ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เผยเทคโนโลยีอวกาศ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย 3 กลุ่มหลักคือ เกษตร ขนส่ง และก่อสร้าง แนะภาครัฐสนับสนุนภาคธุรกิจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ประเมินหากยกระดับประเทศต้องลงทุนปีละ 20,000 ล้านบาท
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย(KTB) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระแส Digital Transformation ทั่วโลก มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังยุคโควิด-19 และจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจประยุกต์ใช้ Space Technology หรือเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ได้แก่ ปัญหา Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต
“Space Technology จะเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลกอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศมาเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งประเทศไทยมีการใช้แผนที่ดาวเทียมในการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม หรือตรวจจับไฟป่า ขณะที่ในหลายประเทศทั่วโลกมีการพัฒนา Space Technology และนำมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น การใช้ข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียมเพื่อวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ระบบนำทางจากดาวเทียมกับเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับสำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ การนำข้อมูลดาวเทียมมาใช้ในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางอวกาศเป็นการท่องเที่ยวในอวกาศได้”
นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า Space Technology ที่ก้าวหน้า ตอบโจทย์ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ บรรเทาผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และมีบทบาทในการช่วยภาคธุรกิจในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความโปร่งใสด้านข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
“Space Technology จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจเกษตร ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจก่อสร้าง โดยในภาคเกษตร การใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางดาวเทียม จะช่วยลดผลกระทบต่อผลผลิตข้าวจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ราว 2,354 ล้านบาทต่อปี สำหรับภาคขนส่ง การใช้เทคโนโลยีระบบนำทางจากดาวเทียมจะลดความเสียหายของผลผลิตระหว่างการขนส่งสินค้าส่งออกในกลุ่มผักและผลไม้ได้ราว 3,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ภาคก่อสร้าง สามารถนำเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีโดรน เพื่อทำการสำรวจและปรับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพก่อนดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลงราว 10-20%”
นายปราโมทย์ วัฒนานุสาร นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า หากต้องการให้ภาคธุรกิจในประเทศไทย ใช้ประโยชน์จาก Space Technology ได้อย่างเต็มที่ ภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี และสนับสนุนภาคธุรกิจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Technology ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และธุรกิจสตาร์ตอัพที่มีความเชี่ยวชาญ
“เรื่อง Space Technology เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และไทยเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากกว่าเป็นผู้นำในการลงทุน แต่ภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการลงทุนเทคโนโลยีด้านนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานตามมา และส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยประเมินว่า หากประเทศไทยมีเป้าหมายจะยกระดับไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าทาง Space Technology ในระดับกลาง ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปีจากนี้ หรือลงทุนเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท”
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย(KTB) เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระแส Digital Transformation ทั่วโลก มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังยุคโควิด-19 และจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจประยุกต์ใช้ Space Technology หรือเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ได้แก่ ปัญหา Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต
“Space Technology จะเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลกอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศมาเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งประเทศไทยมีการใช้แผนที่ดาวเทียมในการประเมินสถานการณ์น้ำท่วม หรือตรวจจับไฟป่า ขณะที่ในหลายประเทศทั่วโลกมีการพัฒนา Space Technology และนำมาใช้ในภาคธุรกิจอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น การใช้ข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียมเพื่อวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ระบบนำทางจากดาวเทียมกับเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับสำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ การนำข้อมูลดาวเทียมมาใช้ในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งทางอวกาศเป็นการท่องเที่ยวในอวกาศได้”
นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า Space Technology ที่ก้าวหน้า ตอบโจทย์ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ บรรเทาผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และมีบทบาทในการช่วยภาคธุรกิจในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความโปร่งใสด้านข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
“Space Technology จะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจเกษตร ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจก่อสร้าง โดยในภาคเกษตร การใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางดาวเทียม จะช่วยลดผลกระทบต่อผลผลิตข้าวจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ราว 2,354 ล้านบาทต่อปี สำหรับภาคขนส่ง การใช้เทคโนโลยีระบบนำทางจากดาวเทียมจะลดความเสียหายของผลผลิตระหว่างการขนส่งสินค้าส่งออกในกลุ่มผักและผลไม้ได้ราว 3,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ภาคก่อสร้าง สามารถนำเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีโดรน เพื่อทำการสำรวจและปรับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพก่อนดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลงราว 10-20%”
นายปราโมทย์ วัฒนานุสาร นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า หากต้องการให้ภาคธุรกิจในประเทศไทย ใช้ประโยชน์จาก Space Technology ได้อย่างเต็มที่ ภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี และสนับสนุนภาคธุรกิจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Technology ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และธุรกิจสตาร์ตอัพที่มีความเชี่ยวชาญ
“เรื่อง Space Technology เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และไทยเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากกว่าเป็นผู้นำในการลงทุน แต่ภาครัฐต้องมีบทบาทสำคัญในการลงทุนเทคโนโลยีด้านนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานตามมา และส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยประเมินว่า หากประเทศไทยมีเป้าหมายจะยกระดับไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าทาง Space Technology ในระดับกลาง ต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปีจากนี้ หรือลงทุนเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท”