ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงแรกของไตรมาส 2 จะปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ดี รับปัจจัยผลักดันทางด้านสภาพคล่องที่มีที่มาส่วนหนึ่งจากการเติมเต็มสภาพคล่องในระบบการเงินของสหรัฐฯและยุโรปที่ผ่านมา มองมาตรการที่สำคัญได้แก่ USD Liquidity Swaps ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จับมือร่วมกับอีก 5 ธนาคารกลางขนาดใหญ่ (Coordinated action) ในการเติมเต็มสภาพคล่องของเงิน USD ที่ขาดหายไป ซึ่งหากอ้างอิงในอดีต จะพบว่ามาตรการดังกล่าวมักนำมาสู่ Turning point ของเงิน USD ได้อย่างสำคัญ ไม่เว้นรอบนี้ ที่เราประเมินว่านับตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของมาตรการดังกล่าว เงิน USD มีแนวโน้มจะทรงตัวอ่อนค่าอยู่ในระดับต่ำต่อไป เป็นอานิสงส์ต่อสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม รวมถึงสกุลเงินต่างๆในประเทศเกิดใหม่รวมถึงไทยด้วย
ในส่วนของปัจจัยดึงดูดที่สำคัญในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 นี้นั้น คงหนีไม่พ้นสีสันทางด้านการเลือกตั้งที่จะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อ Sentiment ในตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ หากตรวจสอบดู Timeline ของเหตุการณ์ที่สำคัญที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปของไทยในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จะได้แก่
-วันที่ 3-7 เมษายน: การรับสมัครส.ส.แบ่งเขต
-วันที่ 4-7 เมษายน: การรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ รวมถึงการแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
-วันที่ 7 พฤษภาคม: วันเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขตและนอกเขตเลือกตั้ง
-วันที่ 14 พฤษภาคม: วันเลือกตั้งทั่วไป
ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาก่อนหน้าการเลือกตั้งของไทยมักมากับเม็ดเงินที่ใช้ในการหาเสียงด้วยแคมเปญต่างๆ รวมถึงการออกมาให้คำมั่นสัญญาทางด้านนโยบายเศรษฐกิจ ที่จะเข้ามาช่วยปากท้องของประชาชนในช่วงถัดไป ซึ่งสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้นจริงได้มากเท่าไหร่นั้นย่อมไม่มีใครรู้ แต่ในส่วนของความคาดหวังของคนนั้น มักจะเกิดขึ้นนำหน้าไปก่อนเสมอ ไม่ต่างจากการเลือกตั้งรอบนี้ที่เราประเมินว่าจะเห็นภาพดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราพิจารณาว่า ณ ขณะนี้ เศรษฐกิจไทยเพิ่งอยู่ในเฟสของการฟื้นตัวหลังจากช่วงโควิดได้ไม่นาน แถมยังเจอปัญหาเงินเฟ้อที่เข้ามาเพิ่มภาระค่าครองชีพล่าสุดเข้าไปอีก ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงมีความกระหายต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนโยบายภาครัฐ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของมาตรการการเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายค่าครองชีพ หรือรวมไปถึงการลดภาระหนี้
นโยบายต่างๆเหล่านี้ที่หลายพรรคการเมืองนำมาใช้ในการหาเสียงอยู่ ณ ปัจจุบัน ย่อมนำมาสู่ความคาดหวังทางด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีมักนำมาสู่การบริโภคจับจ่ายใช้สอยที่เกิดขึ้นก่อนในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของหอการค้าไทยล่าสุด ได้ประเมินว่าจะมีเงินสะพัดในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ราว 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมได้ราว 1.0-1.2 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ประมาณ 0.5-0.7%
ในส่วนของกลุ่มหุ้นที่มักจะปรับตัวได้ดีในช่วงปรากฏการณ์ Election rally ทุกๆครั้ง จะพบว่ากระจุกอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจภายในหรือ Domestic play เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ กลุ่มการแพทย์ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ และกลุ่มพาณิชย์ เป็นต้น (Figure 3)
Recommendation
เราแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic play ข้างต้น เพื่อรองรับกับปรากฏการณ์ Election rally ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า กลุ่มหุ้นเหล่านี้ยังไม่ได้มีการปรับขึ้นมามากนัก หากนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (Figure 4) ทำให้ในแง่ Valuation ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่ตึงตัวมากนัก
ในส่วนของตัวหุ้นแนะนำที่เราเลือกมานั้น ส่วนใหญ่ก็กระจุกอยู่ในกลุ่ม Domestic play เหล่านี้ด้วยเช่นกัน โดยเราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆนั่นก็คือ กลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ใน SET100 และอยู่นอกเหนือ SET100 (Non-SET100) ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
รายชื่อหุ้นแนะนำในดัชนี SET100 ได้แก่ ADVANC, BBL, BGRIM, BH, CBG, CENTEL, CRC, DOHOME, PTG, SABUY
รายชื่อหุ้นแนะนำในดัชนี Non-SET100 ได้แก่ BVG, BWG, ETC, HTC, MENA, OTO-W1, PR9, SAPPE, SFLEX, SNNP
สำหรับเหตุผลสนับสนุนหุ้นในแต่ละบริษัท สามารถติดตามได้ในตารางด้านท้าย
จากสถิติในอดีตนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาเราพบว่า ตลาดหุ้นไทยมักให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้าการเลือกตั้งไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ซึ่งเราให้คำจำกัดความในช่วงเวลานี้ว่า เป็นช่วงของปรากฏการณ์ ‘Election rally’ ที่มีค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 6% (Figure 1) โดยมีระดับ Maximum และ Minimum return อยู่ที่ +16.5% และ +0.1% ตามลำดับ (Figure 2) หรือพูดง่ายๆ ก็คือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ SET Index ไม่เคยให้ผลตอบแทนติดลบเลยแม้แต่ครั้งเดียว
ในส่วนของปัจจัยดึงดูดที่สำคัญในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 นี้นั้น คงหนีไม่พ้นสีสันทางด้านการเลือกตั้งที่จะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อ Sentiment ในตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ หากตรวจสอบดู Timeline ของเหตุการณ์ที่สำคัญที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปของไทยในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จะได้แก่
-วันที่ 3-7 เมษายน: การรับสมัครส.ส.แบ่งเขต
-วันที่ 4-7 เมษายน: การรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ รวมถึงการแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
-วันที่ 7 พฤษภาคม: วันเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขตและนอกเขตเลือกตั้ง
-วันที่ 14 พฤษภาคม: วันเลือกตั้งทั่วไป
ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาก่อนหน้าการเลือกตั้งของไทยมักมากับเม็ดเงินที่ใช้ในการหาเสียงด้วยแคมเปญต่างๆ รวมถึงการออกมาให้คำมั่นสัญญาทางด้านนโยบายเศรษฐกิจ ที่จะเข้ามาช่วยปากท้องของประชาชนในช่วงถัดไป ซึ่งสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้นจริงได้มากเท่าไหร่นั้นย่อมไม่มีใครรู้ แต่ในส่วนของความคาดหวังของคนนั้น มักจะเกิดขึ้นนำหน้าไปก่อนเสมอ ไม่ต่างจากการเลือกตั้งรอบนี้ที่เราประเมินว่าจะเห็นภาพดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราพิจารณาว่า ณ ขณะนี้ เศรษฐกิจไทยเพิ่งอยู่ในเฟสของการฟื้นตัวหลังจากช่วงโควิดได้ไม่นาน แถมยังเจอปัญหาเงินเฟ้อที่เข้ามาเพิ่มภาระค่าครองชีพล่าสุดเข้าไปอีก ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงมีความกระหายต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนโยบายภาครัฐ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของมาตรการการเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายค่าครองชีพ หรือรวมไปถึงการลดภาระหนี้
นโยบายต่างๆเหล่านี้ที่หลายพรรคการเมืองนำมาใช้ในการหาเสียงอยู่ ณ ปัจจุบัน ย่อมนำมาสู่ความคาดหวังทางด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีมักนำมาสู่การบริโภคจับจ่ายใช้สอยที่เกิดขึ้นก่อนในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของหอการค้าไทยล่าสุด ได้ประเมินว่าจะมีเงินสะพัดในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ราว 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมได้ราว 1.0-1.2 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ประมาณ 0.5-0.7%
ในส่วนของกลุ่มหุ้นที่มักจะปรับตัวได้ดีในช่วงปรากฏการณ์ Election rally ทุกๆครั้ง จะพบว่ากระจุกอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจภายในหรือ Domestic play เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ กลุ่มการแพทย์ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ และกลุ่มพาณิชย์ เป็นต้น (Figure 3)
Recommendation
เราแนะนำให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic play ข้างต้น เพื่อรองรับกับปรากฏการณ์ Election rally ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า กลุ่มหุ้นเหล่านี้ยังไม่ได้มีการปรับขึ้นมามากนัก หากนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (Figure 4) ทำให้ในแง่ Valuation ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่ตึงตัวมากนัก
ในส่วนของตัวหุ้นแนะนำที่เราเลือกมานั้น ส่วนใหญ่ก็กระจุกอยู่ในกลุ่ม Domestic play เหล่านี้ด้วยเช่นกัน โดยเราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆนั่นก็คือ กลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่อยู่ใน SET100 และอยู่นอกเหนือ SET100 (Non-SET100) ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้
รายชื่อหุ้นแนะนำในดัชนี SET100 ได้แก่ ADVANC, BBL, BGRIM, BH, CBG, CENTEL, CRC, DOHOME, PTG, SABUY
รายชื่อหุ้นแนะนำในดัชนี Non-SET100 ได้แก่ BVG, BWG, ETC, HTC, MENA, OTO-W1, PR9, SAPPE, SFLEX, SNNP
สำหรับเหตุผลสนับสนุนหุ้นในแต่ละบริษัท สามารถติดตามได้ในตารางด้านท้าย
จากสถิติในอดีตนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาเราพบว่า ตลาดหุ้นไทยมักให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้าการเลือกตั้งไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ซึ่งเราให้คำจำกัดความในช่วงเวลานี้ว่า เป็นช่วงของปรากฏการณ์ ‘Election rally’ ที่มีค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 6% (Figure 1) โดยมีระดับ Maximum และ Minimum return อยู่ที่ +16.5% และ +0.1% ตามลำดับ (Figure 2) หรือพูดง่ายๆ ก็คือว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ SET Index ไม่เคยให้ผลตอบแทนติดลบเลยแม้แต่ครั้งเดียว