Mr.Data
ตลาดหุ้นไทยถือว่าผ่านจุดต่ำสุดในระยะสั้นไปเรียบร้อยแล้ว!!! หลังลงมาทดสอบ 1,491 จุด
22 พ.ค.66 แกนนำ 8 พรรค แถลงและลงนามใน MOU พรรคก้าวไกลและแกนนำอีก 7 พรรค ร่วมกันแถลง MOU ซึ่งระบุถึงวาระร่วมของพรรคทั้งหมดที่จะร่วมกันผลักดัน 23 ข้อ
โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่ การแก้รัฐธรรมนูญ, การผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม, ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ, เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารจากบังคับเป็นสมัครใจ, ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ, นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติด ฯลฯ
....ประเด็นสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย กลับมายืนเหนือ 1,500 จุด ได้สำเร็จ หลังการแถลง MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล คือ ไม่มีการบรรจุประเด็นที่อ่อนไหว เช่น การแก้มาตรา 112, การเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain tax) และ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (450 บาท/วัน)
ทำให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากพรรคอื่นๆนอกเหนือกลุ่มพันธมิตรร่วมตั้งรัฐบาล และจากส.ว.
บล.กรุงศรี พัฒนสิน (KCS) มองว่า ตลาดหุ้นไทยอาจตอบรับปัจจัยลบมากเกินไปแล้วในระยะสั้น เมื่อประเมินจาก 1) ดัชนีปรับลดลงใกล้ 15x PER ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยการซื้อขายช่วง 5 ปี (15-17x PER) 2) กลุ่มหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคในประเทศและท่องเที่ยว มีโมเมนตัมการเติบโตที่แข็งแกร่ง และไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นการเมือง 3)ได้ประโยชน์จากรัฐบาลใหม่ MOU
ทั้งนี้ ในส่วนรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
MOU ข้อ 8-10 ในเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยลดความเหลื่อมล้ำรายได้ สนับสนุน ความแข็งแรง SME และยกเลิกการผูกขาด พร้อมส่งเสริมการแข่งขันทางการค้ายังคาดสร้างจิตวิทยาลบต่อหุ้นกลุ่มทุนใหญ่ แต่มองบวกต่อหุ้นที่มีกลุ่มลูกค้า SME หรือได้ประโยชน์ความเจริญรากฐานเพิ่ม อาทิ BBL, ADVANC, CRC, SAWAD, GLOBAL, DOHOME, OSP, MC, TOA, ICHI, AEONTS, KBANK, TNP, KK
MOU ข้อ 11 ที่ระบุปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า คำนวราคา กำลังผลิต เพื่อลดค่าครองชีพและสร้างความมั่นคงพลังงาน มองจิตวิทยาบวกกลุ่ม Consumer (ADVANC, MAKRO, OSP, ICHI) จิตวิทยาลบต่อโรงไฟฟ้า (BRGIM, GPSC, GULF)
MOU ข้อ 13 จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยใช้ฐานศูนย์ (zero-based budgeting) การปรับใหม่อาจสร้างความเสี่ยงการจัดทำงบประมาณปี 24F ล่าช้าราว 6 เดือน แย่กว่าที่ตลาดมองไว้ปัจจุบันที่ราว 3-4 เดือน อาจเปิด Downside เศรษฐกิจ
MOU ข้อ 14, 20, 21 เน้นรัฐสวัสดิการ มองบวกต่อกลุ่ม Consumer และ รพ. ประกันสังคมที่อาจได้ประโยชน์ในฐานะช่องทางบริการ
MOU ข้อ 19 ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีความเป็นธรรม และได้รับค่าแรงที่สอดคล้องค่าครองชีพและการเติบโตเศรษฐกิจ ทุกๆ 10% ที่ปรับขึ้น ประเมิน Upside Risk เงินเฟ้อ +0.27% กระทบกำไรตลาด -5.2 พันล้านบาท (ไม่รวมอำนาจซื้อเพิ่ม)
ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่าจากการแถลง MOU พรรคก้าวไกล 1) เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วน 2) ค่าแรงขั้นต่ำ ทางพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เห็นตรงกันว่าควรปรับขึ้น แต่จะมีมาตรการอื่นเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจเพิ่มเติม 3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น Digital Wallet ของพรรคเพื่อไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาและโอกาสเกิดขึ้นตามความเหมาะสม
3) พรรคก้าวไกลยังยืนยันความจำเป็นในตำแหน่งประธานสภาฯ ที่ต้องมาจากพรรคก้าวไกล 4) ผู้ประกอบการกัญชาที่ทำถูกต้องตามกฎหมาย ในมุมมองของพรรคก้าวไกล ยังสามารถได้รับความคุ้มครองให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“เราประเมินผลกระทบเชิงลบจากการปรับขึ้นค่าแรงต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน เริ่มจำกัดมากขึ้น เพราะจะมีมาตรการมาชดเชย ทำให้กลุ่มที่ใช้แรงงานสูง เช่น ค้าปลีก รับเหมาฯ ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน ไม่ควรถูกกดดันมากนัก แต่การเจรจาเพื่อต่อรองตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะประธานสภาฯ และการรับรองผลเลือกตั้งของ กกต. ที่ใช้เวลานาน ยังเป็น Overhang ต่อ SET INDEX จนกว่าจะมีความชัดเจน”
โดยสรุปแม้พรรคก้าวไกลและแกนนำอัก 7 พรรค จะแถลง MOU ร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่ระหว่างทางการเมืองไทย ใครจะไปรู้จะมีการเจรจาลับ หรือหักเหลี่ยม ออกไปในทิศทางไหน “พิธา” จะได้เป็นนายกฯหรือไม่ เพราะยังมีด่านการถือหุ้นสื่อ “ไอทีวี” ที่หลายคนกังวลว่าอาจทำให้สะดุดเก้าอี้นายกฯ หรือแม้แต่การเลือกประธานสภา ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย หรือใช้ทางเลือกที่สาม ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล หรือพรรคเพื่อไทย
เอาเป็นว่า สถานการณ์การเมืองยังลูกผีลูกคน ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เตือนสติตัวเองเสมอ “การลงทุนมีความเสี่ยง”
ตลาดหุ้นไทยถือว่าผ่านจุดต่ำสุดในระยะสั้นไปเรียบร้อยแล้ว!!! หลังลงมาทดสอบ 1,491 จุด
22 พ.ค.66 แกนนำ 8 พรรค แถลงและลงนามใน MOU พรรคก้าวไกลและแกนนำอีก 7 พรรค ร่วมกันแถลง MOU ซึ่งระบุถึงวาระร่วมของพรรคทั้งหมดที่จะร่วมกันผลักดัน 23 ข้อ
โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่ การแก้รัฐธรรมนูญ, การผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม, ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ, เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารจากบังคับเป็นสมัครใจ, ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ, นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติด ฯลฯ
....ประเด็นสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย กลับมายืนเหนือ 1,500 จุด ได้สำเร็จ หลังการแถลง MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล คือ ไม่มีการบรรจุประเด็นที่อ่อนไหว เช่น การแก้มาตรา 112, การเก็บภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain tax) และ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (450 บาท/วัน)
ทำให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากพรรคอื่นๆนอกเหนือกลุ่มพันธมิตรร่วมตั้งรัฐบาล และจากส.ว.
บล.กรุงศรี พัฒนสิน (KCS) มองว่า ตลาดหุ้นไทยอาจตอบรับปัจจัยลบมากเกินไปแล้วในระยะสั้น เมื่อประเมินจาก 1) ดัชนีปรับลดลงใกล้ 15x PER ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยการซื้อขายช่วง 5 ปี (15-17x PER) 2) กลุ่มหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคในประเทศและท่องเที่ยว มีโมเมนตัมการเติบโตที่แข็งแกร่ง และไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นการเมือง 3)ได้ประโยชน์จากรัฐบาลใหม่ MOU
ทั้งนี้ ในส่วนรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
MOU ข้อ 8-10 ในเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยลดความเหลื่อมล้ำรายได้ สนับสนุน ความแข็งแรง SME และยกเลิกการผูกขาด พร้อมส่งเสริมการแข่งขันทางการค้ายังคาดสร้างจิตวิทยาลบต่อหุ้นกลุ่มทุนใหญ่ แต่มองบวกต่อหุ้นที่มีกลุ่มลูกค้า SME หรือได้ประโยชน์ความเจริญรากฐานเพิ่ม อาทิ BBL, ADVANC, CRC, SAWAD, GLOBAL, DOHOME, OSP, MC, TOA, ICHI, AEONTS, KBANK, TNP, KK
MOU ข้อ 11 ที่ระบุปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า คำนวราคา กำลังผลิต เพื่อลดค่าครองชีพและสร้างความมั่นคงพลังงาน มองจิตวิทยาบวกกลุ่ม Consumer (ADVANC, MAKRO, OSP, ICHI) จิตวิทยาลบต่อโรงไฟฟ้า (BRGIM, GPSC, GULF)
MOU ข้อ 13 จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยใช้ฐานศูนย์ (zero-based budgeting) การปรับใหม่อาจสร้างความเสี่ยงการจัดทำงบประมาณปี 24F ล่าช้าราว 6 เดือน แย่กว่าที่ตลาดมองไว้ปัจจุบันที่ราว 3-4 เดือน อาจเปิด Downside เศรษฐกิจ
MOU ข้อ 14, 20, 21 เน้นรัฐสวัสดิการ มองบวกต่อกลุ่ม Consumer และ รพ. ประกันสังคมที่อาจได้ประโยชน์ในฐานะช่องทางบริการ
MOU ข้อ 19 ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีความเป็นธรรม และได้รับค่าแรงที่สอดคล้องค่าครองชีพและการเติบโตเศรษฐกิจ ทุกๆ 10% ที่ปรับขึ้น ประเมิน Upside Risk เงินเฟ้อ +0.27% กระทบกำไรตลาด -5.2 พันล้านบาท (ไม่รวมอำนาจซื้อเพิ่ม)
ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่าจากการแถลง MOU พรรคก้าวไกล 1) เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วน 2) ค่าแรงขั้นต่ำ ทางพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เห็นตรงกันว่าควรปรับขึ้น แต่จะมีมาตรการอื่นเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจเพิ่มเติม 3) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น Digital Wallet ของพรรคเพื่อไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาและโอกาสเกิดขึ้นตามความเหมาะสม
3) พรรคก้าวไกลยังยืนยันความจำเป็นในตำแหน่งประธานสภาฯ ที่ต้องมาจากพรรคก้าวไกล 4) ผู้ประกอบการกัญชาที่ทำถูกต้องตามกฎหมาย ในมุมมองของพรรคก้าวไกล ยังสามารถได้รับความคุ้มครองให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“เราประเมินผลกระทบเชิงลบจากการปรับขึ้นค่าแรงต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน เริ่มจำกัดมากขึ้น เพราะจะมีมาตรการมาชดเชย ทำให้กลุ่มที่ใช้แรงงานสูง เช่น ค้าปลีก รับเหมาฯ ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน ไม่ควรถูกกดดันมากนัก แต่การเจรจาเพื่อต่อรองตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะประธานสภาฯ และการรับรองผลเลือกตั้งของ กกต. ที่ใช้เวลานาน ยังเป็น Overhang ต่อ SET INDEX จนกว่าจะมีความชัดเจน”
โดยสรุปแม้พรรคก้าวไกลและแกนนำอัก 7 พรรค จะแถลง MOU ร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่ระหว่างทางการเมืองไทย ใครจะไปรู้จะมีการเจรจาลับ หรือหักเหลี่ยม ออกไปในทิศทางไหน “พิธา” จะได้เป็นนายกฯหรือไม่ เพราะยังมีด่านการถือหุ้นสื่อ “ไอทีวี” ที่หลายคนกังวลว่าอาจทำให้สะดุดเก้าอี้นายกฯ หรือแม้แต่การเลือกประธานสภา ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย หรือใช้ทางเลือกที่สาม ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล หรือพรรคเพื่อไทย
เอาเป็นว่า สถานการณ์การเมืองยังลูกผีลูกคน ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เตือนสติตัวเองเสมอ “การลงทุนมีความเสี่ยง”