จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : GSC รุก “สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน” ต่อยอดธุรกิจ ดึงเงินนอกระบบ
17 พฤษภาคม 2566
ปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบ เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพราะกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นโอกาสของบริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ (GSC)ที่ขยายธุรกิจให้บริการด้านการเงิน แพลตฟอร์ม สวัสดิการพนักงาน (ClickSii) ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากพนักงานบริษัทต่างๆ
โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ (GSC) “อภิรักษ์ วัฒนภิญญา” กล่าวว่า ในไตรมาส 2 นี้บริษัทฯ ได้ออกธุรกิจให้บริการด้านการเงิน แพลตฟอร์ม สวัสดิการพนักงาน(ClickSii)โดยจะเป็นแพลตฟอร์มบริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าให้กับพนักงานในองค์กรโดยClicksii เป็นตัวกลางในการดูแลจัดการ
ซึ่ง Clicksii จะให้บริการ 2 ส่วน คือ
1.บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าแบบReal Timeโดยจะให้ทำการเบิกถอนได้ ไม่เกิน50% ของจำนวนค่าแรงที่ทำสำเร็จ
2.บริการผ่อนสินค้าดอกเบี้ย 0%โดยจะอนุมัติวงเงินให้กับพนักงานในองค์กรที่มีการทำสัญญาไว้สามารถเลือกผ่อนสินค้าราคาพิเศษ ผ่านแพลตฟอร์ม Clicksiiโดยปราศจากดอกเบี้ย สามารถเลือกจำนวนงวดผ่อนชำระได้เอง
ผู้บริหาร GSC เชื่อว่า แพลตฟอร์ม สวัสดิการพนักงานClicksii จะได้รับการตอบรับที่ดี ผู้ที่ใช้บริการ ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการสรรหาพนักงานใหม่ พนักงานมีความสุข ไร้กังวลเรื่องปัญหาการเงิน ด้านพนักงานที่ใช้บริการ Clicksii มีแหล่งเงินสำรองฉุกเฉินให้อุ่นใจ ไม่ต้องกู้เงินหรือขอสินเชื่อที่เกินรายรับของตัวเอง สามารถยื่นคำขอเบิกเงินเดือนล่วงหน้าเมื่อต้องการ และอิสระต่อการผูกมัด
ปัญหาหนี้ครัวเรือน สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ที่สำรวจความเห็นผู้บริโภคไทยในแบบสำรวจ "SCB EIC Consumer survey 2566" เกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตโควิดต่อรายได้ รายจ่าย รวมถึงภาระหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ พบว่า
1. แม้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย แสดงให้เห็นความเปราะบางที่ยังหลงเหลือจากวิกฤตโควิด โดย SCB EIC ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนไทยจะมีแนวโน้มลดลงไม่เร็วนักในระยะต่อไป จากปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย รวมถึงปัญหาการออม ท่ามกลางเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
2. หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบเป็นความเสี่ยงสำคัญของครัวเรือนไทย ก่อนเกิดวิกฤตโควิดพบว่ามีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นหนี้ 63% โดยเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 31% เป็นหนี้นอกระบบและมีแนวโน้มจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด แต่ไม่เคยมีหนี้มาก่อน พบว่ามีสัดส่วนราว 40% (กลุ่มหนี้หน้าใหม่) กลุ่มที่เหลือสัดส่วนราว 60% เป็นผู้ที่มีหนี้อยู่ก่อนแล้วและมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะกู้ยืมเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะผู้มีหนี้นอกระบบที่ต้องการกู้เพิ่มขึ้นจากทั้งแหล่งในและนอกระบบ ขณะที่ผู้มีหนี้ในระบบมีแนวโน้มก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น อีกข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจพบว่า วัตถุประสงค์การกู้เงินที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและสินค้าจำเป็น แต่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ผู้มีหนี้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เดิมเป็นหลัก สะท้อนความเปราะบางด้านภาระหนี้ของครัวเรือนที่อาจรุนแรงขึ้น กดดันการนำเงินออมออกมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในระยะต่อไป
3. ผลสำรวจหนี้ครัวเรือนผ่านมุมมองผู้บริโภคของ SCB EIC ชี้ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยยังน่ากังวลและควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ปัญหานี้นับเป็นความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่สามารถทยอยแก้ไขให้ดีขึ้นได้หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันและต้องใช้เวลา
โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ (GSC) “อภิรักษ์ วัฒนภิญญา” กล่าวว่า ในไตรมาส 2 นี้บริษัทฯ ได้ออกธุรกิจให้บริการด้านการเงิน แพลตฟอร์ม สวัสดิการพนักงาน(ClickSii)โดยจะเป็นแพลตฟอร์มบริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าให้กับพนักงานในองค์กรโดยClicksii เป็นตัวกลางในการดูแลจัดการ
ซึ่ง Clicksii จะให้บริการ 2 ส่วน คือ
1.บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าแบบReal Timeโดยจะให้ทำการเบิกถอนได้ ไม่เกิน50% ของจำนวนค่าแรงที่ทำสำเร็จ
2.บริการผ่อนสินค้าดอกเบี้ย 0%โดยจะอนุมัติวงเงินให้กับพนักงานในองค์กรที่มีการทำสัญญาไว้สามารถเลือกผ่อนสินค้าราคาพิเศษ ผ่านแพลตฟอร์ม Clicksiiโดยปราศจากดอกเบี้ย สามารถเลือกจำนวนงวดผ่อนชำระได้เอง
ผู้บริหาร GSC เชื่อว่า แพลตฟอร์ม สวัสดิการพนักงานClicksii จะได้รับการตอบรับที่ดี ผู้ที่ใช้บริการ ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการสรรหาพนักงานใหม่ พนักงานมีความสุข ไร้กังวลเรื่องปัญหาการเงิน ด้านพนักงานที่ใช้บริการ Clicksii มีแหล่งเงินสำรองฉุกเฉินให้อุ่นใจ ไม่ต้องกู้เงินหรือขอสินเชื่อที่เกินรายรับของตัวเอง สามารถยื่นคำขอเบิกเงินเดือนล่วงหน้าเมื่อต้องการ และอิสระต่อการผูกมัด
ปัญหาหนี้ครัวเรือน สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ที่สำรวจความเห็นผู้บริโภคไทยในแบบสำรวจ "SCB EIC Consumer survey 2566" เกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตโควิดต่อรายได้ รายจ่าย รวมถึงภาระหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ พบว่า
1. แม้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย แสดงให้เห็นความเปราะบางที่ยังหลงเหลือจากวิกฤตโควิด โดย SCB EIC ประเมินว่า หนี้ครัวเรือนไทยจะมีแนวโน้มลดลงไม่เร็วนักในระยะต่อไป จากปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย รวมถึงปัญหาการออม ท่ามกลางเงินเฟ้อสูงและดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
2. หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบเป็นความเสี่ยงสำคัญของครัวเรือนไทย ก่อนเกิดวิกฤตโควิดพบว่ามีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นหนี้ 63% โดยเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 31% เป็นหนี้นอกระบบและมีแนวโน้มจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด แต่ไม่เคยมีหนี้มาก่อน พบว่ามีสัดส่วนราว 40% (กลุ่มหนี้หน้าใหม่) กลุ่มที่เหลือสัดส่วนราว 60% เป็นผู้ที่มีหนี้อยู่ก่อนแล้วและมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีหนี้ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะกู้ยืมเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะผู้มีหนี้นอกระบบที่ต้องการกู้เพิ่มขึ้นจากทั้งแหล่งในและนอกระบบ ขณะที่ผู้มีหนี้ในระบบมีแนวโน้มก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น อีกข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจพบว่า วัตถุประสงค์การกู้เงินที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและสินค้าจำเป็น แต่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ผู้มีหนี้ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เดิมเป็นหลัก สะท้อนความเปราะบางด้านภาระหนี้ของครัวเรือนที่อาจรุนแรงขึ้น กดดันการนำเงินออมออกมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในระยะต่อไป
3. ผลสำรวจหนี้ครัวเรือนผ่านมุมมองผู้บริโภคของ SCB EIC ชี้ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยยังน่ากังวลและควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ปัญหานี้นับเป็นความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่สามารถทยอยแก้ไขให้ดีขึ้นได้หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันและต้องใช้เวลา