จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ตลาด IoT ในไทยปี 66 ลงทุนแตะ 9.5 พันลบ. หนุนผลงาน DTCENT โตก้าวกระโดด
30 มกราคม 2566
การลงทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับระบไอทีทั่วโลกและประเทศไทยปี 2566 ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานดิจิทัลทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน หนุนผลงาน บริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ (DTCENT) รายได้และกำไรขยายตัวก้าวกระโดด
การ์ทเนอร์ อิงค์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่ม 2.4% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่ารวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 5.1% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของไตรมาสที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อยังตัดกำลังซื้อของผู้บริโภคและส่งผลให้การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอทีเติบโตลดลง แต่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายไอทีขององค์กรในภาพรวมจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
การ์ทเนอร์คาดว่าในปีนี้ (2566) กลุ่มซอฟต์แวร์ (Software) และบริการไอที (IT Services) จะเติบโตสูงสุดที่ 9.3% และ 5.5% ตามลำดับ โดยกลุ่มอุปกรณ์ไอที (Devices) คาดว่าจะเติบโตลดลงถึง 5.1% เนื่องจากทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจขยายรอบอายุการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ ออกไป
สำหรับยอดการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะสูงแตะ 934.9 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 4.2% จากปี 2565 โดยในกลุ่มซอฟต์แวร์และกลุ่มบริการด้านไอทีจะเติบโตระดับเลขสองหลัก เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ เพิ่มการใช้จ่ายกับโครงการดิจิทัล
สำหรับตลาด IoT ในประเทศไทย เนคเทค-สวทช. คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยคาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 9,520 ล้านบาทในปี 2566 ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานดิจิทัล การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ และความต้องการใช้งาน IoT ในภาคอุตสาหกรรม
โดยผู้ประกอบการมีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้เล่นในตลาดโลก และตอบสนองความต้องการที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์จำพวก อาหาร เครื่องดื่ม รถยนต์ และปิโตรเคมี ทั้งนี้คาดว่าผู้ประกอบการไทยในภาคการผลิตประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานในระยะไม่กี่ปีข้างหน้านี้
การลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่างๆทั่วโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งผลดีต่อธุรกิจของบริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ (DTCENT) ที่ทำธุรกิจออกแบบ วิจัย พัฒนา จัดจำหน่าย และให้บริการอุปกรณ์ติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking) และยังพัฒนาระบบไอโอที (IoT Solution) และ Artificial Intelligence (AI) ครบวงจร รวมถึงวิจัยและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารขนส่งและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบล.โกลเบล็ก ออกบทวิเคราะห์ DTCENT โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ของ DTCENT ราว 3.30 บาทต่อหุ้น ด้วยวิธี Prospective PERเทียบกับกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอุปกรณ์และระบบGlobal Positioning System (GPS)ที่ระดับ 24 เท่า ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ประกอบกับคาดกำไรสุทธิต่อหุ้น ปี 2566 ราว 0.14 บาทต่อหุ้น คำนวณเป็นราคาเหมาะสมราว 3.30 บาท
ฝ่ายวิจัยคาดการณ์รายได้ปี 2565-66 อยู่ที่ประมาณ 702 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%จากงวดเดียวกันปีก่อน และ 977 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39%จากงวดเดียวกันปีก่อนตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR29% ต่อปี โดยมีปัจจัยเติบโตจาก
1) ธุรกิจGPS Trackingฟื้นตัวตามสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง
2) รายได้จากกลุ่มบริษัทย่อยที่จำหน่ายSoftwareและApplicationใหม่ปีนี้
3) กลุ่มงานIoT Solutionของภาครัฐ เริ่มเปิดประมูลมากขึ้น ส่วนสมมติฐาน %GPMคาดที่ระดับ 49-50% อ่อนลงจากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 56% จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรม
ประกอบกับงาน IoT Solution ที่มาร์จิ้นราว 30% มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ %SG&Aคาดจะปรับลดลงมาที่ระดับ 27-31% จากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 34% จากการประหยัดจากขนาด ส่งผลให้คาดการณ์กำไรปี 2565-66 ราว 106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%จากงวดเดียวกันปีก่อน และ 165 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55%จากงวดเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR 46% ต่อปี
การ์ทเนอร์ อิงค์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่ม 2.4% จากปี 2565 คิดเป็นมูลค่ารวม 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 5.1% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของไตรมาสที่แล้ว ขณะที่เงินเฟ้อยังตัดกำลังซื้อของผู้บริโภคและส่งผลให้การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ไอทีเติบโตลดลง แต่คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายไอทีขององค์กรในภาพรวมจะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
การ์ทเนอร์คาดว่าในปีนี้ (2566) กลุ่มซอฟต์แวร์ (Software) และบริการไอที (IT Services) จะเติบโตสูงสุดที่ 9.3% และ 5.5% ตามลำดับ โดยกลุ่มอุปกรณ์ไอที (Devices) คาดว่าจะเติบโตลดลงถึง 5.1% เนื่องจากทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจขยายรอบอายุการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ ออกไป
สำหรับยอดการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะสูงแตะ 934.9 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 4.2% จากปี 2565 โดยในกลุ่มซอฟต์แวร์และกลุ่มบริการด้านไอทีจะเติบโตระดับเลขสองหลัก เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ เพิ่มการใช้จ่ายกับโครงการดิจิทัล
สำหรับตลาด IoT ในประเทศไทย เนคเทค-สวทช. คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยคาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 9,520 ล้านบาทในปี 2566 ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานดิจิทัล การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ และความต้องการใช้งาน IoT ในภาคอุตสาหกรรม
โดยผู้ประกอบการมีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้เล่นในตลาดโลก และตอบสนองความต้องการที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์จำพวก อาหาร เครื่องดื่ม รถยนต์ และปิโตรเคมี ทั้งนี้คาดว่าผู้ประกอบการไทยในภาคการผลิตประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานในระยะไม่กี่ปีข้างหน้านี้
การลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่างๆทั่วโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งผลดีต่อธุรกิจของบริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ (DTCENT) ที่ทำธุรกิจออกแบบ วิจัย พัฒนา จัดจำหน่าย และให้บริการอุปกรณ์ติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking) และยังพัฒนาระบบไอโอที (IoT Solution) และ Artificial Intelligence (AI) ครบวงจร รวมถึงวิจัยและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารขนส่งและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งบล.โกลเบล็ก ออกบทวิเคราะห์ DTCENT โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2566 ของ DTCENT ราว 3.30 บาทต่อหุ้น ด้วยวิธี Prospective PERเทียบกับกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอุปกรณ์และระบบGlobal Positioning System (GPS)ที่ระดับ 24 เท่า ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ประกอบกับคาดกำไรสุทธิต่อหุ้น ปี 2566 ราว 0.14 บาทต่อหุ้น คำนวณเป็นราคาเหมาะสมราว 3.30 บาท
ฝ่ายวิจัยคาดการณ์รายได้ปี 2565-66 อยู่ที่ประมาณ 702 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%จากงวดเดียวกันปีก่อน และ 977 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39%จากงวดเดียวกันปีก่อนตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR29% ต่อปี โดยมีปัจจัยเติบโตจาก
1) ธุรกิจGPS Trackingฟื้นตัวตามสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง
2) รายได้จากกลุ่มบริษัทย่อยที่จำหน่ายSoftwareและApplicationใหม่ปีนี้
3) กลุ่มงานIoT Solutionของภาครัฐ เริ่มเปิดประมูลมากขึ้น ส่วนสมมติฐาน %GPMคาดที่ระดับ 49-50% อ่อนลงจากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 56% จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรม
ประกอบกับงาน IoT Solution ที่มาร์จิ้นราว 30% มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ %SG&Aคาดจะปรับลดลงมาที่ระดับ 27-31% จากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 34% จากการประหยัดจากขนาด ส่งผลให้คาดการณ์กำไรปี 2565-66 ราว 106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%จากงวดเดียวกันปีก่อน และ 165 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55%จากงวดเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR 46% ต่อปี