จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ยอดผลิตรถยนต์ปี 66 แตะ 1.95 ล้านคัน ดันธุรกิจผลิตเบาะรถ CWT แข็งแกร่ง
21 มีนาคม 2566
ยอดผลิตรถยนต์ปี2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่จะขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ธุรกิจเบาะหนังมีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง หนุนรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 10%
Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทั้งในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงาน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยียานยนต์ โดยในปี 2565 มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านล้านบาท และจากรายงานของ International Organization of Motor Vehicle Manufacturers (OICA) ระบุว่า ในปี 2565 ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวนกว่า 85.0 ล้านคัน แม้จะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2562 (ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19) อยู่ถึง 7.7% แต่คาดว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การผลิตรถยนต์จะทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องและเข้าสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ได้ในปี 2567
สอดคล้องกับรายงานของบริษัทวิจัยด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำอย่าง Wards Intelligence ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก สะท้อนจากการที่ไทยมีการผลิตรถยนต์ต่อปีมากถึง 1.9 ล้านคัน สูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 10 ของโลก และสินค้ากลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย โดยในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.31 ล้านล้านบาท ขยายตัว 8.2%YoY หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 12.3% ต่อ GDP
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่มีบทบาทสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งเป็นส่วนเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากการผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) หรือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ต้องใช้ชิ้นส่วนฯ OEM (Original Equipment Manufacturing) หรือชิ้นส่วนฯ ที่ป้อนให้กับโรงงานประกอบรถยนต์มากถึง 2-3 หมื่นชิ้นต่อคัน
ซึ่งประเทศไทยมีอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง และมีส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศแล้ว สินค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยในปี 2565 มีมูลค่าส่งออกกว่า 5.41 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.4% ของมูลค่าการส่งออกรวม และคิดเป็นสัดส่วน 41.3% ของมูลค่าการส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
Krungthai COMPASS ประเมินว่า ยอดการผลิตรถยนต์ของไทยจะปรับตัวสูงขึ้น 3.5%YoY ขึ้นมาแตะ 1.95 ล้านคันในปี 2566 และขยายตัวต่อเนื่อง 7.7%YoY ไปที่ระดับ 2.10 ล้านคันในปี 2567 ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยประมาณการยอดการผลิตรถยนต์ของเรามีความสอดคล้องกับมุมมองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
ซึ่งการขยายตัวของยอดการผลิตรถยนต์มีแรงหนุนหลักมาจาก 1) ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่คงค้าง 2) การฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวที่ระดับ 3.4% เช่นเดียวกันกับตลาดส่งออกรถยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวถึง 24.2%YoY
ตลาดรถยนต์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังการระบาดของโควิด 19 ส่งผลดีต่อธุรกิจผลิตสินค้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ฟอก 2) ผลิตภัณฑ์ของเล่นสัตว์เลี้ยง 3) ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์หนัง 4) ผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda Mitsubishi และ Chevrolet
2.กลุ่มพลังงาน โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ในสัดส่วน 100% โดยมีเป้าหมายเพื่อประกอบธุรกิจลงทุน (ถือหุ้น) บริษัท ในกลุ่มพลังงานทดแทน 3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ ซึ่งประกอบกิจการออกแบบและจัดจำหน่ายเรือ และรถโดยสารขนาด เล็กที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม
ซึ่งในส่วนของธุรกิจผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในปี 66 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 10% จากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจเบาะหนังมีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของยอดการผลิตรถยนต์ และมีแผนการส่งมอบงานอย่างชัดเจน
ขณะที่มีรายได้จากธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้าเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจ SKC มีแผนการส่งมอบงานตามกำหนดเช่นกัน ทำให้บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลงานในปีนี้จะสามารถสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายตุนสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือมากกว่า 50 MW ภายในปี 66 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการ Spin Off ธุรกิจพลังงานเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
อนึ่ง ปัจจุบันกลุ่ม CWT มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.90 เมกะวัตต์ และโครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.60 เมกะวัตต์ รูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่ จ.สระแก้ว และมีโรงคัดแยกขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF 1 แห่ง กำลังการผลิต 400ตัน/วัน อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าคาดสามารถ COD ได้ภายในไตรมาส 3/66 ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี
Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทั้งในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงาน และการพัฒนาด้านเทคโนโลยียานยนต์ โดยในปี 2565 มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านล้านบาท และจากรายงานของ International Organization of Motor Vehicle Manufacturers (OICA) ระบุว่า ในปี 2565 ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวนกว่า 85.0 ล้านคัน แม้จะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปี 2562 (ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19) อยู่ถึง 7.7% แต่คาดว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การผลิตรถยนต์จะทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องและเข้าสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ได้ในปี 2567
สอดคล้องกับรายงานของบริษัทวิจัยด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำอย่าง Wards Intelligence ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก สะท้อนจากการที่ไทยมีการผลิตรถยนต์ต่อปีมากถึง 1.9 ล้านคัน สูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 10 ของโลก และสินค้ากลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย โดยในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.31 ล้านล้านบาท ขยายตัว 8.2%YoY หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 12.3% ต่อ GDP
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่มีบทบาทสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งเป็นส่วนเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากการผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) หรือ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ต้องใช้ชิ้นส่วนฯ OEM (Original Equipment Manufacturing) หรือชิ้นส่วนฯ ที่ป้อนให้กับโรงงานประกอบรถยนต์มากถึง 2-3 หมื่นชิ้นต่อคัน
ซึ่งประเทศไทยมีอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง และมีส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศแล้ว สินค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยในปี 2565 มีมูลค่าส่งออกกว่า 5.41 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.4% ของมูลค่าการส่งออกรวม และคิดเป็นสัดส่วน 41.3% ของมูลค่าการส่งออกยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
Krungthai COMPASS ประเมินว่า ยอดการผลิตรถยนต์ของไทยจะปรับตัวสูงขึ้น 3.5%YoY ขึ้นมาแตะ 1.95 ล้านคันในปี 2566 และขยายตัวต่อเนื่อง 7.7%YoY ไปที่ระดับ 2.10 ล้านคันในปี 2567 ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยประมาณการยอดการผลิตรถยนต์ของเรามีความสอดคล้องกับมุมมองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
ซึ่งการขยายตัวของยอดการผลิตรถยนต์มีแรงหนุนหลักมาจาก 1) ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่คงค้าง 2) การฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวที่ระดับ 3.4% เช่นเดียวกันกับตลาดส่งออกรถยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวถึง 24.2%YoY
ตลาดรถยนต์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังการระบาดของโควิด 19 ส่งผลดีต่อธุรกิจผลิตสินค้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจคือ
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์หนัง ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ฟอก 2) ผลิตภัณฑ์ของเล่นสัตว์เลี้ยง 3) ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์หนัง 4) ผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda Mitsubishi และ Chevrolet
2.กลุ่มพลังงาน โดยบริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ในสัดส่วน 100% โดยมีเป้าหมายเพื่อประกอบธุรกิจลงทุน (ถือหุ้น) บริษัท ในกลุ่มพลังงานทดแทน 3.กลุ่มออกแบบและจัดจำหน่ายยานพาหนะ ซึ่งประกอบกิจการออกแบบและจัดจำหน่ายเรือ และรถโดยสารขนาด เล็กที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม
ซึ่งในส่วนของธุรกิจผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในปี 66 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 10% จากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจเบาะหนังมีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของยอดการผลิตรถยนต์ และมีแผนการส่งมอบงานอย่างชัดเจน
ขณะที่มีรายได้จากธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้าเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจ SKC มีแผนการส่งมอบงานตามกำหนดเช่นกัน ทำให้บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลงานในปีนี้จะสามารถสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายตุนสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือมากกว่า 50 MW ภายในปี 66 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการ Spin Off ธุรกิจพลังงานเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
อนึ่ง ปัจจุบันกลุ่ม CWT มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.90 เมกะวัตต์ และโครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.60 เมกะวัตต์ รูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่ จ.สระแก้ว และมีโรงคัดแยกขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF 1 แห่ง กำลังการผลิต 400ตัน/วัน อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าคาดสามารถ COD ได้ภายในไตรมาส 3/66 ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี