Wealth Sharing
หุ้นใหญ่ SFP ประกาศทำเทนเดอร์ฯ ตั้งโต๊ะรับซื้อ 20 เม.ย - 27 มิ.ย. 66 ก่อนเพิกถอนออกจากตลาดฯ
19 เมษายน 2566
บริษัท อาหารสยาม จํากัด (มหาชน) (SFP) เปิดเผยว่า บริษัท พรรณธิอร จํากัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ ในสัดส่วน 74.58% ได้ยื่นทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจำนวน 5.33 ล้านหุ้น หรือ 25.42% ในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 254.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ประมาณ 1,357.10 ล้านบาท เพื่อเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
โดยแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย เป็นผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อ กำหนดระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2566
สำหรับวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มขีดควำมสำมำรถในกำรบริหำรจัดกำร SFP ให้มีประสิทธิภำพ และเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการ 2) เนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณการซื้อขายหุ้นของ SFP ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีไม่มากนัก จึงเห็นว่าการทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของ SFP โดยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการขายหุ้นของ SFP และให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถขายหุ้นได้ในราคาที่เหมาะสม
3) การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ SFP จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน จะทำให้สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการมากยิ่งขึ้น และช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ของ SFP ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารกิจการและการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
4) การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ SFP จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน จะทำให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่าย และลดภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ SFP ต้องปฏิบัติตามในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย เป็นผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อ กำหนดระยะเวลารับซื้อ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2566
สำหรับวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเพิ่มขีดควำมสำมำรถในกำรบริหำรจัดกำร SFP ให้มีประสิทธิภำพ และเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการ 2) เนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณการซื้อขายหุ้นของ SFP ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีไม่มากนัก จึงเห็นว่าการทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของ SFP โดยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการขายหุ้นของ SFP และให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถขายหุ้นได้ในราคาที่เหมาะสม
3) การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ SFP จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน จะทำให้สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการกิจการมากยิ่งขึ้น และช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ของ SFP ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารกิจการและการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
4) การเพิกถอนหลักทรัพย์ของ SFP จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน จะทำให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่าย และลดภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ SFP ต้องปฏิบัติตามในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ