จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “อุปกรณ์การแพทย์-เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา” ฟื้น เอื้อ PCL ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
29 มีนาคม 2566
อุตสาหกรรมการแพทย์ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนจากภาครัฐที่จะให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลดีต่อธุรกิจและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ บมจ.พี ซี แอล โฮลดิ้ง (PCL)
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ระบุ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศต่อหลายผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์
ซึ่งอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการส่งเสริมของภาครัฐในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) เพราะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ในพื้นที่ EEC รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถเน้นตลาดในประเทศได้มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูง อาทิ การเจาะตลาดสินค้าพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสังคมสูงวัย การเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) การเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ส่วนบุคคล (Health-Related Personal Devices) การคิดค้นอุปกรณ์เชิงเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive care)
สถานการณ์ทางการแพทย์ที่เติบโตดีขึ้น สนับสนุนการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบมจ.พี ซี แอล โฮลดิ้ง (PCL) โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “พิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา” กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทมีความพร้อมในทุกๆ ด้านที่จะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยฯ เพื่อสร้างการเติบโตและโอกาสในการขยายธุรกิจให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของ PCL มีโอกาสในการขยายธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นฐานแข็งแกร่งกว่าเดิม และถือเป็นการนำพาองค์กรเดินไปข้างหน้า ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มุ่งมั่นทุ่มเทและบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
PCL แบ่งการประกอบธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1) กลุ่มธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
2) กลุ่มธุรกิจบริการรับตรวจวิเคราะห์โรคสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
3) กลุ่มธุรกิจผลิต พัฒนา และจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์และให้บริการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์พร้อมบริการซ่อมแซมบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำหรับผลประกอบการระหว่างปี 63-65 บริษัทมีรายได้รวม 2,186.13 ล้านบาท 3,858.98 ล้านบาท 2,859.05 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำไรสุทธิ 277.69 ล้านบาท 871.58 ล้านบาท 315.09 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 12.70% 22.59% 11.02% ตามลำดับ ซึ่งรายได้หลักของบริษัทฯ มาจากธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์และน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 78.58-79.02% ของรายได้รวม
ทั้งนี้ PCL เตรียมจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 410 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 26.05 % ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
โดยวัตถุประสงค์ของการระดมทุนมีแผนนำไปใช้ลงทุนซื้อเครื่องมือวิเคราะห์โรคเพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาด, ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน รวมทั้งชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัท อาจมีขึ้นในอนาคต, ใช้ลงทุนขยายกิจการ ประกอบด้วย ก่อสร้างศูนย์ตรวจสุขภาพ PCT Wellness Center, ลงทุนซื้อเครื่องมือและเทคโนโลยีชั้นสูง และเงินที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ
ขณะเดียวกันบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการ ภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และหลังหักสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ระบุ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศต่อหลายผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์
ซึ่งอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการส่งเสริมของภาครัฐในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) เพราะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ในพื้นที่ EEC รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถเน้นตลาดในประเทศได้มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูง อาทิ การเจาะตลาดสินค้าพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสังคมสูงวัย การเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) การเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ส่วนบุคคล (Health-Related Personal Devices) การคิดค้นอุปกรณ์เชิงเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive care)
สถานการณ์ทางการแพทย์ที่เติบโตดีขึ้น สนับสนุนการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบมจ.พี ซี แอล โฮลดิ้ง (PCL) โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “พิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา” กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทมีความพร้อมในทุกๆ ด้านที่จะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยฯ เพื่อสร้างการเติบโตและโอกาสในการขยายธุรกิจให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของ PCL มีโอกาสในการขยายธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นฐานแข็งแกร่งกว่าเดิม และถือเป็นการนำพาองค์กรเดินไปข้างหน้า ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มุ่งมั่นทุ่มเทและบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
PCL แบ่งการประกอบธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1) กลุ่มธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
2) กลุ่มธุรกิจบริการรับตรวจวิเคราะห์โรคสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
3) กลุ่มธุรกิจผลิต พัฒนา และจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์และให้บริการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์พร้อมบริการซ่อมแซมบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำหรับผลประกอบการระหว่างปี 63-65 บริษัทมีรายได้รวม 2,186.13 ล้านบาท 3,858.98 ล้านบาท 2,859.05 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำไรสุทธิ 277.69 ล้านบาท 871.58 ล้านบาท 315.09 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 12.70% 22.59% 11.02% ตามลำดับ ซึ่งรายได้หลักของบริษัทฯ มาจากธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์และน้ำยาตรวจวิเคราะห์โรค และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 78.58-79.02% ของรายได้รวม
ทั้งนี้ PCL เตรียมจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 410 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 26.05 % ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
โดยวัตถุประสงค์ของการระดมทุนมีแผนนำไปใช้ลงทุนซื้อเครื่องมือวิเคราะห์โรคเพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาด, ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน รวมทั้งชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัท อาจมีขึ้นในอนาคต, ใช้ลงทุนขยายกิจการ ประกอบด้วย ก่อสร้างศูนย์ตรวจสุขภาพ PCT Wellness Center, ลงทุนซื้อเครื่องมือและเทคโนโลยีชั้นสูง และเงินที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ
ขณะเดียวกันบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการ ภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และหลังหักสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี