จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SUPER บุกตลาดพลังงานในเวียดนาม “ไฟฟ้าจากขยะ- Green Hydrogen”
02 พฤษภาคม 2566
บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) เดินหน้าบุกตลาดโครงการผลิตไฟฟ้าในเวียดนาม โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากขยะ และโครงการ Green Hydrogen Plant หนุนรายได้ปี 66 เติบโต 10-15%
ต้องยอมรับว่าประเทศเวียดนามเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุนไทยในสาขาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน โดยเวียดนามมีเป้าหมายจะประเทศที่มี Net Zero ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ส่งผลให้เวียดนามต้องปรับแผนโครงสร้างแหล่งที่มาของพลังงาน โดยชูพลังงานทดแทนและลดการผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหิน
ดังนั้นแม้รัฐบาลเวียดนามจะยังไม่มีการประกาศแผนพัฒนาไฟฟ้าฉบับที่ 8 หรือที่นักลงทุนรู้จักอย่างแพร่หลายในนาม PDP8 ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เวียดนามก็ยังเป็นแหล่งดึงดูดความสนใจการลงทุนของไทย โดยล่าสุด “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) ได้เข้า พบนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เพื่อหารือการขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมเพิ่ม
โดยผู้บริหาร SUPER ยืนยันถึงจุดยืนและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเวียดนามให้มากขึ้น ผ่านลงทุนระยะยาวของบริษัท ซึ่งได้ดำเนินการให้เห็นอย่างประจักษ์แล้ว อีกทั้งยังสนใจลงทุนเพิ่มในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลม รวมถึงเตรียมแผนการลงทุนใหม่ๆของกลุ่มฯในโครงการด้านการบริหารจัดการขยะชุมชนและผลิตไฟฟ้าจากขยะ การพัฒนาสวนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในเขตจังหวัดแม่โขงเดลต้า รวมถึงความสนใจของบริษัทในการพิจารณาการลงทุนในโครงการ Green Hydrogen Plant ในจังหวัดบักเลียว
ซึ่งปัจจุบันเวียดนามกำลังพิจารณาแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ 2021 2030" หรือ PDP8 ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์การมุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี 2045 ซึ่งต้องเร่งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท ทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลฯลฯ เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกเพื่อร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่ให้สัตยาบันไว้ในการประชุม COP26 และยังเข้าร่วมในการจัดตั้งภาคีหุ้นส่วนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเท่าเทียม (JETP)
โดยปัจจุบัน กลุ่ม SUPER ได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศไทย และประเทศเวียดนามแล้วรวมกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเฉพาะการลงทุนในเวียดนามมีโครงการที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 10 โครงการ รวมกำลังการผลิตตามสัญญา PPA ที่ 887 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการพลังงานลมอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอีก 4 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 421 เมกะวัตต์
ส่วนภาพรวมบริษัทมีแผนขยายโรงไฟฟ้าทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เปิดดำเนินงานแล้ว 1,608.32 เมกะวัตต์ จำนวน 133 โครงการ และตั้งเป้าหมายอีก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 68 หรือมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มที่ระดับ 2,600 เมกะวัตต์ มาจาก โรงไฟฟ้าจากขยะ โซลาร์รูฟท็อป โครงการการขยายงานสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชน (Private PPA) รวมทั้งโครงการ PDP ในประเทศและในเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะที่ปี 66 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% จากปีก่อน
ต้องยอมรับว่าประเทศเวียดนามเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุนไทยในสาขาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน โดยเวียดนามมีเป้าหมายจะประเทศที่มี Net Zero ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ส่งผลให้เวียดนามต้องปรับแผนโครงสร้างแหล่งที่มาของพลังงาน โดยชูพลังงานทดแทนและลดการผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนจากถ่านหิน
ดังนั้นแม้รัฐบาลเวียดนามจะยังไม่มีการประกาศแผนพัฒนาไฟฟ้าฉบับที่ 8 หรือที่นักลงทุนรู้จักอย่างแพร่หลายในนาม PDP8 ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เวียดนามก็ยังเป็นแหล่งดึงดูดความสนใจการลงทุนของไทย โดยล่าสุด “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) ได้เข้า พบนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เพื่อหารือการขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมเพิ่ม
โดยผู้บริหาร SUPER ยืนยันถึงจุดยืนและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเวียดนามให้มากขึ้น ผ่านลงทุนระยะยาวของบริษัท ซึ่งได้ดำเนินการให้เห็นอย่างประจักษ์แล้ว อีกทั้งยังสนใจลงทุนเพิ่มในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลม รวมถึงเตรียมแผนการลงทุนใหม่ๆของกลุ่มฯในโครงการด้านการบริหารจัดการขยะชุมชนและผลิตไฟฟ้าจากขยะ การพัฒนาสวนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในเขตจังหวัดแม่โขงเดลต้า รวมถึงความสนใจของบริษัทในการพิจารณาการลงทุนในโครงการ Green Hydrogen Plant ในจังหวัดบักเลียว
ซึ่งปัจจุบันเวียดนามกำลังพิจารณาแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ 2021 2030" หรือ PDP8 ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์การมุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี 2045 ซึ่งต้องเร่งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท ทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลฯลฯ เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกเพื่อร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามที่ให้สัตยาบันไว้ในการประชุม COP26 และยังเข้าร่วมในการจัดตั้งภาคีหุ้นส่วนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเท่าเทียม (JETP)
โดยปัจจุบัน กลุ่ม SUPER ได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศไทย และประเทศเวียดนามแล้วรวมกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเฉพาะการลงทุนในเวียดนามมีโครงการที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 10 โครงการ รวมกำลังการผลิตตามสัญญา PPA ที่ 887 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการพลังงานลมอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอีก 4 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 421 เมกะวัตต์
ส่วนภาพรวมบริษัทมีแผนขยายโรงไฟฟ้าทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เปิดดำเนินงานแล้ว 1,608.32 เมกะวัตต์ จำนวน 133 โครงการ และตั้งเป้าหมายอีก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 68 หรือมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มที่ระดับ 2,600 เมกะวัตต์ มาจาก โรงไฟฟ้าจากขยะ โซลาร์รูฟท็อป โครงการการขยายงานสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชน (Private PPA) รวมทั้งโครงการ PDP ในประเทศและในเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ขณะที่ปี 66 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% จากปีก่อน