อินโดรามา เวนเจอร์ส และ SIPA ฉลองวันไวน์สากล เปิดตัวขวดสปาร์คกลิ้งไวน์ผลิตจาก PET ที่ยั่งยืนรายแรกของโลก
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL หนึ่งในบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และ SIPA ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ PET ร่วมกันเปิดตัวขวดสปาร์คกลิ้งไวน์ผลิตจาก PET แบบชั้นเดียว (monolayer) เป็นรายแรกของโลก เฉลิมฉลองวันไวน์สากล
โซลูชั่นบรรจุภัณฑ์สำหรับสปาร์คกลิ้งไวน์ PET ที่ได้รับรางวัลนี้ ถือเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับแบรนด์ต่างๆ ด้วยวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการขนส่ง ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ สามารถใช้งานบนสายการผลิตสำหรับบรรจุภัณฑ์แก้วที่มีอยู่เดิมได้ และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์[1]
บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวพัฒนาและออกแบบโดยทีมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของ SIPA และผลิตจากเม็ดพลาสติกสำหรับขวด และนวัตกรรม OxyClear® Barrier ของอินโดรามา เวนเจอร์ส โดยได้รับการจดสิทธิบัตรในฐานะทางเลือกที่พัฒนาให้ดีขึ้นจากขวดแก้วแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมไวน์ในยุโรปสามารถรับมือกับการขาดแคลนแก้ว เนื่องจากอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทาน พลังงาน และวัตถุดิบ นอกจากนี้ ในระหว่างเดือนเมษายน 2563[2] ถึงเดือนเมษายน 2566 ขวดไวน์ที่ผลิตจากแก้วมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 และยังเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในตลาดยุโรปบางแห่ง[3]
ทั้งนี้ ขวดแบบใหม่นี้ได้รับรางวัลสูงสุดในการประกวดบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมปี 2566 ในงาน Milan Design Week 2023 โดยมีรูปลักษณ์ การใช้งาน และให้ความรู้สึกที่คล้ายคลึงกันกับการขวดปาร์คกลิ้งไวน์แบบดั้งเดิมที่ผลิตจากแก้ว นวัตกรรมที่สำคัญของ SIPA คือการออกแบบคอขวดให้มีลักษณะใกล้เคียงกับขวดที่ผลิตจากแก้ว ซึ่งหมายความว่าขวดนี้สามารถใช้จุกปิดขวดไวน์รูปทรงเห็ดที่ผลิตจากไม้คอร์กและฝาครอบขวดไวน์ที่ผลิตจากโลหะได้ นอกจากนี้ ฐานหรือก้นขวดยังสามารถเข้ากับขวดแก้วแบบดั้งเดิมได้ และสามารถรับแรงกดทับได้สูงถึง 350 กิโลกรัม
Marco Brusadin, Global Packaging Development Director ของ SIPA กล่าวว่า “ด้วยนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เราตั้งใจให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ดั้งเดิมของสปาร์คกลิ้งไวน์ที่ใช้สำหรับเฉลิมฉลอง ตั้งแต่การเปิดจุกขวดไปจนถึงการริน ประการที่สอง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากบริษัทไวน์สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่มีต้นทุนเพิ่ม และการทดสอบอย่างครอบคลุมได้พิสูจน์แล้วว่า ขวด PET สามารถใช้งานในสายการผลิตที่ออกแบบสำหรับขวดแก้วได้ ความร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ต่างๆ โดดเด่นด้วยจุดยืนด้านความยั่งยืนและสร้างความแตกต่าง ณ จุดขาย ด้วยรูปทรงที่สร้างสรรค์ ง่ายต่อการออกแบบ และการขนส่งที่ดีกว่า”
ด้วยน้ำหนักเพียง 90 กรัม ขวดสปาร์คกลิ้งไวน์ใหม่ที่ผลิตจาก PET มีน้ำหนักเบากว่าขวดแก้วแบบดั้งเดิมประมาณร้อยละ 80 และแทบจะไม่แตกหัก ด้วยรูปร่างที่เหมาะสมนี้จะช่วยทำให้สามารถจัดวางขวดในแต่ละพาเลทได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33 คุณสมบัติกันกระแทกยังช่วยพัฒนาการเคลื่อนย้ายขนส่ง ซึ่งข้อได้เปรียบดังกล่าวจะช่วยมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับแบรนด์ต่างๆ ด้วยช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ อาทิ อีคอมเมิร์ซ การขนส่งทางเรือ รวมไปถึงการบริโภคในโอกาสที่มากขึ้นระหว่างช่วงเทศกาลและงานต่างๆ การทดสอบวัสดุหลายครั้งที่ German Institute of Geisenheim ในประเทศเยอรมัน แสดงให้เห็นว่าขวดไวน์ OxyClear® PET ให้คุณสมบัติและอรรถประโยชน์เช่นเดียวกันกับแก้วหลังจากเก็บไว้นานกว่า 24 เดือนที่อุณหภูมิ 15 องศา
ขวด PET รูปแบบใหม่นี้มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนที่โดดเด่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมดด้วยกระบวนการตามปกติ และ PET ก็เป็นวัสดุที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตขวดแก้ว[4] การพัฒนาครั้งนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์สำคัญว่าคุณสมบัติของ PET ที่มีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และน้ำหนักเบา มีส่วนช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของบรรจุภัณฑ์ในฐานะพลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิลมากที่สุดในโลก[5]
Marc Potemans, Business Head of Specialty Chemicals ของอินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความก้าวหน้าของเม็ดพลาสติกโดยอินโดรามา เวนเจอร์ส ทำให้ขวดสปาร์คกลิ้งไวน์ที่ผลิตจาก PET แบบชั้นเดียวมีข้อดีหลายประการ คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซอ๊อกซิเจน (oxygen barrier) ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพไวน์อย่างน้อยที่สุด 24 เดือน นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ยังมีความใสเหมือนแก้ว ในขณะที่ยังรักษารสชาติ กลิ่น และความสดใหม่ ที่สำคัญที่สุดคือความซ่า และสามารถนำไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับขวด PET มาตรฐาน ทีมงานของ SIPA และอินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถพัฒนาโซลูชั่นนี้อย่างรวดเร็ว และตอนนี้เราสามารถรองรับห่วงโซ่อุปทานได้อย่างเต็มที่”
[1] Climate impact of plastics | McKinsey รวมถึงการคำนวณคาร์บอนในกระบวนการผลิต การจัดการหลังอายุการใช้งาน ผลกระทบการใช้งานและห่วงโซ่คุณค่า
[2] Producer Price Index by Industry: Glass and Glass Product Manufacturing (PCU3272132721) | FRED | St. Louis Fed (stlouisfed.org)
[3] Glass scarcity and high prices: in France and Portugal the intervention of the Governments is requested - Federvini
[4] Climate impact of plastics | McKinsey รวมถึงการคำนวณคาร์บอนในกระบวนการผลิต การจัดการหลังอายุการใช้งาน ผลกระทบการใช้งานและห่วงโซ่คุณค่า
[5] “Baseline report on plastic waste,” UNEP, 2020