Wealth Sharing

UBE หวังยกระดับมันสำปะหลังไทย สู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง มุ่งสู่ Food Tech Company เต็มรูปแบบ


23 มีนาคม 2566
นางสาวสุรียส เปิดเผยว่า “ปี 2565 ถือเป็นปีที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มทยอยฟื้นตัว การใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คลี่คลายลง โดยธุรกิจเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง มีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นจากการเดินทางและภาคท่องเที่ยว ขณะที่เกรดอุตสาหกรรม ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง จากมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ ด้านธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง บริษัทฯ ได้เดินหน้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High-value products) ในกลุ่มแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค และฟลาวมันสำปะหลัง ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แบรนด์ทาสุโกะ ทั้งแป้งทอดกรอบ ฟลาวมันสำปะหลังสำเร็จรูป 4 รสชาติใหม่ และ บราวนี่อบกรอบรสชาติใหม่ ส่วนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กาแฟ และผลิตภัณฑ์ทางเกษตรอื่นๆ ส่งผลให้ภาพรวมทั้งปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้รวมที่ 7,199.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 329.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากปี 2564”

UBE หวังยกระดับมันสำปะหลังไทย.jpg

สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ยังถือเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความท้าทาย ทั้งจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว และราคาวัตถุดิบมันสำปะหลังที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังลดลง อันมีสาเหตุจากภัยธรรมชาติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 อย่างไรก็ตาม UBE ยังคงมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นบริษัท Food Tech Company ที่เน้นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดการดำเนินธุรกิจ “UBEYOND” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่การเติบโตที่กว้างไกลกว่า ใน 3 ด้าน กล่าวคือ 1.Beyond the challenges ก้าวเหนือความท้าทายด้วยแผนการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย

-แผนกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโของธุรกิจ (1) วางเป้าการเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง และธุรกิจใหม่ ภายใน 3 ปี (2) การรักษาความแข็งแกร่งของธุรกิจที่กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยในส่วนของธุรกิจเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง จะเดินหน้าผลักดัน E20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการใช้เอทานอลมากขึ้น ส่วนเกรดอุตสาหกรรม จะเดินหน้าผลักดันให้มีการเปิดเสรีการใช้งานเอทานอลในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมยา อาหารเสริม เครื่องสำอาง ส่วนธุรกิจแป้งมันสำปะหลัง และ ฟลาวมันสำปะหลัง จะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ที่ตอบโจทย์ตรงลูกค้า เพื่อเพิ่มความหลากหลายของการนำฟลาวมันสำปะหลังไปใช้ในเมนูต่างๆ อาทิ พาสต้า ราเมน ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เตรียมเดินหน้าสร้างการเติบโตของธุรกิจกาแฟ ข้าวอินทรีย์ และธุรกิจพลังงานทดแทน และ (3) การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่จะมาต่อยอดการเติบโตของธุรกิจเดิม หรือการสร้างการเติบโตใหม่ในอนาคต 

-กลยุทธ์ด้านการเงิน โดยแผนระยะสั้นจะเป็นการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบ Enterprise Resource Planning (ERP)  เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนระยะยาว จะเป็นการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ การกระจายการลงทุนในธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่ง รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลงทุนด้านนวัตกรรม วิจัยและพัฒนา

-ธุรกิจเอทานอล ดำเนินแผนกลยุทธ์ในการรักษาส่วนแบ่งการตลาดของเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านโครงการ Debottleneck รวมถึงการผลักดันการเปิดเสรีเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ 
-ธุรกิจแป้งมันสำปะหลังและฟลาวมันสำปะหลัง มุ่งเน้นการนำเสนอสินค้าในรูปแบบการนำไปใช้ใน Application ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ Trend ด้านสุขภาพของผู้บริโภค โดยเน้นการขยายตลาดและเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง (High valued-added products) ทั้งในส่วนแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค และ ฟลาวมันสำปะหลัง โดยตลาดในประเทศ ผ่านแบรนด์ ทาสุโกะ และในตลาดต่างประเทศ 

2.Beyond through innovation ก้าวเหนือกว่าด้วยนวัตกรรมที่เปิดกว้าง ผ่านการวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางธุรกิจของ UBE และบริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็น การวิจัยด้านอาหารแห่งอนาคต การวิจัยทางด้านชีวเคมี และการวิจัยด้านการเพาะปลูกและสารชีวภัณฑ์ จากหน่วยงานวิจัยและพัฒนาภายใน และการร่วมวิจัยกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน 

3.Beyond sustainability ก้าวสู่ความองค์กรที่มีความยั่งยืนครบทุกมิติ โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความยั่งยืนตามแนวทาง ESG (Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ที่ให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และการส่งเสริมวัตถุดิบมันสำปะหลังอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ผ่านโครงการอีสานล่าง 2 โมเดล บูรณาการกับภาครัฐ รวมถึงการใส่ใจกระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ (Zero carbon) และการบริหารจัดการผลพลอยได้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มูลค่า (Zero waste) ตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ผ่านโครงการ UBE Care ที่ช่วยสนับสนุนชุมชนต่างๆ ทั้งในด้านประเพณีวัฒนธรรม การช่วยเหลือจากเหตุการณ์ภับพิบัติ ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ควบคู่กับการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน คือ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคลากร รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเติบโตไปสู่เป้าหมาย 

“ประเทศไทย นับเป็นประเทศที่มีความพร้อมในด้านการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะวัตถุดิบมันสำปะหลัง ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายอุตสาหกรรม ในปีนี้ UBE ตั้งเป้าที่จะขับเคลื่อนเพื่อให้เห็นว่า เรามีดีมากกว่าผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน แต่เรายังมีผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังและฟลาวมันสำปะหลัง ที่ตอบโจทย์เทรนด์ความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของโลก และสิ่งนี้จะเป็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตไปอีกขั้นได้” นางสาวสุรียส กล่าวเสริม

UBE วางเป้าหมายการเป็นหนึ่งในผู้นำในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและยกระดับมันสำปะหลังไทยให้ก้าวไกลไปสู่ผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูงอื่นๆ ผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยี และงานวิจัย ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจบนความยั่งยืนที่สามารถสร้างคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ตามแนวทาง ESG พร้อมเคียงข้างให้การสนับสนุนเกษตรกรไทย ในการ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูปที่สมบรูณ์แบบสู่ “อาหารแห่งอนาคต” เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของเกษตกรไทย และสร้างการเติบโตที่กว้างไกลกว่าอย่างยั่งยืนขององค์กร ตามเป้าหมายการก้าวสู่การเป็นบริษัท Food Tech Company ที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน
UBE