จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : วิกฤติฝุ่น PM 2.5 ในกทม. หนุนธุรกิจ CHO “รถบัส-แท็กซี่” ไฟฟ้า
31 มกราคม 2566
ปัญหาฝุ่น PM.2.5 ที่เกิดจากการปล่อยมลพิษของรถขนส่งสาธารณะทั้งรถบัสและรถแท็กซี่ เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจให้กับบริษัท ช ทวี (CHO)ที่ได้พัฒนาและรถสาธารณะพลังงานไฟฟ้า 100% มาอย่างต่อเนื่อง
เรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเองก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM.2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งมีที่มาจากจาก 2 ส่วน ได้แก่ การปล่อยออกสู่บรรยากาศโดยทางตรง กับ โดยทางอ้อม
โดยทางตรง ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก การคมนาคมขนส่ง การเผาในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม จากการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า เผาขยะ หรือ การจราจรติดขัดที่ปล่อยควันพิษออกสู่บนชั้นอากาศ
ส่วนทางอ้อม ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ โดยมีสารประกอบจำพวก ออกไซด์ของซัลเฟอร์ และ ออกไซด์ของไนโตรเจนต่าง ๆ และเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น Secondary PM 2.5 ดังนั้นการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซต์และออกไซต์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล และการผลิตทางอุตสาหกรรม เกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM 2.5 ในขั้นทุติยภูมิอีกด้วย
และต้องยอมรับว่า ในกรุงเทพมหานครฯการเดินทางโดยรถสาธารณะ ทั้งรถประจำทางหรือ รถเมล์ รถแท็กซี่ยังเป็นการเดินทางหลักของพลเมืองในกทม. ซึ่งกรุงเทพมหานครก็มีนโยบายในการลดมลพิษ โดยผลักดันให้รถสาธารณะที่วิ่งในกทม.ต้องเป็นรถไฟฟ้า (EV) เพื่อคนกรุงเทพฯ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเดินทางด้วยรถโดยสารที่มีสภาพดี ปลอดภัย และที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่า 15,784 ล้านบาท ได้แก่ โครงการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า มูลค่า 3,893 ล้านบาท, โครงการผลิต Carbon Black มูลค่า 9,490 ล้านบาท และโครงการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สอดรับกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของบีโอไอ และจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว ทั้งด้านการสร้างฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ และโครงการที่นำขยะชุมชนมาผ่านการคัดแยกและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำไปใช้ในโรงปูนซิเมนต์ และโรงไฟฟ้าแทนการใช้ถ่านหิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่รัฐบาลกำลังผลักดัน
ซึ่งบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) นับเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในธุรกิจประเภทนี้ โดยบริษัทเป็นผู้ให้บริการในโครงการจ้างเหมา รับ-ส่ง บุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 เกี่ยวกับ
- รถบัสโดยสารไฟฟ้า ปรับอากาศ จำนวน 10 คัน ประกอบรถบัส จำนวน 2 รุ่น คือ
> รถบัสไฟฟ้า ขนาดความยาว 12 เมตร จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 43 ที่นั่ง จำนวน 9 คัน และ
> รถมินิบัสไฟฟ้า ขนาดความยาว 6 เมตร จำนวนที่นั่งผู้โดนสารไม่ต่ำกว่า 14 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน
- รถใช้เชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้า (EV Bus)
- รับส่งจากจุดรับภายในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล – มธ. ศูนย์รังสิต รวม 10 เส้นทาง
- พร้อมสถานีบริการประจุไฟฟ้าสำหรับรถ (Charger Station)
- บริการซ่อมบำรุงรักษารถ / พนักงานขับ และระบบอำนวยความสะดวกในการใช้รถของผู้โดยสาร
และในส่วนของรถสาธารณะประเภท แท็กซี่ ล่าสุด ผู้บริหารของ CHO “สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ได้เจรจาธุรกิจกับ LEVC (London Electric Vehicle Company Ltd.) เพื่อเตรียมเรื่องการผลิตรถ EVรุ่นTX 4ที่มีอยู่ในประเทศไทย และการนำเข้ารถแท็กซี่รุ่น TX5EV เพื่อผลิตป้อนให้กับลูกค้าของASIA CAB ผู้ผลิตรถลอนดอนแท็กซี่ในนาม CABB Taxi
เรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเองก็มีปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM.2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งมีที่มาจากจาก 2 ส่วน ได้แก่ การปล่อยออกสู่บรรยากาศโดยทางตรง กับ โดยทางอ้อม
โดยทางตรง ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก การคมนาคมขนส่ง การเผาในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม จากการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า เผาขยะ หรือ การจราจรติดขัดที่ปล่อยควันพิษออกสู่บนชั้นอากาศ
ส่วนทางอ้อม ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ โดยมีสารประกอบจำพวก ออกไซด์ของซัลเฟอร์ และ ออกไซด์ของไนโตรเจนต่าง ๆ และเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น Secondary PM 2.5 ดังนั้นการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซต์และออกไซต์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล และการผลิตทางอุตสาหกรรม เกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM 2.5 ในขั้นทุติยภูมิอีกด้วย
และต้องยอมรับว่า ในกรุงเทพมหานครฯการเดินทางโดยรถสาธารณะ ทั้งรถประจำทางหรือ รถเมล์ รถแท็กซี่ยังเป็นการเดินทางหลักของพลเมืองในกทม. ซึ่งกรุงเทพมหานครก็มีนโยบายในการลดมลพิษ โดยผลักดันให้รถสาธารณะที่วิ่งในกทม.ต้องเป็นรถไฟฟ้า (EV) เพื่อคนกรุงเทพฯ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเดินทางด้วยรถโดยสารที่มีสภาพดี ปลอดภัย และที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่า 15,784 ล้านบาท ได้แก่ โครงการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า มูลค่า 3,893 ล้านบาท, โครงการผลิต Carbon Black มูลค่า 9,490 ล้านบาท และโครงการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ
โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สอดรับกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของบีโอไอ และจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว ทั้งด้านการสร้างฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ และโครงการที่นำขยะชุมชนมาผ่านการคัดแยกและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำไปใช้ในโรงปูนซิเมนต์ และโรงไฟฟ้าแทนการใช้ถ่านหิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่รัฐบาลกำลังผลักดัน
ซึ่งบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) นับเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในธุรกิจประเภทนี้ โดยบริษัทเป็นผู้ให้บริการในโครงการจ้างเหมา รับ-ส่ง บุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 เกี่ยวกับ
- รถบัสโดยสารไฟฟ้า ปรับอากาศ จำนวน 10 คัน ประกอบรถบัส จำนวน 2 รุ่น คือ
> รถบัสไฟฟ้า ขนาดความยาว 12 เมตร จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 43 ที่นั่ง จำนวน 9 คัน และ
> รถมินิบัสไฟฟ้า ขนาดความยาว 6 เมตร จำนวนที่นั่งผู้โดนสารไม่ต่ำกว่า 14 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน
- รถใช้เชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้า (EV Bus)
- รับส่งจากจุดรับภายในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล – มธ. ศูนย์รังสิต รวม 10 เส้นทาง
- พร้อมสถานีบริการประจุไฟฟ้าสำหรับรถ (Charger Station)
- บริการซ่อมบำรุงรักษารถ / พนักงานขับ และระบบอำนวยความสะดวกในการใช้รถของผู้โดยสาร
และในส่วนของรถสาธารณะประเภท แท็กซี่ ล่าสุด ผู้บริหารของ CHO “สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ได้เจรจาธุรกิจกับ LEVC (London Electric Vehicle Company Ltd.) เพื่อเตรียมเรื่องการผลิตรถ EVรุ่นTX 4ที่มีอยู่ในประเทศไทย และการนำเข้ารถแท็กซี่รุ่น TX5EV เพื่อผลิตป้อนให้กับลูกค้าของASIA CAB ผู้ผลิตรถลอนดอนแท็กซี่ในนาม CABB Taxi