Wealth Sharing
CIVIL เตรียมเข้ารับงานใหม่ 18 โครงการ ดัน Backlog โตตามเป้า 20,000 ลบ.
30 พฤษภาคม 2566
CIVIL ชูกลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน เตรียมส่งมอบงานก่อสร้าง 6 โครงการ มูลค่ารวม 111.28 ล้านบาท เดินหน้าแผนการเข้ารับงานเพิ่ม 18 โครงการ มูลค่ารวม 13,275 ล้านบาท หนุน Backlog เติบโตตามเป้า 20,000 ล้านบาท ตอกย้ำกลยุทธ์การดำเนินงานท่ามกลางต้นทุนผันผวน ด้านงบไตรมาส 1/2566 รายได้รวม 1,447.09 ล้านบาท กำไรสุทธิ 47.99 ล้านบาท
นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL ผู้นำบริษัทก่อสร้างครบวงจรชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจช่วงไตรมาส 2/2566 บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยมีแผนเตรียมส่งมอบงานประเภททางหลวง จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 111.28 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีความคืบหน้างานก่อสร้างและทยอยรับรู้รายได้จากโครงการต่างๆ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา (สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว – กุดจิก) ความคืบหน้า 99%, โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย สัญญา 4-7 (สระบุรี-แก่งคอย) ความคืบหน้า 48%, งานก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1 ความคืบหน้า 29% เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนเตรียมเข้ารับงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่ารวม 13,275 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงานที่ได้เซ็นสัญญาเป็นที่เรียบร้อยจำนวน 14 โครงการ อาทิ งานถนน, งานขุดคลองระบายน้ำ และ งานสนามบิน มูลค่ารวม 1,476 ล้านบาท และ งานที่อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ งานถนน และ งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง มูลค่ารวม 11,799 ล้านบาท คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) เติบโตที่ระดับ 20,000 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่วางไว้
“แม้ขณะนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญในระดับประเทศ อาทิ การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้าน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีความมั่นใจในการดำเนินงานท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว จากปริมาณงานในมือที่บริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล คาดว่าสามารถรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รอการอนุมัติงบประมาณครั้งใหม่ ควบคู่กับการทยอยส่งมอบงานโครงการสะท้อนต้นทุนเดิม อีกทั้งบริษัทมีแผนการดำเนินงานเพื่อรับมือกับความผันผวนของต้นทุนการก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นการร่วมงานกับผู้รับเหมาช่วง (Subcontractor) ที่แข็งแกร่งทั้งด้านพื้นที่และมีความสามารถเพื่อช่วยลดความเสี่ยง, มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรที่มีคุณภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดการใช้แรงงาน ประกอบการมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับหลายบริษัทในอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นจุดแข็งบริษัทอีกด้วย” นายปิยะดิษฐ์ กล่าว
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2566 บริษัทมีรายได้รวม 1,447.09 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,649.42 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 47.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 40.32 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 64.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2565 ที่มีกำไรจากการดำเนินงาน 48.39 ล้านบาท และมีอัตรากำไรขั้นต้น 9.27% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้น 8.49%
นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL ผู้นำบริษัทก่อสร้างครบวงจรชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจช่วงไตรมาส 2/2566 บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยมีแผนเตรียมส่งมอบงานประเภททางหลวง จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวม 111.28 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีความคืบหน้างานก่อสร้างและทยอยรับรู้รายได้จากโครงการต่างๆ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา (สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว – กุดจิก) ความคืบหน้า 99%, โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย สัญญา 4-7 (สระบุรี-แก่งคอย) ความคืบหน้า 48%, งานก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1 ความคืบหน้า 29% เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนเตรียมเข้ารับงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่ารวม 13,275 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงานที่ได้เซ็นสัญญาเป็นที่เรียบร้อยจำนวน 14 โครงการ อาทิ งานถนน, งานขุดคลองระบายน้ำ และ งานสนามบิน มูลค่ารวม 1,476 ล้านบาท และ งานที่อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ งานถนน และ งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง มูลค่ารวม 11,799 ล้านบาท คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) เติบโตที่ระดับ 20,000 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่วางไว้
“แม้ขณะนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญในระดับประเทศ อาทิ การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้าน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีความมั่นใจในการดำเนินงานท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว จากปริมาณงานในมือที่บริษัทเป็นผู้ชนะการประมูล คาดว่าสามารถรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รอการอนุมัติงบประมาณครั้งใหม่ ควบคู่กับการทยอยส่งมอบงานโครงการสะท้อนต้นทุนเดิม อีกทั้งบริษัทมีแผนการดำเนินงานเพื่อรับมือกับความผันผวนของต้นทุนการก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นการร่วมงานกับผู้รับเหมาช่วง (Subcontractor) ที่แข็งแกร่งทั้งด้านพื้นที่และมีความสามารถเพื่อช่วยลดความเสี่ยง, มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรที่มีคุณภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดการใช้แรงงาน ประกอบการมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับหลายบริษัทในอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นจุดแข็งบริษัทอีกด้วย” นายปิยะดิษฐ์ กล่าว
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2566 บริษัทมีรายได้รวม 1,447.09 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,649.42 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 47.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 40.32 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 64.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2565 ที่มีกำไรจากการดำเนินงาน 48.39 ล้านบาท และมีอัตรากำไรขั้นต้น 9.27% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้น 8.49%