บล.ฟินันเซีย ไซรัส เผยบทวิเคราะห์กรณีมีข่าวกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างปฏิรูปโครงสร้างภาษี เล็งทบทวนภาษีเครื่องดื่ม เบียร์ บุหรี่ สิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาปรับปรุงแผนการเก็บภาษีใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากโครงสร้างเดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2017 โดยโครงสร้างใหม่จะนำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม มาใช้พิจารณา เช่น
เครื่องทำโซดาที่สามารถกดได้เอง ควรเสียภาษี แต่ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ชัดเจน จึงยังไม่สามารถคิดอัตราภาษีได้
เครื่องดื่มเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 0% ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 11% ของราคาขายปลีก ยังต่ำกว่าเครื่องดื่มทั่วไป ซึ่งกรมสรรพสามิตมองว่าไม่เท่าเทียม จึงอยู่ระหว่างทบทวน
เครื่องดื่มเติมสารอาหาร (Functional Drink) ปัจจุบันถูกจัดเก็บภาษีในอัตรา 3%-10% (ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำผลไม้) ต่ำกว่าอัตราภาษีเครื่องดื่มเฉลี่ยที่ 14% (โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ 14%, ส่วนน้ำผัก ผลไม้ ถูกเก็บ 0%-10% ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของผลไม้)
ความเห็น FSSIA ต่อกลุ่มเครื่องดื่ม
หากมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต Functional Drink ขึ้นจากปัจจุบันที่ 3%-10% จะกระทบต่อรายได้ที่ขายในประเทศ ได้แก่ SAPPE (13% ของรายได้รวม) รองมาคือ OSP (10%), ICHI (6.3%) และ CBG (น้อยกว่า 5%) ส่วน TACC ไม่ถูกกระทบ เพราะปัจจุบันเครื่องดื่มผงไม่ถูกเก็บภาษีสรรพสามิต
SAPPE จะกระทบ Beauti Drink, BLUE และ Aloe Vera สัดส่วนรายได้ 8% / 3.5% / 1.4% ของรายได้รวม รวมเป็น 13% ของรายได้รวม ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 3% สำหรับ Beauti Drink และ Aloe Vera ส่วน BLUE ถูกเก็บในอัตรา 10%
OSP จะกระทบในส่วนของ C-vitt ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว 10% โดยปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 3%
ICHI คาดกระทบในส่วนของรายได้ Non-tea ส่วนใหญ่เป็นน้ำด่าง และ Vitamin Water ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว 6.3% ของรายได้รวม ส่วนรายได้หลักคือ ชาพร้อมดื่ม ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 14% อยู่แล้ว
ส่วน CBG คาดกระทบ C-lock สัดส่วนรายได้น่าจะต่ำกว่า 5% ของรายได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ยังต้องติดตามต่อไปว่าโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
กรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาปรับปรุงแผนการเก็บภาษีใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากโครงสร้างเดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2017 โดยโครงสร้างใหม่จะนำประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม มาใช้พิจารณา เช่น
เครื่องทำโซดาที่สามารถกดได้เอง ควรเสียภาษี แต่ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ชัดเจน จึงยังไม่สามารถคิดอัตราภาษีได้
เครื่องดื่มเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 0% ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 11% ของราคาขายปลีก ยังต่ำกว่าเครื่องดื่มทั่วไป ซึ่งกรมสรรพสามิตมองว่าไม่เท่าเทียม จึงอยู่ระหว่างทบทวน
เครื่องดื่มเติมสารอาหาร (Functional Drink) ปัจจุบันถูกจัดเก็บภาษีในอัตรา 3%-10% (ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำผลไม้) ต่ำกว่าอัตราภาษีเครื่องดื่มเฉลี่ยที่ 14% (โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ 14%, ส่วนน้ำผัก ผลไม้ ถูกเก็บ 0%-10% ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของผลไม้)
ความเห็น FSSIA ต่อกลุ่มเครื่องดื่ม
หากมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต Functional Drink ขึ้นจากปัจจุบันที่ 3%-10% จะกระทบต่อรายได้ที่ขายในประเทศ ได้แก่ SAPPE (13% ของรายได้รวม) รองมาคือ OSP (10%), ICHI (6.3%) และ CBG (น้อยกว่า 5%) ส่วน TACC ไม่ถูกกระทบ เพราะปัจจุบันเครื่องดื่มผงไม่ถูกเก็บภาษีสรรพสามิต
SAPPE จะกระทบ Beauti Drink, BLUE และ Aloe Vera สัดส่วนรายได้ 8% / 3.5% / 1.4% ของรายได้รวม รวมเป็น 13% ของรายได้รวม ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 3% สำหรับ Beauti Drink และ Aloe Vera ส่วน BLUE ถูกเก็บในอัตรา 10%
OSP จะกระทบในส่วนของ C-vitt ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว 10% โดยปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 3%
ICHI คาดกระทบในส่วนของรายได้ Non-tea ส่วนใหญ่เป็นน้ำด่าง และ Vitamin Water ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว 6.3% ของรายได้รวม ส่วนรายได้หลักคือ ชาพร้อมดื่ม ปัจจุบันถูกเก็บภาษีในอัตรา 14% อยู่แล้ว
ส่วน CBG คาดกระทบ C-lock สัดส่วนรายได้น่าจะต่ำกว่า 5% ของรายได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ยังต้องติดตามต่อไปว่าโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร