บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ยังแกว่งตัว Sideway แนะจับตาเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุม 2-3 พ.ค. นี้ ส่วนปัจจัยในประเทศตัวเลขงบการเงินกลุ่มแบงก์ออกมาดี บวกแนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเติบโตดี ให้กรอบดัชนี 1,520-1,580 จุด แนะลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการระบาดของไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ XBB.1.16 ได้แก่ BCH, CHG, VIBHA และ EKH
นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ยังแกว่งตัว Sideway โดยนักลงทุนจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในการประชุม FED ในวันที่ 2-3 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% และให้น้ำหนักเพียง 10% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% หลังจากที่ทางสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 5,000 ราย สู่ระดับ 245,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 240,000 ราย
ขณะที่ปัจจัยในประเทศมีแรงหนุนจากผลประกอบการกลุ่มธนาคารที่ออกดี ประกอบกับทางธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ประเมินเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังมีการเติบโตที่ดี โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากรัฐบาลใหม่ที่ออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยที่ชัดเจนมากขึ้น สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินว่าภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่าทางกระทรวงการคลังปรับลดประมาณการ GDP ประเทศไทยปี 66 เหลือโต 3.6% จาก 3.8% จึงคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ระดับ 1,520-1,580 จุด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาในประเทศ อาทิ สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค วันที่ 28 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย วันที่ 3 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงข่าว "ดัชนีเศรษฐกิจค้า" วันที่ 14 พ.ค. กำหนดเลือกตั้ง และวันที่ 31 พ.ค. กำหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566
ส่วนปัจจัยต่างประเทศ วันนี้ (25 เม.ย.) สหรัฐ รายงานราคาบ้านเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. และบ้านใหม่เดือนมี.ค. วันที่ 26 เม.ย. สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ วันที่ 27 เม.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลข GDP 1Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนมี.ค., วันที่ 28 เม.ย. อียู รายงาน GDP 1Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) และวันที่ 2-3 พ.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ดังนั้นแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการระบาดของไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ XBB.1.16 ได้แก่ BCH, CHG, VIBHA และ EKH
ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินภาพรวมราคาทองคำในสัปดาห์นี้สัปดาห์นี้จับตาประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อส่วนบุคคล Core PCE มองอ่อนตัวลง สอดคล้องกับดัชนีเงินเฟ้อเดือนมีนาคม ขณะที่แนวโน้มตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มอ่อนตัวลงต่อเนื่อง โดยทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นเป็นแรงหนุนกับราคาทองคำ
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าราคาทองคำยังสามารถทรงตัวได้ เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นกดดันเศรษฐกิจสหรัฐทำให้เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง มองทองคำแกว่งตัวในกรอบ 1,975-2,030$/oz คำแนะนำซื้อขายตามกรอบที่ให้ไว้
นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ยังแกว่งตัว Sideway โดยนักลงทุนจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในการประชุม FED ในวันที่ 2-3 พ.ค.นี้ ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 90% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% และให้น้ำหนักเพียง 10% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% หลังจากที่ทางสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 5,000 ราย สู่ระดับ 245,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 240,000 ราย
ขณะที่ปัจจัยในประเทศมีแรงหนุนจากผลประกอบการกลุ่มธนาคารที่ออกดี ประกอบกับทางธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ประเมินเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังมีการเติบโตที่ดี โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากรัฐบาลใหม่ที่ออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยที่ชัดเจนมากขึ้น สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินว่าภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของประชาชน แม้ว่าทางกระทรวงการคลังปรับลดประมาณการ GDP ประเทศไทยปี 66 เหลือโต 3.6% จาก 3.8% จึงคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ระดับ 1,520-1,580 จุด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตาในประเทศ อาทิ สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค วันที่ 28 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย วันที่ 3 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงข่าว "ดัชนีเศรษฐกิจค้า" วันที่ 14 พ.ค. กำหนดเลือกตั้ง และวันที่ 31 พ.ค. กำหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566
ส่วนปัจจัยต่างประเทศ วันนี้ (25 เม.ย.) สหรัฐ รายงานราคาบ้านเดือนก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. และบ้านใหม่เดือนมี.ค. วันที่ 26 เม.ย. สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ วันที่ 27 เม.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลข GDP 1Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนมี.ค., วันที่ 28 เม.ย. อียู รายงาน GDP 1Q66 (ประมาณการเบื้องต้น) และวันที่ 2-3 พ.ค. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ดังนั้นแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการระบาดของไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ XBB.1.16 ได้แก่ BCH, CHG, VIBHA และ EKH
ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก ประเมินภาพรวมราคาทองคำในสัปดาห์นี้สัปดาห์นี้จับตาประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อส่วนบุคคล Core PCE มองอ่อนตัวลง สอดคล้องกับดัชนีเงินเฟ้อเดือนมีนาคม ขณะที่แนวโน้มตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มอ่อนตัวลงต่อเนื่อง โดยทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นเป็นแรงหนุนกับราคาทองคำ
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าราคาทองคำยังสามารถทรงตัวได้ เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นกดดันเศรษฐกิจสหรัฐทำให้เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง มองทองคำแกว่งตัวในกรอบ 1,975-2,030$/oz คำแนะนำซื้อขายตามกรอบที่ให้ไว้