จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “เศรษฐกิจ-ค่าการตลาดน้ำมัน” ฟื้น หนุนรายได้ PTG โตแกร่ง
03 พฤษภาคม 2566
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการระบาดของโควิด19 และการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สนับสนุนความต้องการใช้พลังงาน ดันรายได้ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ปีนี้เติบโตแข็งแกร่ง
บล.ฟิลลิป วิเคราะห์หุ้น บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) โดยคาดการณ์ว่า 1Q66 บริษัทจะพลิกกลับมากำไรอยู่ที่ 197 ลบ. เนื่องจากปริมาณการขายน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นราว 4.4% q-q และ 16.2% y-y จากการขยายสถานีบริการ และใน 1Q66 PTG ได้ขยายสถานีบริการน้ำมันอีกราว 11 สถานีทำให้มีสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด 2,160 สถานี ประกอบกับค่าการตลาดที่ปรับตัวดีขี้น ซึ่งทางฝ่ายคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.7 บาท/ลิตร จากเดิม 1.58 บาท/ลิตร ใน 4Q65 จากการปรับค่าการตลาดน้ำมันดีเซลกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งมีผลในช่วงเดิน ก.พ. 66 ส่งผลให้ คาดว่าผลการดำเนินงานโดยรวมของธุรกิจน้ำมันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง y-y และ q-q
สำหรับธุรกิจ Non-oil ทางฝ่ายคาดว่า ปริมาณการขาย LPG จะปรับตัวสูงขึ้นราว 4.1% q-q และ 35.6% y-y ในส่วนของพันธุ์ไทยมีการขยายสาขาเพิ่มอีกประมาณ 59 สาขา ซึ่ง PTG ยังคงเป้าหมายไว้ที่ 1,500 สาขา ภายในสิ้นปี2566 โดยทางบริษัทคาดว่าการเปิดสาขาใหม่จะเร่งตัวในช่วง 2H66 ขณะเดียวกันทางฝ่ายคาดว่า SG&A จะอยู่ที่ราว 1.65 บาท/ลิตร ลดลงจาก 1.67 บาท/ลิตร ใน 4Q65 เนื่องจากปริมาณการขายน้ำมัน และ LPG ที่สูงขึ้น
สอดคล้องกับมุมมองของบล.ดาโอที่ระบุว่า 1Q23E คาดกำไรฟื้นตัวเด่นจากค่าการตลาดที่ฟื้นตัวและ sales volume ที่เติบโตจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา ประเมินกำไรสุทธิ 1Q23E ที่ 281 ล้านบาท (+76% YoY, และพลิกจากขาดทุน -4 ล้านบาท ใน 4Q22) โดยประเมินปริมาณการขายน้ำมันอยู่ที่ 1.5 พันล้านลิตร (+17% YoY, +5% QoQ) โดย YoY โตเด่นจาก sales volume ที่ต่ำในปีก่อน
เนื่องจากตั้งค่าการตลาดที่สูงกว่าตลาดโดยรวม ทำให้ sales volume ตก ในขณะที่ QoQ เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการขยายสาขาเพิ่มเติม โดยค่าการตลาดคาดอยู่ที่ราว 1.75 บาท/ลิตร (+2% YoY, +9% QoQ) ฟื้นตัว หลัง กบง. ประกาศให้ค่าการตลาดกลับสู่ภาวะปกติช่วงกลาง ก.พ. 2023
นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากธุรกิจ Non-oil ซึ่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปัจจัยหลักมาจาก LPG และพันธุ์ไทยจาก Touchpoints ที่เพิ่มขึ้น 23 แห่ง และ 59 แห่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ในส่วนของ equity income คาดสามารถกลับมามีกำไรได้ราว 25 ล้านบาท (ขาดทุน -66 ล้านบาท ใน 4Q22) จากธุรกิจ Palm complex หลังราคาปาล์มปรับตัวเพิ่มขึ้น QoQ (CPO +4% QoQ)
ทั้งนี้บริษัทยังคงประมาณการกำไรปี 2023E ฟื้นตัวเด่นหลังค่าการตลาดกลับสู่ระดับปกติ เบื้องต้นบริษัทยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E ที่ 1.6 พันล้านบาท (+70% YoY) โดยคงสมมติฐานหลักค่าการตลาดอยู่ในระดับ 1.8-1.9 บาท/ลิตร และปริมาณขายน้ำมันเติบโต 3% YoY (ต่ำกว่าของบริษัทที่ตั้งเป้าปริมาณการขายโต 8-10% YoY
โดยเราอิง conservative assumption คาดว่ายอดจำหน่ายน้ำมันฟื้นตัวมามากแล้วในปี 2022 +6% YoY จากฐานต่ำ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรฐกิจกลับสู่ภาวะปกติแล้วในปี 2022 ทำให้เห็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ อย่างไรก็ตามเป็น upside หากปริมาณขายน้ำมันโตได้ดีกว่าคาด เบื้องต้นรอดูพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าว)
สำหรับราคาเป้าหมาย 18.50 บาท อิง PER 19x หรือเทียบเท่า -0.5SD ค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ Key catalyst ของหุ้นคือการฟื้นตัวของการเดินทางและเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ซึ่งทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันฟื้นตัวและแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้ค่าการตลาดกลับไปอยู่ในระดับสูง
บล.ฟิลลิป วิเคราะห์หุ้น บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) โดยคาดการณ์ว่า 1Q66 บริษัทจะพลิกกลับมากำไรอยู่ที่ 197 ลบ. เนื่องจากปริมาณการขายน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นราว 4.4% q-q และ 16.2% y-y จากการขยายสถานีบริการ และใน 1Q66 PTG ได้ขยายสถานีบริการน้ำมันอีกราว 11 สถานีทำให้มีสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด 2,160 สถานี ประกอบกับค่าการตลาดที่ปรับตัวดีขี้น ซึ่งทางฝ่ายคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.7 บาท/ลิตร จากเดิม 1.58 บาท/ลิตร ใน 4Q65 จากการปรับค่าการตลาดน้ำมันดีเซลกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งมีผลในช่วงเดิน ก.พ. 66 ส่งผลให้ คาดว่าผลการดำเนินงานโดยรวมของธุรกิจน้ำมันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง y-y และ q-q
สำหรับธุรกิจ Non-oil ทางฝ่ายคาดว่า ปริมาณการขาย LPG จะปรับตัวสูงขึ้นราว 4.1% q-q และ 35.6% y-y ในส่วนของพันธุ์ไทยมีการขยายสาขาเพิ่มอีกประมาณ 59 สาขา ซึ่ง PTG ยังคงเป้าหมายไว้ที่ 1,500 สาขา ภายในสิ้นปี2566 โดยทางบริษัทคาดว่าการเปิดสาขาใหม่จะเร่งตัวในช่วง 2H66 ขณะเดียวกันทางฝ่ายคาดว่า SG&A จะอยู่ที่ราว 1.65 บาท/ลิตร ลดลงจาก 1.67 บาท/ลิตร ใน 4Q65 เนื่องจากปริมาณการขายน้ำมัน และ LPG ที่สูงขึ้น
สอดคล้องกับมุมมองของบล.ดาโอที่ระบุว่า 1Q23E คาดกำไรฟื้นตัวเด่นจากค่าการตลาดที่ฟื้นตัวและ sales volume ที่เติบโตจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา ประเมินกำไรสุทธิ 1Q23E ที่ 281 ล้านบาท (+76% YoY, และพลิกจากขาดทุน -4 ล้านบาท ใน 4Q22) โดยประเมินปริมาณการขายน้ำมันอยู่ที่ 1.5 พันล้านลิตร (+17% YoY, +5% QoQ) โดย YoY โตเด่นจาก sales volume ที่ต่ำในปีก่อน
เนื่องจากตั้งค่าการตลาดที่สูงกว่าตลาดโดยรวม ทำให้ sales volume ตก ในขณะที่ QoQ เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการขยายสาขาเพิ่มเติม โดยค่าการตลาดคาดอยู่ที่ราว 1.75 บาท/ลิตร (+2% YoY, +9% QoQ) ฟื้นตัว หลัง กบง. ประกาศให้ค่าการตลาดกลับสู่ภาวะปกติช่วงกลาง ก.พ. 2023
นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากธุรกิจ Non-oil ซึ่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปัจจัยหลักมาจาก LPG และพันธุ์ไทยจาก Touchpoints ที่เพิ่มขึ้น 23 แห่ง และ 59 แห่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ในส่วนของ equity income คาดสามารถกลับมามีกำไรได้ราว 25 ล้านบาท (ขาดทุน -66 ล้านบาท ใน 4Q22) จากธุรกิจ Palm complex หลังราคาปาล์มปรับตัวเพิ่มขึ้น QoQ (CPO +4% QoQ)
ทั้งนี้บริษัทยังคงประมาณการกำไรปี 2023E ฟื้นตัวเด่นหลังค่าการตลาดกลับสู่ระดับปกติ เบื้องต้นบริษัทยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E ที่ 1.6 พันล้านบาท (+70% YoY) โดยคงสมมติฐานหลักค่าการตลาดอยู่ในระดับ 1.8-1.9 บาท/ลิตร และปริมาณขายน้ำมันเติบโต 3% YoY (ต่ำกว่าของบริษัทที่ตั้งเป้าปริมาณการขายโต 8-10% YoY
โดยเราอิง conservative assumption คาดว่ายอดจำหน่ายน้ำมันฟื้นตัวมามากแล้วในปี 2022 +6% YoY จากฐานต่ำ ในขณะที่กิจกรรมทางเศรฐกิจกลับสู่ภาวะปกติแล้วในปี 2022 ทำให้เห็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ อย่างไรก็ตามเป็น upside หากปริมาณขายน้ำมันโตได้ดีกว่าคาด เบื้องต้นรอดูพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าว)
สำหรับราคาเป้าหมาย 18.50 บาท อิง PER 19x หรือเทียบเท่า -0.5SD ค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปี ทั้งนี้ Key catalyst ของหุ้นคือการฟื้นตัวของการเดินทางและเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ซึ่งทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันฟื้นตัวและแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้ค่าการตลาดกลับไปอยู่ในระดับสูง