Wealth Sharing
TPCH เสียบปลั๊ก COD โรงไฟฟ้าประชารัฐฯ แม่ลาน 3 MW ดันกำลังผลิตไฟฟ้าแตะ 122.30 MW ลุยธุรกิจพลังงานลม-แสงอาทิตย์ ตปท. หนุนผลงานนิวไฮต่อเนื่อง
02 มิถุนายน 2566
บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง (TPCH) ฤกษ์ดี เสียบปลั๊ก โรงไฟฟ้าประชารัฐฯ แม่ลาน (PBM) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 3 เมกะวัตต์ จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว หนุนกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งเชื้อเพลิงชีวมวล-ขยะ เพิ่มเป็น 122.30 เมกะวัตต์ ใส่เกียร์เดินหน้าพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะรูปแบบ VSPP ภายในประเทศ เพิ่ม 1-2 โครงการ ในปีนี้ พร้อมเข้าลงทุนธุรกิจพลังงานลม-แสงอาทิตย์ในต่างประเทศต่อ ทั้ง “สปป.ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา" เป้าหมายมีกำลังการผลิตรวม 300 เมกะวัตต์ ในปี 2568
นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน (PBM) ที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TPCH ได้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 2.85 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตติดตั้ง 3.00 เมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv อย่างต่ำหน่วยละ 3.88 บาทต่อหน่วย เมื่อเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่า 80% และเมื่อเดินผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 80% อัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv เป็นหน่วยละ 5.25 บาทต่อหน่วย (ประกาศอัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)
“TPCH ได้ COD โรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน (PBM) มีกำลังการผลิตรับซื้อไม่เกิน 2.85 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตติดตั้ง 3.00 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 13 ของบริษัทฯ ที่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ส่งผลให้มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 122.30 เมกะวัตต์ จากเดิม 119.30 เมกะวัตต์ ทั้ง โครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP , PTG ,TPCH 5 , TPCH 1 TPCH 2 และ PBB รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ สยาม พาวเวอร์ (SP) ซึ่งการ COD โรงไฟฟ้า PBM ในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และมั่นใจว่า ปัจจัยเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลงานของ TPCH ในปีนี้ กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง” นางกนกทิพย์กล่าว
นายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) กล่าวว่า สำหรับการลงทุนภายในประเทศ ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ 5-7 โครงการ ภายใต้บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (SP) ซึ่ง TPCH ถือหุ้นในสัดส่วน 50% เพื่อเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ คาดว่า จะเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในปีนี้ ประมาณ 1-2 โครงการ โดยเป็นโครงการรูปแบบ VSPP ทั้งหมด
ส่วนแผนการลงทุนในต่างประเทศ ล่าสุด TPCH ได้เข้าร่วมลงทุนและจ่ายชําระค่าหุ้นสามัญของบริษัท แม่โขง พาวเวอร์ จํากัด (MKP) ครบถ้วนในสัดส่วนร้อยละ 40 ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใน สปป.ลาว และ MKP ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีระยะเวลา 25 ปีนับจากวันที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD)
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ กำลังศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในต่างประเทศ ประเภท พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 500 เมกะวัตต์ ทั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เวียดนาม และกัมพูชาเพิ่มเติม โดยยังคงเป้าหมายการมีกำลังการผลิตรวม 300 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น โรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล 115 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ 50 เมกะวัตต์ และโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในต่างประเทศ 135 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568
นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน (PBM) ที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TPCH ได้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 2.85 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตติดตั้ง 3.00 เมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv อย่างต่ำหน่วยละ 3.88 บาทต่อหน่วย เมื่อเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่า 80% และเมื่อเดินผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 80% อัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv เป็นหน่วยละ 5.25 บาทต่อหน่วย (ประกาศอัตราการรับซื้อไฟฟ้า FiTv ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)
“TPCH ได้ COD โรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน (PBM) มีกำลังการผลิตรับซื้อไม่เกิน 2.85 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตติดตั้ง 3.00 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 13 ของบริษัทฯ ที่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ส่งผลให้มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 122.30 เมกะวัตต์ จากเดิม 119.30 เมกะวัตต์ ทั้ง โครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP , PTG ,TPCH 5 , TPCH 1 TPCH 2 และ PBB รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ สยาม พาวเวอร์ (SP) ซึ่งการ COD โรงไฟฟ้า PBM ในครั้งนี้ เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และมั่นใจว่า ปัจจัยเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลงานของ TPCH ในปีนี้ กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง” นางกนกทิพย์กล่าว
นายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) กล่าวว่า สำหรับการลงทุนภายในประเทศ ในส่วนของโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ 5-7 โครงการ ภายใต้บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (SP) ซึ่ง TPCH ถือหุ้นในสัดส่วน 50% เพื่อเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ คาดว่า จะเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในปีนี้ ประมาณ 1-2 โครงการ โดยเป็นโครงการรูปแบบ VSPP ทั้งหมด
ส่วนแผนการลงทุนในต่างประเทศ ล่าสุด TPCH ได้เข้าร่วมลงทุนและจ่ายชําระค่าหุ้นสามัญของบริษัท แม่โขง พาวเวอร์ จํากัด (MKP) ครบถ้วนในสัดส่วนร้อยละ 40 ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใน สปป.ลาว และ MKP ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีระยะเวลา 25 ปีนับจากวันที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD)
พร้อมกันนี้ บริษัทฯ กำลังศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในต่างประเทศ ประเภท พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 500 เมกะวัตต์ ทั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เวียดนาม และกัมพูชาเพิ่มเติม โดยยังคงเป้าหมายการมีกำลังการผลิตรวม 300 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น โรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล 115 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงขยะ 50 เมกะวัตต์ และโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในต่างประเทศ 135 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568