จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : OTO เกาะกระแสพลังงานสะอาด รุกธุรกิจคาร์บอนเครดิตหนุนเติบโตยั่งยืน
09 พฤษภาคม 2566
OTO เดินหน้าสู่ธุรกิจ Climate Tech รองรับกระแสรักษ์โลก ดึงผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของเมืองไทยร่วมทีม พร้อมตั้งบริษัทรองรับธุรกิจคาร์บอนเครดิต
บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) (OTO) ได้เตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจพลังงานสะอาด ที่ขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่การดึงบุคลากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการด้านพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของไทยมาร่วมงาน
โดย “คณาวุฒิ วรรทนธีรัช” ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (OTO) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติแต่งตั้งนายบัณฑิต สะเพียรชัย เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ แทนนายสุภสิทธิ์ รักกสิกร ที่ลาออก และอนุมัติแต่งตั้งนายบัณฑิต สะเพียรชัย ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2566
การแต่งตั้งนายบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และเคยบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานหมุนเวียนของเมืองไทย ทำให้มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจของ OTO ที่กำลังมุ่งสู่ Climate Tech หรือเทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุน EV Bike ลงทุน Carbon Credit และการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้าง New S Curve ผลักดันธุรกิจของบริษัทฯเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต
ขณะเดียวกันคณะกรรมการบริษัท ยังได้อนุมัติจัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท ซีซีเอส คารบ์อน เคลียร์โซลูชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิในคาร์บอนเครดิต ทำให้บริษัทจะได้รับประโยชน์ในการเพิ่มโอกาส และขยายช่องทางธุรกิจ
ทั้งนี้คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและสามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้
โดยก๊าซต่างๆ ที่ทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอน) ที่แต่ละองค์กรสามารถลดได้ต่อปี และหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้
และตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกต่างๆ ให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และหนึ่งในกลไกคือ การซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถลดก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกลงตามที่กำหนดไว้ได้
บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) (OTO) ได้เตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจพลังงานสะอาด ที่ขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่การดึงบุคลากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการด้านพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของไทยมาร่วมงาน
โดย “คณาวุฒิ วรรทนธีรัช” ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (OTO) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติแต่งตั้งนายบัณฑิต สะเพียรชัย เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ แทนนายสุภสิทธิ์ รักกสิกร ที่ลาออก และอนุมัติแต่งตั้งนายบัณฑิต สะเพียรชัย ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2566
การแต่งตั้งนายบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และเคยบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานหมุนเวียนของเมืองไทย ทำให้มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันธุรกิจของ OTO ที่กำลังมุ่งสู่ Climate Tech หรือเทคโนโลยีที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุน EV Bike ลงทุน Carbon Credit และการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้าง New S Curve ผลักดันธุรกิจของบริษัทฯเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต
ขณะเดียวกันคณะกรรมการบริษัท ยังได้อนุมัติจัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท ซีซีเอส คารบ์อน เคลียร์โซลูชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิในคาร์บอนเครดิต ทำให้บริษัทจะได้รับประโยชน์ในการเพิ่มโอกาส และขยายช่องทางธุรกิจ
ทั้งนี้คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและสามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้
โดยก๊าซต่างๆ ที่ทำให้ปฏิกิริยาเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอน) ที่แต่ละองค์กรสามารถลดได้ต่อปี และหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้
และตามข้อตกลงในพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกต่างๆ ให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และหนึ่งในกลไกคือ การซื้อขายมลพิษ หรือ คาร์บอนเครดิต กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถลดก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกลงตามที่กำหนดไว้ได้