กลุ่มบริษัทสามารถ แจ้งผลการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 1 / 2566 มีรายได้รวม 2,511 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนกว่าร้อยละ 50 ด้วยผลประกอบการรวมของทุกสายธุรกิจในเครือนับจากต้นปี 66 มีแนวโน้มการฟื้นตัวและเติบโตในทิศทางบวก
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) ชี้แจงว่ารายได้รวมของกลุ่มสามารถในไตรมาส 1 / 2566 สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างและแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ในไตรมาสนี้ บริษัทจะมีผลขาดทุนจำนวน 26 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ของเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกในต่างประเทศ จำนวน 54 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาผลงานที่ผ่านมาและศักยภาพในการแข่งขันของบริษัท ประกอบกับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ผมจึงมั่นใจว่ากลุ่มสามารถจะสร้างผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้อย่างแน่นอน
ความสำเร็จและความคืบหน้าของธุรกิจในไตรมาสแรก ปี 2566 ประกอบด้วย
สายธุรกิจ Digital Communications โดย บมจ. สามารถดิจิตอล มีรายได้จากการขายและบริการรวม 695 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซนต์ จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้มีรายได้หลักจากธุรกิจ Digital Trunked Radio ซึ่งมีการส่งมอบอุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้แก่องค์กรผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ประจำเพิ่มขึ้นจากค่าบริการ Air Time นับตั้งแต่ปลายไตรมาสสองเป็นต้นไป ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือสะสมรวม 2,500 ล้านบาท
สายธุรกิจ Digital ICT Solution โดย บมจ.สามารถเทลคอม มีรายได้รวม 937 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซนต์ จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในไตรมาสแรกของปี มีการเซ็นสัญญาโครงการใหม่ มูลค่ารวม 382 ล้านบาท และปัจจุบันมีมูลค่างานในมือสะสมรวม 6,000 ล้านบาทโดยประมาณ
สายธุรกิจ Utilities & Transportations มีรายได้รวม 1,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนกว่า 100 เปอร์เซนต์ โดยมีผลประกอบการที่โดดเด่นจาก บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) หลังทั่วโลกคลายล๊อคโควิด ส่งผลให้ธุรกิจการบินกลับมาคึกคักในเวลาอันรวดเร็ว โดยในไตรมาสแรก ปี 66 มีจำนวนเที่ยวบิน ทั้งที่บินขึ้น/ลง และบินผ่านประเทศกัมพูชา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ดังนั้น ด้วยปัจจัยบวก ทั้งในเชิงผลประกอบการที่ฟื้นตัวแรงและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจซึ่งจะล้อไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค น่าจะส่งผลให้หุ้น IPO ของบริษัท Samart Aviation Solutions หรือ SAV ผู้ถือหุ้นบริษัท CATS ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เน้นคุณค่าและต้องการผลตอบแทนในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งแก่ ก.ล.ต แล้วในเดือน เมษายนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้ประจำที่ทยอยรับรู้อย่างต่อเนื่องจากโครงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ด้วยระบบ Direct Coding ซึ่งมีอายุสัญญานานถึง 7 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัท ทรานเส็ค เพาเวอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังได้ลงนามในสัญญาจ้างงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า มูลค่า 276 ล้านบาท และ บริษัทเทด้า อีกหนึ่งบริษัทย่อย ก็ได้รับหนังสือตกลงว่าจ้างงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) มูลค่ารวม 2,387 ล้านบาท ปัจจุบัน จึงมีมูลค่างานในมือที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้ารวม 4,000 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัย กล่าวในตอนท้ายว่า “ช่วงนี้ มักจะมีคำถามว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอย่างไร ในมุมมองของนักธุรกิจที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย ผมยังคงเชื่อว่า ไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะการเลือกตั้ง ย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และหวังว่าทุกฝ่ายจะเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ในฐานะภาคเอกชน เราก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการพัฒนาและนำเสนอ Solutions เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ รองรับการพัฒนาองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่อไป”
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) ชี้แจงว่ารายได้รวมของกลุ่มสามารถในไตรมาส 1 / 2566 สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างและแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ในไตรมาสนี้ บริษัทจะมีผลขาดทุนจำนวน 26 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ของเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกในต่างประเทศ จำนวน 54 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาผลงานที่ผ่านมาและศักยภาพในการแข่งขันของบริษัท ประกอบกับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ผมจึงมั่นใจว่ากลุ่มสามารถจะสร้างผลประกอบการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้อย่างแน่นอน
ความสำเร็จและความคืบหน้าของธุรกิจในไตรมาสแรก ปี 2566 ประกอบด้วย
สายธุรกิจ Digital Communications โดย บมจ. สามารถดิจิตอล มีรายได้จากการขายและบริการรวม 695 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 146 เปอร์เซนต์ จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้มีรายได้หลักจากธุรกิจ Digital Trunked Radio ซึ่งมีการส่งมอบอุปกรณ์วิทยุสื่อสารให้แก่องค์กรผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้ประจำเพิ่มขึ้นจากค่าบริการ Air Time นับตั้งแต่ปลายไตรมาสสองเป็นต้นไป ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือสะสมรวม 2,500 ล้านบาท
สายธุรกิจ Digital ICT Solution โดย บมจ.สามารถเทลคอม มีรายได้รวม 937 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซนต์ จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในไตรมาสแรกของปี มีการเซ็นสัญญาโครงการใหม่ มูลค่ารวม 382 ล้านบาท และปัจจุบันมีมูลค่างานในมือสะสมรวม 6,000 ล้านบาทโดยประมาณ
สายธุรกิจ Utilities & Transportations มีรายได้รวม 1,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนกว่า 100 เปอร์เซนต์ โดยมีผลประกอบการที่โดดเด่นจาก บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) หลังทั่วโลกคลายล๊อคโควิด ส่งผลให้ธุรกิจการบินกลับมาคึกคักในเวลาอันรวดเร็ว โดยในไตรมาสแรก ปี 66 มีจำนวนเที่ยวบิน ทั้งที่บินขึ้น/ลง และบินผ่านประเทศกัมพูชา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ดังนั้น ด้วยปัจจัยบวก ทั้งในเชิงผลประกอบการที่ฟื้นตัวแรงและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจซึ่งจะล้อไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค น่าจะส่งผลให้หุ้น IPO ของบริษัท Samart Aviation Solutions หรือ SAV ผู้ถือหุ้นบริษัท CATS ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เน้นคุณค่าและต้องการผลตอบแทนในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งแก่ ก.ล.ต แล้วในเดือน เมษายนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้ประจำที่ทยอยรับรู้อย่างต่อเนื่องจากโครงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ด้วยระบบ Direct Coding ซึ่งมีอายุสัญญานานถึง 7 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัท ทรานเส็ค เพาเวอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังได้ลงนามในสัญญาจ้างงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า มูลค่า 276 ล้านบาท และ บริษัทเทด้า อีกหนึ่งบริษัทย่อย ก็ได้รับหนังสือตกลงว่าจ้างงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) มูลค่ารวม 2,387 ล้านบาท ปัจจุบัน จึงมีมูลค่างานในมือที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้ารวม 4,000 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัย กล่าวในตอนท้ายว่า “ช่วงนี้ มักจะมีคำถามว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอย่างไร ในมุมมองของนักธุรกิจที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย ผมยังคงเชื่อว่า ไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะการเลือกตั้ง ย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และหวังว่าทุกฝ่ายจะเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ในฐานะภาคเอกชน เราก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการพัฒนาและนำเสนอ Solutions เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ รองรับการพัฒนาองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่อไป”