จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : พาณิชย์ผลักดัน FTA เปิดตลาดเนื้อไก่ กระตุ้นยอดขาย TFG พุ่งทำสถิติ
28 เมษายน 2566
พาณิชย์ผลักดันประเทศคู่ค้าเปิดตลาดสินค้าไก่ ผ่านการทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำตลาดในต่างประเทศของ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ที่ตั้งเป้าปี 66 ขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การส่งออกสินค้าของไทยไปในต่างประเทศ เป็นปัจจัยที่จะช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย เติบโตไม่ต่ำกว่า 3 % กระทรวงพาณิชย์จึงได้เร่งเดินหน้าผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดสินค้าไก่ให้ไทยเพิ่มเติมผ่านการทบทวนความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสรุปผล FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจา และการเปิดเจรจา FTA ฉบับใหม่ๆ อาทิ สมาคมการค้าเสรียุโรป สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป เพื่อสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าของไทยในตลาดโลกอย่างยั่งยืน
ในปีที่ผ่านมาการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์นับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ โดยไทยครองตำแหน่งผู้ส่งออกอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิลและสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2565 ไทยมีมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดโลกสูงถึง 4,074 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25% โดยเป็นการส่งออกไปยังตลาดที่มีความตกลงการค้าเสรี (FTA) มูลค่า 2,871.1 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.9% มีสัดส่วนถึง 70% ของการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
โดยตลาดคู่ FTA ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ ญี่ปุ่น 1,882.3 ล้านดอลลาร์ (+10.2%) จีน 382.5 ล้านดอลลาร์ (+15.1%) มาเลเซีย 165.4 ล้านดอลลาร์ (+83.4%) สิงคโปร์ 127.4 ล้านดอลลาร์ (+37.6%) เกาหลีใต้ 183.1 ล้านดอลลาร์ (+40%) และกัมพูชา 17.8 ล้านดอลลาร์ (+20.3%)
สาเหตุที่สินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไทยเป็นที่นิยมเนื่องจากได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน เทคโนโลยีการผลิตอาหารและแปรรูปที่ทันสมัย มีระบบฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้ง FTA ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ทำให้การส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นคู่ค้า FTA ได้แก่ อาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย และบรูไน) จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ทั้งไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ส่วนอีก 8 ประเทศ คือ อาเซียน 4 ประเทศ (กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ สปป.ลาว) ยังคงเก็บภาษีนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์บางรายการในอัตรา 5%, ญี่ปุ่นเก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง อัตรา 8.5% และไก่แปรรูป ในอัตรา 3%, เกาหลีใต้ เก็บภาษีเนื้อไก่ต๊อก ในอัตรา 14.4%, อินเดีย เก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง และไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในอัตรา 30-100% และเปรู เก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง และไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในอัตรา 17-20%
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการลดภาษีนำเข้าจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้แก่ กัมพูชา ทยอยลดภาษีไก่แปรรูปเหลือศูนย์ในปี 2579 และไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในปี 2584, เวียดนาม ทยอยลดภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูปเหลือศูนย์ ในปี 2579 และเกาหลีใต้ ลดภาษีเนื้อไก่ต๊อกเหลือศูนย์ ในปี 2579
แนวทางการเปิดตลาดต่างประเทศนับเป็นเป้าหมายของบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ในปี 2566 นี้ ซึ่ง “เพชร นันทวิสัย” ประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการ TFG กล่าวว่า ปี 2566 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 15% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปี 65 ผลจากขยายตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ส่วนในประเทศ บริษัทจะใช้โมเดลธุรกิจค้าปลีกภายใต้แบรนด์ ร้านไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต หวังเพิ่มมาร์จิ้น มีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 400 สาขา จากสิ้นปี 65 มีจำนวน 220 สาขา พร้อมกับ เตรียมงบลงทุน เพื่อรองรับแผนขยาย โรงงานผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงหมูทั้งในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม รองรับดีมานด์ลูกค้า
การส่งออกสินค้าของไทยไปในต่างประเทศ เป็นปัจจัยที่จะช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย เติบโตไม่ต่ำกว่า 3 % กระทรวงพาณิชย์จึงได้เร่งเดินหน้าผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดสินค้าไก่ให้ไทยเพิ่มเติมผ่านการทบทวนความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสรุปผล FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจา และการเปิดเจรจา FTA ฉบับใหม่ๆ อาทิ สมาคมการค้าเสรียุโรป สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป เพื่อสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าของไทยในตลาดโลกอย่างยั่งยืน
ในปีที่ผ่านมาการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์นับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ โดยไทยครองตำแหน่งผู้ส่งออกอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิลและสหรัฐฯ ซึ่งในปี 2565 ไทยมีมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดโลกสูงถึง 4,074 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25% โดยเป็นการส่งออกไปยังตลาดที่มีความตกลงการค้าเสรี (FTA) มูลค่า 2,871.1 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.9% มีสัดส่วนถึง 70% ของการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
โดยตลาดคู่ FTA ที่เติบโตได้ดี ได้แก่ ญี่ปุ่น 1,882.3 ล้านดอลลาร์ (+10.2%) จีน 382.5 ล้านดอลลาร์ (+15.1%) มาเลเซีย 165.4 ล้านดอลลาร์ (+83.4%) สิงคโปร์ 127.4 ล้านดอลลาร์ (+37.6%) เกาหลีใต้ 183.1 ล้านดอลลาร์ (+40%) และกัมพูชา 17.8 ล้านดอลลาร์ (+20.3%)
สาเหตุที่สินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไทยเป็นที่นิยมเนื่องจากได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน เทคโนโลยีการผลิตอาหารและแปรรูปที่ทันสมัย มีระบบฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้ง FTA ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบและเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ทำให้การส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นคู่ค้า FTA ได้แก่ อาเซียน 5 ประเทศ (สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย และบรูไน) จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ทั้งไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ส่วนอีก 8 ประเทศ คือ อาเซียน 4 ประเทศ (กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ สปป.ลาว) ยังคงเก็บภาษีนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์บางรายการในอัตรา 5%, ญี่ปุ่นเก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง อัตรา 8.5% และไก่แปรรูป ในอัตรา 3%, เกาหลีใต้ เก็บภาษีเนื้อไก่ต๊อก ในอัตรา 14.4%, อินเดีย เก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง และไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในอัตรา 30-100% และเปรู เก็บภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง และไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในอัตรา 17-20%
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการลดภาษีนำเข้าจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้แก่ กัมพูชา ทยอยลดภาษีไก่แปรรูปเหลือศูนย์ในปี 2579 และไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง ในปี 2584, เวียดนาม ทยอยลดภาษีไก่สดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง ไก่ชิ้นเนื้อแช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูปเหลือศูนย์ ในปี 2579 และเกาหลีใต้ ลดภาษีเนื้อไก่ต๊อกเหลือศูนย์ ในปี 2579
แนวทางการเปิดตลาดต่างประเทศนับเป็นเป้าหมายของบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ในปี 2566 นี้ ซึ่ง “เพชร นันทวิสัย” ประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการ TFG กล่าวว่า ปี 2566 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 15% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปี 65 ผลจากขยายตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ส่วนในประเทศ บริษัทจะใช้โมเดลธุรกิจค้าปลีกภายใต้แบรนด์ ร้านไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต หวังเพิ่มมาร์จิ้น มีแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 400 สาขา จากสิ้นปี 65 มีจำนวน 220 สาขา พร้อมกับ เตรียมงบลงทุน เพื่อรองรับแผนขยาย โรงงานผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงหมูทั้งในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม รองรับดีมานด์ลูกค้า