Wealth Sharing
“บล.พาย”ชี้ปัจจัยการเมืองทุบหุ้นมากเกิน แนะทยอยสะสมหุ้น Domestic ค้าปลีก-ท่องเที่ยว
29 พฤษภาคม 2566
ช่วงวันอาทิตย์ที่ผ่านมาสำนักข่าว Reuters ระบุว่าทาง Joe Biden และ Kevin Mccarthy ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการปรับเพิ่มเพดานหนี้เพื่อเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้แม้จะมีบางข้อตกลงที่มีปัญหาเล็กน้อย 1-2 เรื่อง แต่ถึงกระนั้นก็มากเพียงพอที่จะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้ มองปัจจัยข้างต้นเป็นบวกกับตลาดหุ้นแต่กับตลาดหุ้นสหรัฐฯอาจเป็นบวกเพียงเล็กน้อย เชื่อว่าการปรับขึ้นมาของ Dow Jones ในวันศุกร์ตอบรับไปบ้างแล้ว
ส่วนเงินเฟ้อสหรัฐฯในคืนวันศุกร์ (PCE) ขยายตัว 4.4%YoY และ 0.4%MoM ถือว่าสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ (คาด 4.3%YoY , 0.3%MoM) ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ขยายตัว 4.7%YoY 0.4%MoM สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่ 4.6%YoY 0.3%MoM องค์ประกอบภายในพบว่าราคาสินค้าในภาพรวมกลับมาเร่งตัวอีกครั้ง (+2.1%YoY เทียบกับเดือนก่อน +1.6%YoY) โดยเฉพาะราคาสินค้าไม่คงทน (+2.9%YoY จากเดือนก่อน +2.1%YoY) ภายหลังจากทราบข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 , 10 ปี ปรับขึ้นพร้อมกับ CME FED Watch กลับมาให้น้ำหนักมากสุดกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ด้วยความน่าจะเป็น 64% และน้ำหนักคงดอกเบี้ยเหลือ 36% จากก่อนหน้านี้ 72%
ปัจจัยข้างต้นถือเป็นลบกับตลาดหุ้นจากความกังวลดอกเบี้ย และประเทศไทยจะเผชิญกับการอ่อนค่าของเงินบาทกดดันการไหลออกของเม็ดเงินต่างชาติแต่จะเป็นบวกกับกลุ่มส่งออก (KCE TU)
โดยสัปดาห์นี้ปัจจัยหลักได้แก่ภาคแรงงานในสหรัฐฯทั้งการรายงานตำแหน่งเปิดรับสมัครงานในวันพุธ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 9.4 ล้านตำแหน่งและวันศุกร์กับอัตราการว่างงานและการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 3.5% และ 1.89 แสนรายหากรายงานสูงกว่าที่คาดการณ์จะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น
ส่วนในประเทศติดตามการรายงานการขยายตัวของส่งออกและนำเข้า Bloomberg คาดมูลค่าส่งออกหดตัว 2%YoY และนำเข้าหดตัว 5.5%YoY พร้อมขาดดุลการค้า 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนเงินเฟ้อสหรัฐฯในคืนวันศุกร์ (PCE) ขยายตัว 4.4%YoY และ 0.4%MoM ถือว่าสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ (คาด 4.3%YoY , 0.3%MoM) ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ขยายตัว 4.7%YoY 0.4%MoM สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่ 4.6%YoY 0.3%MoM องค์ประกอบภายในพบว่าราคาสินค้าในภาพรวมกลับมาเร่งตัวอีกครั้ง (+2.1%YoY เทียบกับเดือนก่อน +1.6%YoY) โดยเฉพาะราคาสินค้าไม่คงทน (+2.9%YoY จากเดือนก่อน +2.1%YoY) ภายหลังจากทราบข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 , 10 ปี ปรับขึ้นพร้อมกับ CME FED Watch กลับมาให้น้ำหนักมากสุดกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ด้วยความน่าจะเป็น 64% และน้ำหนักคงดอกเบี้ยเหลือ 36% จากก่อนหน้านี้ 72%
ปัจจัยข้างต้นถือเป็นลบกับตลาดหุ้นจากความกังวลดอกเบี้ย และประเทศไทยจะเผชิญกับการอ่อนค่าของเงินบาทกดดันการไหลออกของเม็ดเงินต่างชาติแต่จะเป็นบวกกับกลุ่มส่งออก (KCE TU)
โดยสัปดาห์นี้ปัจจัยหลักได้แก่ภาคแรงงานในสหรัฐฯทั้งการรายงานตำแหน่งเปิดรับสมัครงานในวันพุธ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 9.4 ล้านตำแหน่งและวันศุกร์กับอัตราการว่างงานและการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 3.5% และ 1.89 แสนรายหากรายงานสูงกว่าที่คาดการณ์จะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น
ส่วนในประเทศติดตามการรายงานการขยายตัวของส่งออกและนำเข้า Bloomberg คาดมูลค่าส่งออกหดตัว 2%YoY และนำเข้าหดตัว 5.5%YoY พร้อมขาดดุลการค้า 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ