“ทรีนีตี้” ให้กรอบดัชนีหุ้นเดือนเม.ย. แนวต้าน 1640 และ 1690 จุด แนวรับ 1580 -1600 จุด และ 1550-1560 จุด เชิงกลยุทธ์ แนะขึ้นขาย-ลงซื้อตามกรอบดังกล่าว มองตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นจากการลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปก ระยะสั้นจึงเน้นกลุ่มที่อิงกับภาคบริการ เลือก โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ค้าปลีก สื่อฯ แนะ BDMS, BH, CENTEL, ERW, AU, ZEN, CRC, DOHOME, และ PLANB
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือนเมษายน 2566 ว่า ประเมินตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นในเดือนเมษายน จากตอนแรกที่เคยมองไว้ว่าหนทางค่อนข้างสะดวก เพราะมีทั้งปัจจัยผลักดันเม็ดเงิน Fund flow และปัจจัยดึงดูดในส่วนของ ธีมการเลือกตั้งบ้านเรา อย่างไรก็ดี ด้วยการประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันขนานใหญ่ของกลุ่ม OPEC+ เมื่อสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมา มองว่าหากเกิดขึ้นจริง ปัจจัยนี้อาจเป็นจุดพลิกเกมส์ที่สำคัญของการลงทุนทั่วโลกในช่วงถัดไป และจะทำให้สมมติฐานการลงทุนเดิมหลายๆอย่างจะต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ประเมินกรอบแนวต้านแรกของ SET เดือนนี้ที่ 1640 จุด ส่วนกรอบแนวต้านสำคัญที่ไม่น่าทะลุได้แก่ระดับสูงสุดเดิมของปีที่ 1690 จุด เนื่องจากเป็นระดับที่ตึงตัวในแง่ของ Valuation แล้ว ในทางกลับกัน ให้กรอบแนวรับแรกไว้ที่ 1580-1600 จุด แต่อาจต้องแบ่งไม้ในการเข้าซื้อ เผื่อดัชนีมีการ Price in ปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น โดยมองกรอบแนวรับสำคัญเดือนนี้ที่บริเวณ 1550-1560 จุด
ในเชิงกลยุทธ์ แนะขึ้นขาย-ลงซื้อตามกรอบดังกล่าว ส่วนในแง่ของกลุ่มหุ้นนั้น จากความเสี่ยงทางด้านต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง และการเข้มงวดนโยบายการเงินในช่วงถัดไป แต่ในระยะสั้นอาจมีธีมการเลือกตั้งช่วยหนุนภาคการบริโภคภายในอยู่ได้บ้าง จึงขอโฟกัสไปยังกลุ่มบริการเป็นหลัก เนื่องจากดูแล้วค่อนข้างปลอดภัยที่สุดจากเหตุการณ์ต่างๆตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ค้าปลีก สื่อฯเป็นต้น โดยมีหุ้นที่แนะนำ ได้แก่ BDMS, BH, CENTEL, ERW, AU, ZEN, CRC, DOHOME, และ PLANB
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม จับตาการตอบรับเชิงบวกในระยะสั้นของราคาน้ำมันดิบ หลังซาอุฯและประเทศสมาชิกในกลุ่ม OPEC+ ประกาศหั่นกำลังการผลิตน้ำมันรวมกันราว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นสัดส่วนของซาอุฯ เอง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน และจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งเมื่อมารวมกับการลดกำลังการผลิตเดิมของรัสเซียที่ระดับ 5 แสนบาร์เรลต่อวันที่มีการต่ออายุเพิ่มเติมออกไปอีกจนกระทั่งถึงสิ้นปีนี้ จะทำให้กำลังการผลิตที่หายไปทั้งสิ้นรวมเป็น 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากเกิดขึ้นจริงจะถือว่าเป็นระดับที่มีนัยสำคัญมากต่อสมดุล Demand-Supply ในตลาดพลังงานโลกได้
นายณัฐชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สรุป 11 ผลกระทบสำคัญต้องรู้ จากการประกาศปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ ล่าสุดไว้ดังต่อไปนี้ 1. เป็น Sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อกลุ่ม Commodity เช่นกลุ่ม E&P และ Refinery 2. กลุ่ม Anti-commodity พลิกกลับมามีความเสี่ยงขึ้นมาทันที แนะหลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะสั้น เช่น กลุ่ม Utilities 3. เพิ่มความเสี่ยงของแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลกและเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะนำมาสู่ความเสี่ยง Stagflation ที่มากขึ้น 4. เพิ่มความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในโหมด Higher for Longer 5. เพิ่มความเสี่ยงต่อปรากฏการณ์ PE contraction 6. เพิ่มความเสี่ยงต่อการลงทุนในพันธบัตร จากการที่ Yield มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง 7.ลดความน่าสนใจของตลาดหุ้นลง ผ่านมาตรวัด Earning yield gap ที่ปรับลดลง 8. เพิ่มความเสี่ยงต่อหุ้นกลุ่ม Growth และ Technology 9. เพิ่มความเสี่ยงต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้าน้ำมันดิบของไทย 10. เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น และ 11. เพิ่มความเสี่ยงด้านอ่อนค่าของเงินบาท
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือนเมษายน 2566 ว่า ประเมินตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นในเดือนเมษายน จากตอนแรกที่เคยมองไว้ว่าหนทางค่อนข้างสะดวก เพราะมีทั้งปัจจัยผลักดันเม็ดเงิน Fund flow และปัจจัยดึงดูดในส่วนของ ธีมการเลือกตั้งบ้านเรา อย่างไรก็ดี ด้วยการประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันขนานใหญ่ของกลุ่ม OPEC+ เมื่อสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมา มองว่าหากเกิดขึ้นจริง ปัจจัยนี้อาจเป็นจุดพลิกเกมส์ที่สำคัญของการลงทุนทั่วโลกในช่วงถัดไป และจะทำให้สมมติฐานการลงทุนเดิมหลายๆอย่างจะต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ประเมินกรอบแนวต้านแรกของ SET เดือนนี้ที่ 1640 จุด ส่วนกรอบแนวต้านสำคัญที่ไม่น่าทะลุได้แก่ระดับสูงสุดเดิมของปีที่ 1690 จุด เนื่องจากเป็นระดับที่ตึงตัวในแง่ของ Valuation แล้ว ในทางกลับกัน ให้กรอบแนวรับแรกไว้ที่ 1580-1600 จุด แต่อาจต้องแบ่งไม้ในการเข้าซื้อ เผื่อดัชนีมีการ Price in ปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น โดยมองกรอบแนวรับสำคัญเดือนนี้ที่บริเวณ 1550-1560 จุด
ในเชิงกลยุทธ์ แนะขึ้นขาย-ลงซื้อตามกรอบดังกล่าว ส่วนในแง่ของกลุ่มหุ้นนั้น จากความเสี่ยงทางด้านต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง และการเข้มงวดนโยบายการเงินในช่วงถัดไป แต่ในระยะสั้นอาจมีธีมการเลือกตั้งช่วยหนุนภาคการบริโภคภายในอยู่ได้บ้าง จึงขอโฟกัสไปยังกลุ่มบริการเป็นหลัก เนื่องจากดูแล้วค่อนข้างปลอดภัยที่สุดจากเหตุการณ์ต่างๆตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ค้าปลีก สื่อฯเป็นต้น โดยมีหุ้นที่แนะนำ ได้แก่ BDMS, BH, CENTEL, ERW, AU, ZEN, CRC, DOHOME, และ PLANB
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม จับตาการตอบรับเชิงบวกในระยะสั้นของราคาน้ำมันดิบ หลังซาอุฯและประเทศสมาชิกในกลุ่ม OPEC+ ประกาศหั่นกำลังการผลิตน้ำมันรวมกันราว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นสัดส่วนของซาอุฯ เอง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน และจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งเมื่อมารวมกับการลดกำลังการผลิตเดิมของรัสเซียที่ระดับ 5 แสนบาร์เรลต่อวันที่มีการต่ออายุเพิ่มเติมออกไปอีกจนกระทั่งถึงสิ้นปีนี้ จะทำให้กำลังการผลิตที่หายไปทั้งสิ้นรวมเป็น 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากเกิดขึ้นจริงจะถือว่าเป็นระดับที่มีนัยสำคัญมากต่อสมดุล Demand-Supply ในตลาดพลังงานโลกได้
นายณัฐชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สรุป 11 ผลกระทบสำคัญต้องรู้ จากการประกาศปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ ล่าสุดไว้ดังต่อไปนี้ 1. เป็น Sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อกลุ่ม Commodity เช่นกลุ่ม E&P และ Refinery 2. กลุ่ม Anti-commodity พลิกกลับมามีความเสี่ยงขึ้นมาทันที แนะหลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะสั้น เช่น กลุ่ม Utilities 3. เพิ่มความเสี่ยงของแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลกและเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะนำมาสู่ความเสี่ยง Stagflation ที่มากขึ้น 4. เพิ่มความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในโหมด Higher for Longer 5. เพิ่มความเสี่ยงต่อปรากฏการณ์ PE contraction 6. เพิ่มความเสี่ยงต่อการลงทุนในพันธบัตร จากการที่ Yield มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง 7.ลดความน่าสนใจของตลาดหุ้นลง ผ่านมาตรวัด Earning yield gap ที่ปรับลดลง 8. เพิ่มความเสี่ยงต่อหุ้นกลุ่ม Growth และ Technology 9. เพิ่มความเสี่ยงต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้าน้ำมันดิบของไทย 10. เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น และ 11. เพิ่มความเสี่ยงด้านอ่อนค่าของเงินบาท