิดไปแล้ว 2,368 เมกะวัตต์ จะเปิดรับซื้อเพิ่มอีก 2,632 เมกะวัตต์ รวมเป็น 5,000 เมกะวัตต์ ,พลังงานลม เปิดไปแล้ว 1,500 เมกะวัตต์ จะเปิดเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ รวมเป็น 2,500 เมกะวัตต์ และขยะอุตสาหกรรม เปิดรอบแรกไปแล้ว 100 เมกะวัตต์ และจะเปิดรับซื้อเพิ่มเติมอีก 30 เมกะวัตต์ รวมเป็น 130 เมกะวัตต์
ส่วนก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) เปิดรอบแรก 335 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก จึงเปิดรับซื้อไฟฟ้ารอบใหม่ในอัตราเดิม
การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นของกพช. ส่งผลดีต่อผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน โดยเฉพาะ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ซึ่งประธานกรรมการ “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุบริษัทตั้งเป้าหมายจะยื่นขอเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 ทั้งในส่วนที่ประกาศรับซื้ออยู่ และส่วนที่จะรับซื้อเพิ่มเติม ขนาดกำลังผลิตที่จะยื่นขอรวมทั้งสิ้น 100 เมกะวัตต์
เพิ่มเติมจากรอบแรกที่บริษัทผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติทางเทคนิคขั้นต่ำไปแล้วครบทั้ง 8 โครงการ มีขนาดกำลังผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีการประกาศผลคัดเลือกอย่างเป็นทางการภายในเดือนเมษายน 2566 ขณะที่ในส่วนการรับซื้อปริมาณเพิ่มเติม บริษัทฯ อยู่ระหว่างรอประกาศจากทางกกพ.เพื่อเปิดให้ยื่นขออีกครั้ง
บริษัทย่อยที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติทางด้านเทคนิคขึ้นต่ำ ในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และ บมจ.อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ 4 โครงการ
"บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ เนื่องจาก EP มีความเชี่ยวชาญ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญกลุ่มบริษัทมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง โดยได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอได้ทุกโครงการ" นายยุทธกล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนที่มีการเตรียมพร้อมรองรับการลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมเสนอขายหุ้นกู้มูลค่าไม่เกิน 1,150 ล้านบาท อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.75% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2566 ผ่าน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บล. เอเซีย พลัส และ บล.ดาโอ (ประเทศไทย)
ด้านบล.ทรีนีตี้ วิเคราะห์หุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค โดยระบุว่า มีมุมมองด้านบวก ( + ) หลังกพช. มีมติเห็นชอบรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 3,668.5 เมกะวัตต์ ภายใต้แผน PDP 2018 Rev.1 เพื่อลดผลกระทบเรื่องค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) และเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutral ภายในปี 2593 และ Net Zero ภายในปี 2608
โดยการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพิ่มเติมแบ่งเป็น
1. พลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์
2. พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์
3. ก๊าซชีวภาพ 6.5 เมกะวัตต์
4. ขยะอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์
โดยการเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็น sentiment เชิงบวกกลับกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP และ VSPP โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่เน้นการลงทุนพลังงานสะอาดในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากมีหลายบริษัทลงทุนใน Solar Farm อาจส่งผลให้หลายบริษัทตัดราคาค่าไฟเพื่อเข้ารอบ ในขณะที่ Wind farm ที่มีผู้เล่นน้อยจะได้รับผลประโยชน์มากกว่า โดย Top pick โรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้แก่ DEMCO, EP, ETC โรงไฟฟ้าขนาดกลางได้แก่ BCPG, SPCG, SSP โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้แก่ EA, EGCO, GUNKUL