บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) มาตามนัดชนะการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 5 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น 125.4 เมกะวัตต์
นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (“WHAUP”) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ระยะแรก (เฟส 1) สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) จำนวน 5 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง (installed capacity) ตามสัดส่วนการถือหุ้น 125.4 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการที่ WHAUP ถือหุ้น 100% จำนวน 3 โครงการ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 59.8 เมกะวัตต์ และโครงการที่ WHAUP ร่วมลงทุนกับพันธมิตรอีก 2 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น จำนวน 65.6 MW
นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าที่ผ่านการคัดเลือกจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในครั้งนี้ เป็นโครงการ Solar Farm ทั้งหมด แบ่งเป็น Solar Farm ปกติ 4 โครงการ และอีก 1 โครงการเป็น Solar Farm ที่มีการใช้ระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS ) ร่วมด้วย โดยทั้ง 5 โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อาทิ จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ ราชบุรี และกาญจนบุรี และมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในช่วงปี 2572 – 2573
ทั้งนี้การลงทุนพัฒนาโรงงานไฟฟ้าพลังงงานหมุนเวียนดังกล่าวยังเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านการลงทุนในธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดการเติบโตและสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยเน้นการใช้นวัตกรรมโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งลูกค้า ชุมชน และสังคม สอดคล้องกับเจตนารมย์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (“WHAUP”) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ระยะแรก (เฟส 1) สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) จำนวน 5 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง (installed capacity) ตามสัดส่วนการถือหุ้น 125.4 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการที่ WHAUP ถือหุ้น 100% จำนวน 3 โครงการ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 59.8 เมกะวัตต์ และโครงการที่ WHAUP ร่วมลงทุนกับพันธมิตรอีก 2 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น จำนวน 65.6 MW
นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าที่ผ่านการคัดเลือกจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในครั้งนี้ เป็นโครงการ Solar Farm ทั้งหมด แบ่งเป็น Solar Farm ปกติ 4 โครงการ และอีก 1 โครงการเป็น Solar Farm ที่มีการใช้ระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS ) ร่วมด้วย โดยทั้ง 5 โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อาทิ จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ ราชบุรี และกาญจนบุรี และมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในช่วงปี 2572 – 2573
ทั้งนี้การลงทุนพัฒนาโรงงานไฟฟ้าพลังงงานหมุนเวียนดังกล่าวยังเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านการลงทุนในธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดการเติบโตและสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยเน้นการใช้นวัตกรรมโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งลูกค้า ชุมชน และสังคม สอดคล้องกับเจตนารมย์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล