จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “รัฐบาล-เอกชน”หนุนผลิตไฟฟ้า จากพลังงานสะอาด ดันไทยเป็นกลางทางคาร์บอน
27 มกราคม 2566
กระแสการลดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด กระตุ้นให้รัฐบาลและภาคเอกชนรวมถึงบมจ. อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้า ต้องร่วมมือกันเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการจัดทำกลไกจัดหาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Utility Green Tariff แบบเจาะจงกลุ่มโรงไฟฟ้า เพื่อเป็นเครื่องมือใหม่ในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายจากบริษัทระดับโลกที่ประกอบธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนภาคเอกชนที่มีความจำเป็นต้องปรับตัวตามกติกาโลกใหม่ ที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ขณะที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ระบุถึงแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน ปี 2566 แบ่งเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยแผนพลังงานชาติ และแผนพลังงานรายสาขาใหม่ เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 มีแผนการลงทุน Grid Modernization ของประเทศฉบับแรก ปลดล็อค ปรับปรุงกฎ กติกา เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนรถ EV และสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาศักยภาพ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)
มิติที่ 2 พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า Spot LNG เร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกันนี้ยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับหน่วยงานของรัฐ การบังคับใช้เกณฑ์ด้านพลังงานสำหรับการออกแบบอาคารสร้างใหม่ (BEC) เป็นต้น
ทั้งนี้ การลงทุนทางด้านพลังงานในประเทศในปี 66 คาดว่าจะเกิดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในมิตินี้กว่า 230,000 ล้านบาท
มิติที่ 3 พลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน 200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20 ปีประมาณ 37,700 ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 630,737 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ในมิตินี้ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะ และพื้นที่ห่างไกล และที่สำคัญก็คือมาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้มีรายได้น้อย
มิติที่ 4 การพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ โดยเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน
ซึ่งพลังงานสะอาดจะมีบทบาทในสังคมสำคัญมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน ทำให้ภาคเอกชนให้ความสนใจและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้ง บมจ. อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ที่ได้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และเป็นบริษัทที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกวันที่ 22 มี.ค. 2566 และจะเซ็นสัญญาได้ในวันที่ 5 เม.ย 2566
นายยุทธ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (EP) เปิดเผยว่า บริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติในรอบแรกในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และบริษัท อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) 4 โครงการ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมในการทำงานหากได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้า
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการจัดทำกลไกจัดหาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Utility Green Tariff แบบเจาะจงกลุ่มโรงไฟฟ้า เพื่อเป็นเครื่องมือใหม่ในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายจากบริษัทระดับโลกที่ประกอบธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนภาคเอกชนที่มีความจำเป็นต้องปรับตัวตามกติกาโลกใหม่ ที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ขณะที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ระบุถึงแผนการดำเนินงานของกระทรวงพลังงาน ปี 2566 แบ่งเป็น 4 มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยแผนพลังงานชาติ และแผนพลังงานรายสาขาใหม่ เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 มีแผนการลงทุน Grid Modernization ของประเทศฉบับแรก ปลดล็อค ปรับปรุงกฎ กติกา เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนรถ EV และสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาศักยภาพ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)
มิติที่ 2 พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า Spot LNG เร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกันนี้ยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับหน่วยงานของรัฐ การบังคับใช้เกณฑ์ด้านพลังงานสำหรับการออกแบบอาคารสร้างใหม่ (BEC) เป็นต้น
ทั้งนี้ การลงทุนทางด้านพลังงานในประเทศในปี 66 คาดว่าจะเกิดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในมิตินี้กว่า 230,000 ล้านบาท
มิติที่ 3 พลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน 200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20 ปีประมาณ 37,700 ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 630,737 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ในมิตินี้ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะ และพื้นที่ห่างไกล และที่สำคัญก็คือมาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้มีรายได้น้อย
มิติที่ 4 การพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ โดยเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน
ซึ่งพลังงานสะอาดจะมีบทบาทในสังคมสำคัญมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน ทำให้ภาคเอกชนให้ความสนใจและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้ง บมจ. อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ที่ได้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และเป็นบริษัทที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกวันที่ 22 มี.ค. 2566 และจะเซ็นสัญญาได้ในวันที่ 5 เม.ย 2566
นายยุทธ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (EP) เปิดเผยว่า บริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติในรอบแรกในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และบริษัท อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) 4 โครงการ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมในการทำงานหากได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้า