จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SOLAR รับอานิสงส์เอลนีโญ ค่าไฟฟ้าพุ่ง-แห่ติดโซลาร์เซลล์
10 พฤษภาคม 2566
อากาศที่ร้อนจัดส่งผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นทำสถิติ หนุนการเติบโตของธุรกิจโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ และผลงานบริษัท โซลาร์ตรอน (SOLAR)
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์อากาศที่ร้อนจัดทำสถิติในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ระบุว่า สภาพอากาศร้อนจัดในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4-7 พ.ค.66 ส่งผลประชาชน มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อคลายร้อน อีกทั้งเครื่องทำความเย็นประเภทต่างๆ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมมีความต้องการใช้ปริมาณไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อทำความเย็นให้มากขึ้นตามภาวะอากาศร้อนจัดเช่นกัน
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น อาจกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนให้ปรับเพิ่มขึ้นใน 3 หมวดหลักๆ ได้แก่
1. ค่าไฟฟ้า จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ในช่วงฤดูร้อนปี 2566 ค่าไฟของครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ยของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นราว 30-50% ทำให้คาดว่าค่าไฟฟ้าของครัวเรือนเฉลี่ยในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ในปีนี้จะอยู่ที่ราว 974-1,124 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนอื่นๆ ของปีที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 871 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นไปตามค่า Ft เฉลี่ยปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมไปถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่กลับมาสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยในช่วง มี.ค.-พ.ค. 66 ปริมาณการใช้ไฟเฉลี่ยของครัวเรือนอาจเพิ่มขึ้นราว 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนอื่นๆ ของปี
นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่ต้องใช้อัตราการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติเพื่อที่จะทำงานให้ได้เท่าเดิม ส่งผลให้ครัวเรือนต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น
2. ค่าอาหาร พบว่ามักจะขยับสูงขึ้น จากผลของราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด กระทบผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงหรือเกิดการเน่าเสียได้ง่ายกว่าปกติ
3. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ คาดว่ามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อรักษาโรคที่มากับความร้อน
นอกจากนี้ รายงานของศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศ (Climate Prediction Center) แห่งองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) คาดการณ์ว่า ในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกอาจสูงขึ้นอีก จากการพลิกกลับสู่ช่วงของปรากฏการณ์เอลนีโญ และภาวะสภาพอากาศสุดขั้วนี้ก็อาจจะยาวนานต่อเนื่องมากกว่าในอดีต ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนของไทยอาจมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นอีกในช่วงปีหน้าและปีถัดๆ ไป
สถานการณ์ค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้มีการศึกษาแนวทางการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ ที่ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการติดตั้งแผง รวมทั้งสถาบันการเงินเกือบทุกแห่งก็ให้การสนับสนุนสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการติดตั้งพลังงานสะอาด เช่น
ธนาคารออมสิน ได้ออกผลิตภัณฑ์ล่าสุด "สินเชื่อ GSB Go Green" เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้งและซื้ออุปกรณ์สำหรับบุคคลธรรมดา ในภาวะที่ต้องเผชิญปัญหาค่าไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอยู่ขณะนี้ และสินเชื่อ GSB for BCG Economy เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน
ความต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อ บริษัท โซลาร์ตรอน (SOLAR) ที่ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งล่าสุด บริษัทขยายโรงงานการผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์ เพื่อขยายฐานการผลิตและรองรับการขยายตัวของตลาด และสานต่อพันธกิจที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สำคัญของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์อากาศที่ร้อนจัดทำสถิติในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ระบุว่า สภาพอากาศร้อนจัดในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 4-7 พ.ค.66 ส่งผลประชาชน มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อคลายร้อน อีกทั้งเครื่องทำความเย็นประเภทต่างๆ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมมีความต้องการใช้ปริมาณไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อทำความเย็นให้มากขึ้นตามภาวะอากาศร้อนจัดเช่นกัน
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น อาจกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนให้ปรับเพิ่มขึ้นใน 3 หมวดหลักๆ ได้แก่
1. ค่าไฟฟ้า จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ในช่วงฤดูร้อนปี 2566 ค่าไฟของครัวเรือนต่อเดือนเฉลี่ยของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นราว 30-50% ทำให้คาดว่าค่าไฟฟ้าของครัวเรือนเฉลี่ยในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ในปีนี้จะอยู่ที่ราว 974-1,124 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนอื่นๆ ของปีที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 871 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นไปตามค่า Ft เฉลี่ยปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมไปถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่กลับมาสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยในช่วง มี.ค.-พ.ค. 66 ปริมาณการใช้ไฟเฉลี่ยของครัวเรือนอาจเพิ่มขึ้นราว 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนอื่นๆ ของปี
นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่ต้องใช้อัตราการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติเพื่อที่จะทำงานให้ได้เท่าเดิม ส่งผลให้ครัวเรือนต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น
2. ค่าอาหาร พบว่ามักจะขยับสูงขึ้น จากผลของราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด กระทบผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงหรือเกิดการเน่าเสียได้ง่ายกว่าปกติ
3. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ คาดว่ามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อรักษาโรคที่มากับความร้อน
นอกจากนี้ รายงานของศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศ (Climate Prediction Center) แห่งองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) คาดการณ์ว่า ในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกอาจสูงขึ้นอีก จากการพลิกกลับสู่ช่วงของปรากฏการณ์เอลนีโญ และภาวะสภาพอากาศสุดขั้วนี้ก็อาจจะยาวนานต่อเนื่องมากกว่าในอดีต ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนของไทยอาจมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นอีกในช่วงปีหน้าและปีถัดๆ ไป
สถานการณ์ค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้มีการศึกษาแนวทางการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ ที่ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการติดตั้งแผง รวมทั้งสถาบันการเงินเกือบทุกแห่งก็ให้การสนับสนุนสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการติดตั้งพลังงานสะอาด เช่น
ธนาคารออมสิน ได้ออกผลิตภัณฑ์ล่าสุด "สินเชื่อ GSB Go Green" เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้งและซื้ออุปกรณ์สำหรับบุคคลธรรมดา ในภาวะที่ต้องเผชิญปัญหาค่าไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอยู่ขณะนี้ และสินเชื่อ GSB for BCG Economy เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน
ความต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อ บริษัท โซลาร์ตรอน (SOLAR) ที่ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งล่าสุด บริษัทขยายโรงงานการผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์ เพื่อขยายฐานการผลิตและรองรับการขยายตัวของตลาด และสานต่อพันธกิจที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สำคัญของประเทศไทยอย่างยั่งยืน