Wealth Sharing
DMT สุดหรู! เปิดผลงาน Q1/66 กำไรสุทธิพุ่ง 75% ปริมาณจราจรเฉลี่ยต่อวันแตะ 107,655 คันทำนิวไฮรอบ 2 ปี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวคึกคัก มั่นใจรายได้ปีนี้โตเกิน 30%
11 พฤษภาคม 2566
บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) ฟอร์มสวย! เปิดผลงาน Q1/66 รายได้ค่าผ่านทาง เติบโต 62% หนุนกำไรสุทธิพุ่ง 75% จากงวดเดียวกันกับปีก่อน โดยมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยต่อวันรวม 107,655 คัน เพิ่มขึ้น 58% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี ฟากเอ็มดี "ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย" มั่นใจรายได้ปีนี้โตเกิน 30% หลังท่องเที่ยวฟื้นตัว คาดมีเที่ยวบินจากสายการบินนานาชาติมากขึ้น ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาใช้ อาคาร 1 สนามบินดอนเมืองเป็นจุดเชื่อมไปยังภาคต่างๆ ของประเทศ เป็นแรงส่งให้ปริมาณจราจรบนทางยกระดับดอนเมืองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (DMT) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้ค่าผ่านทาง อยู่ที่ 576.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62% และกำไรสุทธิอยู่ที่ 253.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น75% โดยมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยต่อวันรวม 107,655 คัน ปรับเพิ่มขึ้น 58%
โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 จำนวน 400 ล้านบาท มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่อยู่ในระดับที่ต่ำหรือเท่ากับ 0.13 เท่า อัตราส่วนสภาพคล่องเท่ากับ 0.89 เท่า และบริษัทฯ ยังคงมีวงเงินหมุนเวียนเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจการซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 600 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2565 : 1,000 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทฯ มีความพร้อมในการระดมทุนและศักยภาพ ในการเข้าร่วมประมูลโครงการที่ภาครัฐเปิดประมูลเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน (Public-Private Partnership) ในอีกหลายโครงการมูลค่ามากกว่าหลายหมื่นล้านบาท รวมทั้งการขยายธุรกิจอื่นๆ
"ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีการยกเลิกมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 แบบเต็มรูป ทุกกิจกรรมสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ส่งผลให้ปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 โดยสรุปภาพรวมปริมาณจราจรของทางยกระดับดอนเมือง ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เป็นปริมาณจราจรสูงที่สุดในรอบ 2 ปี อีกทั้ง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตจะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีของปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกของการระบาดของโรค COVID-19 ที่มีการล็อกดาวน์ 1 ครั้ง แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดในปี 2562 โดยปริมาณจราจรในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 67,684 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ เฉลี่ยต่อวัน 39,972 คันต่อวัน เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ที่มีปริมาณจราจรส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 62,829 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ เฉลี่ยต่อวัน 38,276 คันต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 7.7% และ 4.4% ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีปริมาณจราจรส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 40,539 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือเฉลี่ยต่อวัน 27,621 คันต่อวัน เพิ่มขึ้น 67.0% และ 44.7% ตามลำดับ" ดร.ศักดิ์ดา กล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ในปี 2566 เติบโตมากกว่า 30% จากปีก่อน โดยคาดการณ์ปริมาณการจราจรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 110,000 คันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณการจราจรเฉลี่ยอยู่ที่ 85,000 คันต่อวัน โดยจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจราจรในไตรมาส 1/2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด พบว่ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดจากความมั่นใจในการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน และประกอบกิจการ รวมถึงการเปิดภาคการศึกษา ซึ่งทำให้กิจกรรมการเดินทางนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย
อีกทั้งการติดตามการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ จากแหล่งข้อมูลภาครัฐก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน ด้านการติดตามการระบาดของ COVID-19 ภาครัฐได้มีการประกาศนโยบายที่ชัดเจนว่าการระบาดของ COVID-19 ได้ถึงระยะสิ้นสุดการระบาดแล้ว และจะไม่มีการจำกัดการเดินทาง การล็อคดาวน์อีกต่อไป เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และกลุ่มเสี่ยงก็ได้รับวัคซีนเป็นส่วนใหญ่แล้ว จึงเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างจะทยอยกลับไปสู่สภาวะปกติเหมือนก่อนการระบาด
รวมไปถึงนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะทำให้อุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง และจะทำให้ปริมาณการเดินทางโดยรวมเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินจากสายการบินนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจะมีการพิจารณาให้กลับมาใช้ อาคาร 1 สนามบินดอนเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศ เนื่องมาจากการติดตามแผนการขยายท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการแล้ว แสดงให้เห็นว่าการเดินทางด้วยอากาศยานมีแนวโน้มขยายตัวหลังจากนี้ ส่งผลให้ปริมาณจราจรบนทางยกระดับดอนเมืองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการติดตามปริมาณการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อยู่ติดกับทางยกระดับดอนเมืองนั้น พบว่า กลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นคนละกลุ่มกับผู้ใช้ทางยกระดับดอนเมือง
ทั้งนี้การใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงปัจจุบันพบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมการเดินทางเชื่อมต่อและเข้าถึงสถานี (Feeder) ยังสูงกว่าการใช้ทางยกระดับ และอยู่ในการติดตามพฤติกรรมการเดินทางโดยรอบทางยกระดับดอนเมืองของบริษัทฯ โดยรูปแบบการเดินทางโดยรถยนต์ยังคงมีความจำเป็นในระบบคมนาคมขนส่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีกทั้ง นโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการเดินทางด้วยรถยนต์ลดลงอีกด้วย
ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (DMT) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้ค่าผ่านทาง อยู่ที่ 576.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62% และกำไรสุทธิอยู่ที่ 253.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น75% โดยมีปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยต่อวันรวม 107,655 คัน ปรับเพิ่มขึ้น 58%
โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 จำนวน 400 ล้านบาท มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่อยู่ในระดับที่ต่ำหรือเท่ากับ 0.13 เท่า อัตราส่วนสภาพคล่องเท่ากับ 0.89 เท่า และบริษัทฯ ยังคงมีวงเงินหมุนเวียนเพื่อสำรองไว้ใช้ในกิจการซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 600 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2565 : 1,000 ล้านบาท) ซึ่งบริษัทฯ มีความพร้อมในการระดมทุนและศักยภาพ ในการเข้าร่วมประมูลโครงการที่ภาครัฐเปิดประมูลเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน (Public-Private Partnership) ในอีกหลายโครงการมูลค่ามากกว่าหลายหมื่นล้านบาท รวมทั้งการขยายธุรกิจอื่นๆ
"ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีการยกเลิกมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 แบบเต็มรูป ทุกกิจกรรมสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ส่งผลให้ปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 โดยสรุปภาพรวมปริมาณจราจรของทางยกระดับดอนเมือง ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เป็นปริมาณจราจรสูงที่สุดในรอบ 2 ปี อีกทั้ง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตจะเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยไตรมาสที่ 1 ปี 2566 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีของปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกของการระบาดของโรค COVID-19 ที่มีการล็อกดาวน์ 1 ครั้ง แต่ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดในปี 2562 โดยปริมาณจราจรในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 67,684 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ เฉลี่ยต่อวัน 39,972 คันต่อวัน เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ที่มีปริมาณจราจรส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 62,829 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ เฉลี่ยต่อวัน 38,276 คันต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 7.7% และ 4.4% ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีปริมาณจราจรส่วนสัมปทานเดิมเฉลี่ยต่อวัน 40,539 คันต่อวัน ส่วนสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือเฉลี่ยต่อวัน 27,621 คันต่อวัน เพิ่มขึ้น 67.0% และ 44.7% ตามลำดับ" ดร.ศักดิ์ดา กล่าว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ในปี 2566 เติบโตมากกว่า 30% จากปีก่อน โดยคาดการณ์ปริมาณการจราจรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 110,000 คันต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณการจราจรเฉลี่ยอยู่ที่ 85,000 คันต่อวัน โดยจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณจราจรในไตรมาส 1/2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด พบว่ายังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดจากความมั่นใจในการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน และประกอบกิจการ รวมถึงการเปิดภาคการศึกษา ซึ่งทำให้กิจกรรมการเดินทางนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย
อีกทั้งการติดตามการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ จากแหล่งข้อมูลภาครัฐก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน ด้านการติดตามการระบาดของ COVID-19 ภาครัฐได้มีการประกาศนโยบายที่ชัดเจนว่าการระบาดของ COVID-19 ได้ถึงระยะสิ้นสุดการระบาดแล้ว และจะไม่มีการจำกัดการเดินทาง การล็อคดาวน์อีกต่อไป เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และกลุ่มเสี่ยงก็ได้รับวัคซีนเป็นส่วนใหญ่แล้ว จึงเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ไปกิจกรรมทุกอย่างจะทยอยกลับไปสู่สภาวะปกติเหมือนก่อนการระบาด
รวมไปถึงนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะทำให้อุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง และจะทำให้ปริมาณการเดินทางโดยรวมเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินจากสายการบินนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจะมีการพิจารณาให้กลับมาใช้ อาคาร 1 สนามบินดอนเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศ เนื่องมาจากการติดตามแผนการขยายท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการแล้ว แสดงให้เห็นว่าการเดินทางด้วยอากาศยานมีแนวโน้มขยายตัวหลังจากนี้ ส่งผลให้ปริมาณจราจรบนทางยกระดับดอนเมืองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการติดตามปริมาณการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อยู่ติดกับทางยกระดับดอนเมืองนั้น พบว่า กลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นคนละกลุ่มกับผู้ใช้ทางยกระดับดอนเมือง
ทั้งนี้การใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงปัจจุบันพบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมการเดินทางเชื่อมต่อและเข้าถึงสถานี (Feeder) ยังสูงกว่าการใช้ทางยกระดับ และอยู่ในการติดตามพฤติกรรมการเดินทางโดยรอบทางยกระดับดอนเมืองของบริษัทฯ โดยรูปแบบการเดินทางโดยรถยนต์ยังคงมีความจำเป็นในระบบคมนาคมขนส่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีกทั้ง นโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการเดินทางด้วยรถยนต์ลดลงอีกด้วย