บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส หรือ BGC ประกาศงบไตรมาสแรก ทำรายได้จากการขาย 3,814 ล้านบาท ใกล้เคียงช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.08 บาทต่อหุ้น เตรียมขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 29 พฤษภาคมนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่ปรับลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงราคาวัตถุดิบและค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสแรก มองแนวโน้มดีมานด์บรรจุภัณฑ์แก้วในช่วงที่เหลือของปีนี้ทยอยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว วางเป้าหมายรายได้จากการขายปีนี้เติบโต 10% และใช้งบลงทุนรวม 1,500-1,600 ล้านบาท พร้อมมุ่งบริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น ไตรมาส 2 รับปัจจัยบวกเริ่มรับรู้รายได้จาก “ไพร์ม แพคเกจจิ้ง” ตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา หลังเข้าถือหุ้น 75% เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566
นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วและแพคเกจจิ้งรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 แม้มีแรงกดดันจากค่าไฟฟ้าและราคาวัตถุดิบหลักที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เศษแก้วและโซดาแอช (โซเดียมคาร์บอเนต) รวมถึงราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามได้มุ่งเน้นผลักดันยอดขายและบริหารต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับสูตรการผลิตเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยโดยไม่กระทบกับคุณภาพสินค้า นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เข้าร่วมโครงการประหยัดพลังงานกับ ESCO (Energy Service Company) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ปรับใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง หารือร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างสมดุลแก่ดีมานด์และซัพพลายเศษแก้ว รวมถึงเจรจาปรับราคาสินค้า ส่งผลให้มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 3,814 ล้านบาท ลดลงเพียงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 3,967 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 75 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 217 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าไฟฟ้า รวมทั้งพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และกำไรพิเศษจากการจำหน่ายธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงไตรมาสเดียวกันในปีก่อน
จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) จึงมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.08 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 55.55 ล้านบาท เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น โดยมีกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ และจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 เดือนมิถุนายน 2566
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BGC กล่าวว่า ประเมินแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในช่วงที่เหลือของปีนี้จะทยอยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมที่กำลังฟี้นตัว บริษัทฯ จึงตั้งเป้าหมายรายได้จากการขายในปี 2566 เติบโต 10% โดยปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 จะมาจากการเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 หลังจากได้เข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท ไพร์ม แพ็คเกจจิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนและม้วนฟิล์มในประเทศไทย เพื่อต่อยอดกับธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) โดยไพร์ม แพ็คเกจจิ้งมียอดขายปีละประมาณ 400 ล้านบาท
ขณะที่แผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะมุ่งเพิ่มยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วและบรรจุภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน ฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET ฯลฯ เพื่อสร้างการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมกับมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพบริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น
“บริษัทฯ วางงบขยายการลงทุนรวมในปีนี้ 1,500-1,600 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนเพื่อใช้ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเตาหลอมแก้ว 2 เตาและการลงทุนขยายธุรกิจในรูปแบบ M&A รวมประมาณ 1,200 ล้านบาท การสั่งซื้อเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ภายในโรงงานอีก 300-400 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจและการเติบโต” นายศิลปรัตน์ กล่าว
นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วและแพคเกจจิ้งรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 แม้มีแรงกดดันจากค่าไฟฟ้าและราคาวัตถุดิบหลักที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เศษแก้วและโซดาแอช (โซเดียมคาร์บอเนต) รวมถึงราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามได้มุ่งเน้นผลักดันยอดขายและบริหารต้นทุนรวมถึงค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับสูตรการผลิตเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยโดยไม่กระทบกับคุณภาพสินค้า นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เข้าร่วมโครงการประหยัดพลังงานกับ ESCO (Energy Service Company) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ปรับใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง หารือร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างสมดุลแก่ดีมานด์และซัพพลายเศษแก้ว รวมถึงเจรจาปรับราคาสินค้า ส่งผลให้มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 3,814 ล้านบาท ลดลงเพียงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 3,967 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิ 75 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 217 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าไฟฟ้า รวมทั้งพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และกำไรพิเศษจากการจำหน่ายธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงไตรมาสเดียวกันในปีก่อน
จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) จึงมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.08 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 55.55 ล้านบาท เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น โดยมีกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ และจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 เดือนมิถุนายน 2566
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BGC กล่าวว่า ประเมินแนวโน้มความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในช่วงที่เหลือของปีนี้จะทยอยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมที่กำลังฟี้นตัว บริษัทฯ จึงตั้งเป้าหมายรายได้จากการขายในปี 2566 เติบโต 10% โดยปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 จะมาจากการเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 หลังจากได้เข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท ไพร์ม แพ็คเกจจิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนและม้วนฟิล์มในประเทศไทย เพื่อต่อยอดกับธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) โดยไพร์ม แพ็คเกจจิ้งมียอดขายปีละประมาณ 400 ล้านบาท
ขณะที่แผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะมุ่งเพิ่มยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วและบรรจุภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ บรรจุภัณฑ์กระดาษ บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน ฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET ฯลฯ เพื่อสร้างการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมกับมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพบริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น
“บริษัทฯ วางงบขยายการลงทุนรวมในปีนี้ 1,500-1,600 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนเพื่อใช้ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเตาหลอมแก้ว 2 เตาและการลงทุนขยายธุรกิจในรูปแบบ M&A รวมประมาณ 1,200 ล้านบาท การสั่งซื้อเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ภายในโรงงานอีก 300-400 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจและการเติบโต” นายศิลปรัตน์ กล่าว