Wealth Sharing
TGE รุกขยายโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ปักหมุดมีกำลังผลิตติดตั้งแตะ 200 MWใน ปี 75
23 มีนาคม 2566
นายสุเมธ ลักษิตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TGE เปิดเผยว่า จากแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายขยายกำลังการผลิตติดตั้งเป็นมากกว่า 100 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2570 เพื่อก้าวเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในประเทศไทย และเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็นมากกว่า 200 MW ภายในปี 2575 เพื่อยกระดับเป็นผู้นำอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค จากปัจจุบันที่กำลังการผลิตติดตั้งรวม 69.6 MW ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าชีวมวล 3 แห่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 29.7 MW และโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 5 แห่ง ที่ชนะประมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังการผลิตติดตั้งรวม 39.9 MW ได้แก่ ราชบุรี สระแก้ว ชุมพร จะเริ่ม COD ปลายปี 2567 ส่วนสมุทรสาครและชัยนาท คาดว่าจะ COD ปลายปี 2568 บริษัทฯ จึงวางแผนขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าภายใต้ 5 กลยุทธ์หลักที่จะเพิ่มศักยภาพและการเติบโตในระยะยาว
ทั้งนี้ 5 กลยุทธ์หลักดังกล่าว ได้แก่ 1) การขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อีก 2 โครงการในปีนี้ ทำ M&A ขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่ เช่น ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล, วู้ดพาเล็ต เป็นต้น ศึกษาการนำขี้เถ้าในกระบวนการผลิตมาต่อยอดสร้างรายได้ และเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต โดยปัจจุบันโรงไฟฟ้าชีวมวล TPG จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER แล้ว มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับรองคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) 33,964 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ในปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 และในปีที่ 2 จะได้รับรองเพิ่มขึ้นอีกกว่า 33,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นอกจากนี้โรงไฟฟ้าชีวมวล TBP จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียน T-VER อีก 1 แห่ง และ TGE ก็อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน I-REC ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากดำเนินการตามแผนลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า ขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่ และการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าจะผลักดันรายได้ของบริษัทฯ ในปี 2567 เพิ่มขึ้นได้อีกมากกว่า 50% จากปี 2565 ที่มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 938 ล้านบาท
2) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและเดินเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้า
3) การบริหารพอร์ตโฟลิโอ โดยรุกเข้าสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนประเภทใหม่ๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ และธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลแก่พอร์ตโฟลิโอ จากปัจจุบันที่มีรายได้หลักจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 3 แห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอยู่ระหว่างขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 5 โครงการ ที่ชนะการประมูลจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
4) การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโต
5) มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้หลัก ESG โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นการขยายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
“โรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ชนะการประมูลทั้ง 5 โครงการ จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตแก่บริษัทฯ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มุ่งขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยจะเข้าประมูลอีกอย่างน้อย 2 โครงการ รวมถึงพิจารณาโอกาสทำ M&A” นายสุเมธ กล่าว
ทั้งนี้ 5 กลยุทธ์หลักดังกล่าว ได้แก่ 1) การขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อีก 2 โครงการในปีนี้ ทำ M&A ขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่ เช่น ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล, วู้ดพาเล็ต เป็นต้น ศึกษาการนำขี้เถ้าในกระบวนการผลิตมาต่อยอดสร้างรายได้ และเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต โดยปัจจุบันโรงไฟฟ้าชีวมวล TPG จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER แล้ว มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับรองคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) 33,964 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) ในปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 31 กรกฎาคม 2565 และในปีที่ 2 จะได้รับรองเพิ่มขึ้นอีกกว่า 33,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นอกจากนี้โรงไฟฟ้าชีวมวล TBP จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียน T-VER อีก 1 แห่ง และ TGE ก็อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน I-REC ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากดำเนินการตามแผนลงทุนโครงการโรงไฟฟ้า ขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่ และการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตแล้วเสร็จจะส่งผลดีต่อการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าจะผลักดันรายได้ของบริษัทฯ ในปี 2567 เพิ่มขึ้นได้อีกมากกว่า 50% จากปี 2565 ที่มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 938 ล้านบาท
2) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและเดินเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้า
3) การบริหารพอร์ตโฟลิโอ โดยรุกเข้าสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนประเภทใหม่ๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ และธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลแก่พอร์ตโฟลิโอ จากปัจจุบันที่มีรายได้หลักจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 3 แห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และอยู่ระหว่างขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 5 โครงการ ที่ชนะการประมูลจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
4) การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพการเติบโต
5) มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้หลัก ESG โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นการขยายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
“โรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ชนะการประมูลทั้ง 5 โครงการ จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตแก่บริษัทฯ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มุ่งขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยจะเข้าประมูลอีกอย่างน้อย 2 โครงการ รวมถึงพิจารณาโอกาสทำ M&A” นายสุเมธ กล่าว