เศรษฐกิจที่เติบโตดีขึ้น และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว หนุลผลิตภัณฑ์ บริษัท ไทยอุตสาหกรรมพลาสติก (1994) จำกัด (มหาชน) หรือ TPLAS ทั้งบรรจุภัณฑ์พลาสติก และบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ปีนี้เติบโต 8-10%
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่าแนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์ของไทยในปี 2566 จะขยายตัว 4.0% อยู่ที่ 6.69 แสนล้านบาท ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว
โดยบรรจุภัณฑ์กระดาษคาดว่า จะขยายตัว 7.0% มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.22 แสนล้านบาท ซึ่งในปี 2566 บรรจุภัณฑ์กระดาษจะยังคงได้รับผลดีจากแนวโน้มการค้าออนไลน์ (E-Commerce) ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ttb analytics ประเมินว่าการเติบโตการค้าออนไลน์จะทำให้ธุรกิจขนส่งพัสดุขยายตัวกว่า 18% ในปี 2566 ซึ่งจะส่งผลทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษสำหรับห่อสินค้ามีมากขึ้น นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการห่ออาหารก็ยังคงเติบโตเช่นกัน เนื่องจากได้ความนิยมจากร้านค้าในการนำไปทดแทนบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกที่ภาครัฐรณรงค์ให้ใช้น้อยลง
ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกคาดว่าจะขยายตัว 1.9% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.37 แสนล้านบาท เนื่องจากในปี 2566 เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวตามการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนที่ดีขึ้น ทำให้กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ฟิล์มและกล่องพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ขวดพลาสติก ฯลฯ ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัว 5.5% และ 2.0% ตามลำดับ
ส่วนด้านการท่องเที่ยวในปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า ภาพรวมภาคการท่องเที่ยวในปี 66 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเร่งตัวแตะ 30 ล้านคน จากการประกาศเปิดประเทศในทันทีของจีนตั้งแต่ต้นปี 66 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีน กลับมาท่องเที่ยวในไทยเร็วขึ้น อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาติอื่น ฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยนักท่องเที่ยวหลัก ยังคงเป็นนักท่องเที่ยวจากอาเซียน และยุโรป
ขณะที่นักท่องเที่ยวไทย มีแนวโน้มท่องเที่ยวในประเทศต่อเนื่อง และกลับมาอยู่ในระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในปีนี้ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทย ออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
สถานการณ์การท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ซึ่ง “อภิรัตน์ ธีระรุจินนท์” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอุตสาหกรรมพลาสติก (1994) จำกัด (มหาชน) หรือ TPLAS ระบุว่า แผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 8-10% จากปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ตลาดมีสัญญาณการเติบโตที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา จากนโยบายการเปิดประเทศขณะที่สถานการณ์ของโรค Covid-19 ผ่อนคลายทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งการบริโภคในประเทศก็มีทิศทางที่เป็นบวกส่งผลให้ Sentiment ของการค้าขายภายในประเทศที่ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่จะใช้ดำเนินธุรกิจในปีนี้จะเน้นไปที่การกระตุ้นยอดขายเพิ่ม มีการควบคุมต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งมีแผนการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในขั้นตอนการทำงาน เช่น ระบบการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ตลอดจนเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถในด้านต่างๆอีกด้วย
"บริษัทฯมีแผนจะรุกตลาดโดยการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เน้นไปที่กลุ่มตลาดเดิมที่มีอยู่เพื่อเสริมฐานให้แกร่ง ซึ่งเป็นกลุ่มแม่ค้าพ่อค้าตลาดสด Street Food และ ร้านอาหารทั่วไป ขณะเดียวกัน บริษัทฯได้มีการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆที่สามารถนำใช้เพื่อนตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม รวมไปถึงศึกษาธุรกิจและสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อดำเนินการพัฒนาธุรกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย" นายอภิรัตน์กล่าว
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่าแนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์ของไทยในปี 2566 จะขยายตัว 4.0% อยู่ที่ 6.69 แสนล้านบาท ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว
โดยบรรจุภัณฑ์กระดาษคาดว่า จะขยายตัว 7.0% มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.22 แสนล้านบาท ซึ่งในปี 2566 บรรจุภัณฑ์กระดาษจะยังคงได้รับผลดีจากแนวโน้มการค้าออนไลน์ (E-Commerce) ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ttb analytics ประเมินว่าการเติบโตการค้าออนไลน์จะทำให้ธุรกิจขนส่งพัสดุขยายตัวกว่า 18% ในปี 2566 ซึ่งจะส่งผลทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษสำหรับห่อสินค้ามีมากขึ้น นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์กระดาษสำหรับการห่ออาหารก็ยังคงเติบโตเช่นกัน เนื่องจากได้ความนิยมจากร้านค้าในการนำไปทดแทนบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกที่ภาครัฐรณรงค์ให้ใช้น้อยลง
ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกคาดว่าจะขยายตัว 1.9% โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.37 แสนล้านบาท เนื่องจากในปี 2566 เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวตามการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชนที่ดีขึ้น ทำให้กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ฟิล์มและกล่องพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ขวดพลาสติก ฯลฯ ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะขยายตัว 5.5% และ 2.0% ตามลำดับ
ส่วนด้านการท่องเที่ยวในปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า ภาพรวมภาคการท่องเที่ยวในปี 66 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเร่งตัวแตะ 30 ล้านคน จากการประกาศเปิดประเทศในทันทีของจีนตั้งแต่ต้นปี 66 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีน กลับมาท่องเที่ยวในไทยเร็วขึ้น อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาติอื่น ฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยนักท่องเที่ยวหลัก ยังคงเป็นนักท่องเที่ยวจากอาเซียน และยุโรป
ขณะที่นักท่องเที่ยวไทย มีแนวโน้มท่องเที่ยวในประเทศต่อเนื่อง และกลับมาอยู่ในระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในปีนี้ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทย ออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
สถานการณ์การท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ซึ่ง “อภิรัตน์ ธีระรุจินนท์” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยอุตสาหกรรมพลาสติก (1994) จำกัด (มหาชน) หรือ TPLAS ระบุว่า แผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 8-10% จากปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ตลาดมีสัญญาณการเติบโตที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา จากนโยบายการเปิดประเทศขณะที่สถานการณ์ของโรค Covid-19 ผ่อนคลายทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งการบริโภคในประเทศก็มีทิศทางที่เป็นบวกส่งผลให้ Sentiment ของการค้าขายภายในประเทศที่ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่จะใช้ดำเนินธุรกิจในปีนี้จะเน้นไปที่การกระตุ้นยอดขายเพิ่ม มีการควบคุมต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งมีแผนการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในขั้นตอนการทำงาน เช่น ระบบการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ตลอดจนเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถในด้านต่างๆอีกด้วย
"บริษัทฯมีแผนจะรุกตลาดโดยการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เน้นไปที่กลุ่มตลาดเดิมที่มีอยู่เพื่อเสริมฐานให้แกร่ง ซึ่งเป็นกลุ่มแม่ค้าพ่อค้าตลาดสด Street Food และ ร้านอาหารทั่วไป ขณะเดียวกัน บริษัทฯได้มีการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆที่สามารถนำใช้เพื่อนตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม รวมไปถึงศึกษาธุรกิจและสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อดำเนินการพัฒนาธุรกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย" นายอภิรัตน์กล่าว