การลดภาวะโลกร้อนและกระแสการใช้พลังงานสะอาด หนุนการเติบโตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และโอกาสการเติบโตของ บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ที่พร้อมเข้าประมูลโรงไฟฟ้า กกพ. รอบ 2 โดยตั้งเป้าคว้าเพิ่มไม่ต่ำกว่า 150 MW
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น พร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบ 2 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลัง กกพ.ยืนยันเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว เฟส 2 ประมาณ 3,668 เมกะวัตต์ และการรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์
โดย “แคทลีน มาลีนนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุบริษัทฯ ตั้งเป้าจะได้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก ไม่ต่ำกว่า 150 เมกะวัตต์ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลงรับทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tarif (FT) โดยสำนักงานกกพ. ปี 2565-2573 จำนวน 7 โครงการ กำลังผลิตขายไฟรวมกว่า 88.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการขนาด SPP จำนวน 2 โครงการ, โครงการ VSPP จำนวน 4 โครงการ และโครงการโซลาร์+แบตเตอรี่ จำนวน 1 โครงการ
"เรายังคงดำเนินการตามแผนงานธุรกิจที่วางไว้ โดยได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและทีมงานในการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้า กกพ. รอบ 2 ซึ่งหากทางกกพ.มีความชัดเจน หรือประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 ออกแล้ว เราก็พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมประมูลทันที" น.ส.แคทลีน กล่าว
ปัจจุบัน TSE มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในประเทศไทย รวมทั้งหมด 35 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 286.2 เมกะวัตต์ เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว (COD) แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าในประเทศ ขนาดกำลังการผลิตรวม 153.2 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตรวม 133 เมกะวัตต์ ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปีนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยประเมินว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่บล.ดาโอ วิเคราะห์หุ้น TSE โดยระบุว่า บริษัทยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” และคงราคาเป้าหมายปี 2023F ที่ 3.10 บาท อิง sum of the parts โดย TSE อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในไทย รวมถึงการเจรจาเพื่อเข้าลงทุนซื้อโครงการพลังแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพิ่มเติมหลายโครงการทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดย TSE ได้มีการขายโรงไฟฟ้าเก่าออกไปก่อนหน้านี้ เพื่อเตรียมเงินลงทุนเพื่อที่จะทำการเข้าซื้อกิจการต่างๆ ซึ่งได้สะท้อนไว้ในประมาณการแล้ว
ทั้งนี้เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E อยู่ที่ 891 ล้านบาท (+23% YoY) ขณะที่การลงทุนในโครงการหลักได้แก่การลงทุนในโครงการ Onikoube ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น คาดจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์(COD) ได้ตามแผน ทั้งนี้โครงการนี้จะเข้ามาช่วยรักษาระดับรายได้ของบริษัททดแทนโรงไฟฟ้าในไทยที่มีกำลังการผลิตตามสัญญาที่ 80 MW ซึ่งจะมีรายได้ลดลงเพราะ Adder ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจะทยอยหมดอายุตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป
เราเริ่มเห็นความคืบหน้าของโครงการ Onikoube มากขึ้น ทั้งนี้ TSE อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อซื้อโครงการใหม่ๆ รวมถึงการเปิดประมูลพลังงานทดแทน ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตในอนาคต รวมถึงราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ มี Core PER 5x ต่ำกว่า –1SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี(2018-2022) เรายังคงให้คำแนะนำ “ซื้อ”
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น พร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบ 2 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลัง กกพ.ยืนยันเปิดรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว เฟส 2 ประมาณ 3,668 เมกะวัตต์ และการรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์
โดย “แคทลีน มาลีนนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุบริษัทฯ ตั้งเป้าจะได้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก ไม่ต่ำกว่า 150 เมกะวัตต์ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ได้ลงนามในหนังสือบันทึกข้อตกลงรับทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed - in Tarif (FT) โดยสำนักงานกกพ. ปี 2565-2573 จำนวน 7 โครงการ กำลังผลิตขายไฟรวมกว่า 88.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการขนาด SPP จำนวน 2 โครงการ, โครงการ VSPP จำนวน 4 โครงการ และโครงการโซลาร์+แบตเตอรี่ จำนวน 1 โครงการ
"เรายังคงดำเนินการตามแผนงานธุรกิจที่วางไว้ โดยได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและทีมงานในการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้า กกพ. รอบ 2 ซึ่งหากทางกกพ.มีความชัดเจน หรือประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าเฟส 2 ออกแล้ว เราก็พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมประมูลทันที" น.ส.แคทลีน กล่าว
ปัจจุบัน TSE มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในประเทศไทย รวมทั้งหมด 35 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 286.2 เมกะวัตต์ เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว (COD) แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าในประเทศ ขนาดกำลังการผลิตรวม 153.2 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตรวม 133 เมกะวัตต์ ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปีนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยประเมินว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทฯ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่บล.ดาโอ วิเคราะห์หุ้น TSE โดยระบุว่า บริษัทยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” และคงราคาเป้าหมายปี 2023F ที่ 3.10 บาท อิง sum of the parts โดย TSE อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในไทย รวมถึงการเจรจาเพื่อเข้าลงทุนซื้อโครงการพลังแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพิ่มเติมหลายโครงการทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดย TSE ได้มีการขายโรงไฟฟ้าเก่าออกไปก่อนหน้านี้ เพื่อเตรียมเงินลงทุนเพื่อที่จะทำการเข้าซื้อกิจการต่างๆ ซึ่งได้สะท้อนไว้ในประมาณการแล้ว
ทั้งนี้เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2023E อยู่ที่ 891 ล้านบาท (+23% YoY) ขณะที่การลงทุนในโครงการหลักได้แก่การลงทุนในโครงการ Onikoube ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น คาดจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์(COD) ได้ตามแผน ทั้งนี้โครงการนี้จะเข้ามาช่วยรักษาระดับรายได้ของบริษัททดแทนโรงไฟฟ้าในไทยที่มีกำลังการผลิตตามสัญญาที่ 80 MW ซึ่งจะมีรายได้ลดลงเพราะ Adder ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจะทยอยหมดอายุตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป
เราเริ่มเห็นความคืบหน้าของโครงการ Onikoube มากขึ้น ทั้งนี้ TSE อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อซื้อโครงการใหม่ๆ รวมถึงการเปิดประมูลพลังงานทดแทน ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตในอนาคต รวมถึงราคาหุ้นค่อนข้างต่ำ มี Core PER 5x ต่ำกว่า –1SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี(2018-2022) เรายังคงให้คำแนะนำ “ซื้อ”