จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TSE บุกตลาดศูนย์ดูแลสุขภาพ (Wellness) รับมือสังคมผู้สูงอายุ
09 มิถุนายน 2566
บมจ.ไทย โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) รับศึกษาธุรกิจดูแลสุขภาพ (Wellness) แตกไลน์จากโครงการลงทุนโรงไฟฟ้า รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในไทยและเพื่อนบ้าน หวังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ผู้บริหารฝ่ายวิจัยธุรกิจและอุตสาหกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน ระบุว่า Global Megatrends ในปี 2566 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดกระแสสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ประกอบไปด้วย
1. Deglobalization หลายประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะ Regionalization นั่นคือการเชื่อมโยงกันเองในภูมิภาค สินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภทหันมาพึ่งพาวัตถุดิบภายในภูมิภาคมากขึ้น
2. Shifting Economic Power and Polarization เริ่มมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างจีนและอินเดียเริ่มมีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
3. Demographic Change การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลก
4. Urbanization การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เขตเมือง รวมถึงไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิตเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น
5. Individualismคนจะมองหาความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ต้องการสินค้าที่ทำมาเพื่อตัวเองโดยเฉพาะมากขึ้น
6. Health and Wellness คนให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
7. Environment เรื่องของสิ่งแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและในระดับประเทศ
8. Technology เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะเข้ามาDisruptธุรกิจและชีวิตประจำวันมากขึ้น
จากกระแสของ Global Megatrends เป็นแรงผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-Curve) ที่มีอัตราการเติบโตสูง และมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจไทยในอนาคต ได้แก่
1. Intelligent Electronics อุตสาหกรรมที่มีการใช้ชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI Chip)ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
2. Next Generation Automotive อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ยานยนต์แบบไร้คนขับ รวมไปถึงระบบนิเวศการคมนาคมขนส่ง
3. Biofuels and Biochemicals อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
4. Food for the Future อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก
5. Medical and Comprehensive Healthcare อุตสาหกรรมการแพทย์แบบครบวงจร รวมไปถึงการรักษาโรคทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต/สมาร์ทโฟน
อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในMegatrend ของไทยในอนาคตหลังจากที่ไทยการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 20% ของประชากรทั้งหมด โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2565 ประชากรไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 19.2%
จึงเป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ของ บมจ.ไทย โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ซึ่ง “อังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน TSE เปิดเผยว่า "นอกเหนือจากธุรกิจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าแล้ว ขณะนี้ บริษัทฯได้เริ่มศึกษาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับศูนย์ดูแลสุขภาพ (Wellness) ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ และความงามอย่างครบวงจร ส่งเสริมสร้างการเติบโตโดยยั่งยืน"
ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ ผู้บริหารฝ่ายวิจัยธุรกิจและอุตสาหกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน ระบุว่า Global Megatrends ในปี 2566 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดกระแสสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ประกอบไปด้วย
1. Deglobalization หลายประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะ Regionalization นั่นคือการเชื่อมโยงกันเองในภูมิภาค สินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภทหันมาพึ่งพาวัตถุดิบภายในภูมิภาคมากขึ้น
2. Shifting Economic Power and Polarization เริ่มมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างจีนและอินเดียเริ่มมีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
3. Demographic Change การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลก
4. Urbanization การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เขตเมือง รวมถึงไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิตเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น
5. Individualismคนจะมองหาความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ต้องการสินค้าที่ทำมาเพื่อตัวเองโดยเฉพาะมากขึ้น
6. Health and Wellness คนให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้น
7. Environment เรื่องของสิ่งแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและในระดับประเทศ
8. Technology เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะเข้ามาDisruptธุรกิจและชีวิตประจำวันมากขึ้น
จากกระแสของ Global Megatrends เป็นแรงผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-Curve) ที่มีอัตราการเติบโตสูง และมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจไทยในอนาคต ได้แก่
1. Intelligent Electronics อุตสาหกรรมที่มีการใช้ชิปปัญญาประดิษฐ์ (AI Chip)ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
2. Next Generation Automotive อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ยานยนต์แบบไร้คนขับ รวมไปถึงระบบนิเวศการคมนาคมขนส่ง
3. Biofuels and Biochemicals อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
4. Food for the Future อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก
5. Medical and Comprehensive Healthcare อุตสาหกรรมการแพทย์แบบครบวงจร รวมไปถึงการรักษาโรคทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต/สมาร์ทโฟน
อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในMegatrend ของไทยในอนาคตหลังจากที่ไทยการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 20% ของประชากรทั้งหมด โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2565 ประชากรไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 19.2%
จึงเป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ของ บมจ.ไทย โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ซึ่ง “อังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน TSE เปิดเผยว่า "นอกเหนือจากธุรกิจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าแล้ว ขณะนี้ บริษัทฯได้เริ่มศึกษาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับศูนย์ดูแลสุขภาพ (Wellness) ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ และความงามอย่างครบวงจร ส่งเสริมสร้างการเติบโตโดยยั่งยืน"